คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพียร สุมิระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดไม่ถือเป็นค่าทำงานวันหยุด หากจำเลยไม่ได้สั่งให้ทำงานในวันหยุด
การที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์ตามจำนวนวันที่ออกไปปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัด เป็นการให้เงินตอบแทนการทำงานในช่วงเวลาที่ทำงานในต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นวันทำงานปกติหรือวันหยุดประจำสัปดาห์มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน และจำเลยก็มิได้มีคำสั่งหรือระบุเจาะจงว่า โจทก์จะต้องทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะเลือกปฏิบัติงานในวันใดเวลาใดก็ได้ในระหว่างช่วงเวลานั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันหยุด โจทก์ไม่มีสิทธิได้ค่าทำงานในวันหยุดในช่วงเวลาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดไม่ถือเป็นค่าทำงานวันหยุด หากจำเลยไม่ได้สั่งให้ทำงานในวันหยุด
การที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์ตามจำนวนวันที่ออกไป ปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัด เป็นการให้เงินตอบแทนการทำงานในช่วงเวลา ที่ทำงานในต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นวันทำงานปกติหรือวันหยุดประจำสัปดาห์ มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน และจำเลยก็มิได้มีคำสั่งหรือระบุเจาะจงว่า โจทก์จะต้องทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะเลือกปฏิบัติงานในวันใดเวลาใดก็ได้ในระหว่างช่วงเวลานั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันหยุด โจทก์ไม่มีสิทธิได้ ค่าทำงานในวันหยุดในช่วงเวลาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: ศาลต้องพิจารณาเหตุเลิกจ้างที่แท้จริงเพื่อวินิจฉัยสิทธิค่าชดเชยและสินจ้าง
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2529 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2528 ตามข้อต่อสู้ของจำเลย ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ยกฟ้อง ศาลจะต้องพิจารณาต่อไปว่าการเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2528 เป็นเพราะโจทก์ได้กระทำความผิดดังข้อต่อสู้ของจำเลยอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ตามประเด็นที่ศาลได้ตั้งไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้างเพื่อตัดสินว่าต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ แม้ข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องเล็กน้อย
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่2มกราคม2529ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่6ธันวาคม2528ตามข้อต่อสู้ของจำเลยดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ยกฟ้องศาลจะต้องพิจารณาต่อไปว่าการเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่6ธันวาคม2528เป็นเพราะโจทก์ได้กระทำความผิดดังข้อต่อสู้ของจำเลยอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ตามประเด็นที่ศาลได้ตั้งไว้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการพิจารณาเหตุผลเลิกจ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าสินจ้างทดแทน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่2 มกราคม 2529 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2528 ตามข้อต่อสู้ของจำเลย ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ยกฟ้อง ศาลจะต้องพิจารณาต่อไปว่าการเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2528เป็นเพราะโจทก์ได้กระทำความผิดดังข้อต่อสู้ของจำเลยอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ตามประเด็นที่ศาลได้ตั้งไว้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากจดทะเบียนสมรสซ้อน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง หากไม่กระทบต่อการทำงานและชื่อเสียงนายจ้าง
กรณีใดจะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) หรือไม่ ต้องพิจารณาตามข้อ 47 (3) นั้นเอง มิใช่ว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่าการกระทำใด ๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จะต้องถือว่าการกระทำนั้น ๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรงตามข้อ 47(3) เป็นการเด็ดขาดไปเลยไม่ การจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์หาได้ส่งผลไปถึงชื่อเสียงเกียรติภูมิในทางดีหรือไม่ดีประการใดแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ ทั้งไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ในระหว่างหมู่คณะของลูกจ้าง ไม่เป็นเหตุให้ขาดความสามัคคี ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน จนทำให้การทำงานไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น แม้คำสั่งเลิกจ้างจะได้ระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย ก็หาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47(3) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากจดทะเบียนสมรสซ้อน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
กรณีใดจะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) หรือไม่ ต้องพิจารณาตามข้อ 47(3)นั้นเองมิใช่ว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่าการกระทำใดๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จะต้องถือว่าการกระทำนั้นๆเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามข้อ 47(3) เป็นการเด็ดขาดไปเลยไม่ การจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์หาได้ส่งผลไปถึงชื่อเสียงเกียรติภูมิในทางดีหรือไม่ดีประการใดแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ ทั้งไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ในระหว่างหมู่คณะของลูกจ้าง ไม่เป็นเหตุให้ขาดความสามัคคี ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน จนทำให้การทำงานไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น แม้คำสั่งเลิกจ้างจะได้ระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย ก็หาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(3) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากจดทะเบียนสมรสซ้อน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(3)
กรณีใดจะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)หรือไม่ต้องพิจารณาตามข้อ47(3)นั้นเองมิใช่ว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่าการกระทำใดๆเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้วจะต้องถือว่าการกระทำนั้นๆเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามข้อ47(3)เป็นการเด็ดขาดไปเลยไม่การจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์หาได้ส่งผลไปถึงชื่อเสียงเกียรติภูมิในทางดีหรือไม่ดีประการใดแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ทั้งไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ในระหว่างหมู่คณะของลูกจ้างไม่เป็นเหตุให้ขาดความสามัคคีขาดประสิทธิภาพในการทำงานจนทำให้การทำงานไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่นแม้คำสั่งเลิกจ้างจะได้ระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยก็หาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฯข้อ47(3)ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่จากการใช้ลูกจ้างปฏิบัติงานส่วนตัว ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรม
โจทก์ใช้สอยลูกจ้างของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของโจทก์ไปจ่ายกับข้าวให้แก่ร้านขายอาหารในเวลาทำงานช่วงเช้าคนหนึ่งและช่วงบ่ายคนหนึ่งเป็นเวลานานประมาณ10วันเป็นการแสวงหาประโยชน์จากหน้าที่การงานเพื่อประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่นเกินสมควรที่ผู้บังคับบัญชาจะพึงกระทำและเสียหายแก่นายจ้างถือว่าทุจริตต่อหน้าที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการเลิกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อ47(1)แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานและกรณีลูกจ้างกระทำการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่จากแสวงหาประโยชน์จากลูกจ้างของนายจ้าง ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรม
โจทก์ใช้สอยลูกจ้างของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของโจทก์ไปจ่ายกับข้าวให้แก่ร้านขายอาหาร ในเวลาทำงานช่วงเช้าคนหนึ่งและช่วงบ่ายคนหนึ่ง เป็นเวลานานประมาณ 10 วัน เป็นการแสวงหาประโยชน์จากหน้าที่การงานเพื่อประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น เกินสมควรที่ผู้บังคับบัญชาจะพึงกระทำและเสียหายแก่นายจ้าง ถือว่าทุจริตต่อหน้าที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเป็นการเลิกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อ 47(1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน และกรณีลูกจ้างกระทำการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
of 71