คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพียร สุมิระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่จากการใช้ลูกจ้างในบังคับบัญชาทำงานส่วนตัว
โจทก์ใช้สอยลูกจ้างของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของโจทก์ไปจ่ายกับข้าวให้แก่ร้านขายอาหาร ในเวลาทำงานช่วงเช้าคนหนึ่งและช่วงบ่ายคนหนึ่ง เป็นเวลานานประมาณ 10 วัน เป็นการแสวงหาประโยชน์จากหน้าที่การงานเพื่อประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น เกินสมควรที่ผู้บังคับบัญชาจะพึงกระทำและเสียหายแก่นายจ้าง ถือว่าทุจริตต่อหน้าที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเป็นการเลิกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อ 47(1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และกรณีลูกจ้างกระทำการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟ้องแย้งในคำให้การ: ศาลต้องตรวจและสั่งรับก่อนวินิจฉัยคดี หากใช้แบบพิมพ์ไม่ถูกต้อง คำพิพากษาไม่ชอบ
จำเลยฟ้องแย้งและมีคำขอบังคับโจทก์รวมมาในคำให้การแม้ไม่ได้พิมพ์คำว่า'และฟ้องแย้ง'ต่อจากคำว่า'คำให้การ'ในแบบพิมพ์ก็ตามก็เป็นฟ้องแย้งตรงกับบทบัญญัติของมาตรา177วรรคสามแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้วศาลแรงงานกลางมีหน้าที่ต้องตรวจฟ้องแย้งของจำเลยและมีคำสั่งตามที่พิจารณาเห็นสมควรว่าจะรับไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่การที่ศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งเสียในชั้นแรกที่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวและมาวินิจฉัยในคำพิพากษาว่าจะรับพิจารณาฟ้องแย้งไม่ได้เพราะมิได้ใช้แบบพิมพ์ให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งในคำให้การ: ศาลต้องพิจารณา แม้ใช้แบบพิมพ์ไม่ถูกต้อง
จำเลยฟ้องแย้งและมีคำขอบังคับโจทก์รวมมาในคำให้การแม้ไม่ได้พิมพ์คำว่า 'และฟ้องแย้ง' ต่อจากคำว่า 'คำให้การ' ในแบบพิมพ์ก็ตาม ก็เป็นฟ้องแย้งตรงกับบทบัญญัติของมาตรา 177 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว ศาลแรงงานกลางมีหน้าที่ต้องตรวจฟ้องแย้งของจำเลยและมีคำสั่งตามที่พิจารณาเห็นสมควรว่าจะรับไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งเสียในชั้นแรกที่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งดังกล่าว และมาวินิจฉัยในคำพิพากษาว่าจะรับพิจารณาฟ้องแย้งไม่ได้ เพราะมิได้ใช้แบบพิมพ์ให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากพฤติกรรมทุจริตต่อบุคคลภายนอก และสิทธิการได้รับค่าชดเชย
จำเลยมีอาชีพรับจ้างซ่อมรถยนต์ จำเลยจ้างโจทก์ให้มีหน้าที่ไปประจำอยู่ที่บริษัท ร. เพื่อตีราคาค่าซ่อมรถที่เกิดอุบัติเหตุและหาลูกค้านำรถมาซ่อมที่อยู่ของจำเลย โจทก์หาบุคคลนำรถยนต์ไปประกันกับบริษัท ร. และรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยแล้วกลับนำไปใช้ส่วนตัวไม่นำส่งบริษัท ร. ทำให้บริษัท ร. ไม่ส่งงานให้จำเลยดังนี้เป็นการที่โจทก์ประพฤติในทางไม่สุจริต ทำให้จำเลยขาดรายได้ จึงมีเหตุเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่การกระทำของโจทก์ไม่ต้องตามกรณีหนึ่งกรณีใดตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ทั้งมิใช่การกระทำต่อจำเลยโดยตรง จึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง หรือทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีจึงต้องชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ แม้ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง ยังต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยมีอาชีพรับจ้างซ่อมรถยนต์จำเลยจ้างโจทก์ให้มีหน้าที่ไปประจำอยู่ที่ยริษัทร.เพื่อตีราคาค่าซ่อมรถที่เกิดอุบัติเหตุและหาลูกค้านำรถมาซ่อมที่อยู่ของจำเลยโจทก์หาบุคคลนำรถยนต์ไปประกันกับบริษัทร.และรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยแล้วกลับนำไปใช้ส่วนตัวไม่นำส่งบริษัทร.ทำให้บริษัทร.ไม่ส่งงานให้จำเลยดังนี้เป็นการที่โจทก์ประพฤติในทางไม่สุจริตทำให้จำเลยขาดรายได้จึงมีเหตุเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์แต่การกระทำของโจทก์ไม่ต้องตามกรณีหนึ่งกรณีใดตามข้อ47แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานทั้งมิใช่การกระทำต่อจำเลยโดยตรงจึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงหรือทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีจึงต้องชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีลูกจ้างประพฤติทุจริตทางการเงิน ทำให้บริษัทคู่ค้าหยุดส่งงาน
จำเลยมีอาชีพรับจ้างซ่อมรถยนต์ จำเลยจ้างโจทก์ให้มีหน้าที่ไปประจำอยู่ที่บริษัทร. เพื่อตีราคาค่าซ่อมรถที่เกิดอุบัติเหตุและหาลูกค้านำรถมาซ่อมที่อยู่ของจำเลย โจทก์หาบุคคลนำรถยนต์ไปประกันกับบริษัท ร. และรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยแล้วกลับนำไปใช้ส่วนตัวไม่นำส่งบริษัทร.ทำให้บริษัทร. ไม่ส่งงานให้จำเลย ดังนี้เป็นการที่โจทก์ประพฤติในทางไม่สุจริต ทำให้จำเลยขาดรายได้ จึงมีเหตุเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่การกระทำของโจทก์ไม่ต้องตามกรณีหนึ่งกรณีใดตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ทั้งมิใช่การกระทำต่อจำเลยโดยตรง จึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง หรือทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีจึงต้องชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2616/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ความรับผิดของตัวแทน, ฟ้องซ้อน, และการผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทท.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศต่อมาบริษัทท. ผิดสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินค่าใช้จ่ายซึ่งจำเลยรับไปจากโจทก์จำเลยให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริงเพียงแต่ปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุอื่นจึงเป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา8(1)คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ป.วิ.พ.มาตรา173วรรคสองห้ามโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลอีกเฉพาะกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องก่อนไปแล้วคดีนั้นจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาแม้จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางในคดีนั้นแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งจะถือว่าคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาได้ไม่ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้าม จำเลยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ไม่ว่าจำเลยจะได้รับมอบอำนาจเฉพาะการหรือรับมอบอำนาจทั่วไปก็ตามจำเลยย่อมเป็นตัวแทนของบริษัทตัวการแม้ว่าจำเลยจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดหาคนงานตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528ก็ไม่ทำให้ฐานะความเป็นตัวแทนของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปการที่บริษัทตัวการจัดให้โจทก์เข้าทำงานได้ในเดือนแรกส่วนเดือนต่อๆมาโจทก์มิได้ทำงานและมิได้รับค่าจ้างโดยมิใช่เป็นความผิดของโจทก์จะถือว่าบริษัทตัวการได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วหาได้ไม่เมื่อบริษัทตัวการผิดสัญญาต่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ลำพังตนเองตามป.พ.พ.มาตรา824.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2616/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน, ฟ้องซ้อน, ตัวแทนสัญญาจ้าง, ความรับผิดจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัท ท. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศ บริษัท ท. ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ ขอให้จำเลยคืนเงินค่าใช้จ่ายที่จำเลยรับไปจากโจทก์ ดังนี้เป็นคดีพิพาทด้วยนสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 (1) อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานส่วนจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์หรือไม่หรือรับผิดเท่าใดเป็นอีกกรณีหนึ่ง มิได้หมายความว่า เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดแล้ว คดีไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 วรรคสอง ห้ามโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลอีกเฉพาะกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนไปแล้ว คดีนั้นจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณา แม้จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยก่อนก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จะถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาได้ไม่ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อน
จำเลยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทตัวการ ไม่ว่าจำเลยจะได้รับมอบหมายอำนาจแต่เฉพาะการหรือรับมอบอำนาจทั่วไปก็ตาม จำเลยย่อมเป็นตัวแทนของบริษัทตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 การที่จำเลยได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดหาคนงานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ไม่ทำให้ฐานะของจำเลยเปลี่ยนเแปลงไปโดยไม่เป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไปได้
บริษัทตัวการไม่สามารถให้โจทก์ทำงานในต่างประเทศได้ตามปกติจนครบกำหนดตามสัญญาจ้างแรงงานโดยจัดให้โจทก์เข้าทำงานในเดือนแรก ส่วนเดือนต่อ ๆ มาโจทก์มิได้เข้าทำงานและมิได้รับค่าจ้างซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์ จะถือว่าบริษัทตัวการได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วหาได้ไม่ เมื่อบริษัทตัวการผิดสัญญาต่อโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2616/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา แม้มีการถอนฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทท.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศบริษัทท.ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินค่าใช้จ่ายที่จำเลยรับไปจากโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทด้วยนสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา8(1)อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานส่วนจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์หรือไม่หรือรับผิดเท่าใดเป็นอีกกรณีหนึ่งมิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดแล้วคดีไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา73วรรคสองห้ามโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลอีกเฉพาะกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้งอคดีนี้ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนไปแล้วคดีนั้นจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาแม้จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยก่อนก็ตามเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาได้ไม่ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อน จำเลยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทตัวการไม่ว่าจำเลยจะได้รับมอบหมายอำนาจแต่เฉพาะการหรือรับมอบอำนาจทั่วไปก็ตามจำเลยย่อมเป็นตัวแทนของบริษัทตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา797การที่จำเลยได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดหาคนงานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528ไม่ทำให้ฐานะของจำเลยเปลี่ยนเแปลงไปโดยไม่เป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไปได้ บริษัทตัวการไม่สามารถให้โจทก์ทำงานในต่างประเทศได้ตามปกติจนครบกำหนดตามสัญญาจ้างแรงงานโดยจัดให้โจทก์เข้าทำงานในเดือนแรกส่วนเดือนต่อๆมาโจทก์มิได้เข้าทำงานและมิได้รับค่าจ้างซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์จะถือว่าบริษัทตัวการได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วหาได้ไม่เมื่อบริษัทตัวการผิดสัญญาต่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา824.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งพนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทางหลังจากโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยได้2เดือนโจทก์ได้ลาป่วยทุกเดือนติดต่อกัน7เดือนโดยลาป่วยเดือนละ1วันถึง8วันแสดงว่าสุขภาพของโจทก์ไม่สมบูรณ์ไม่สามารถตรากตรำในหน้าที่พนักงานเก็บค่าโดยสารอันเป็นงานหนักไว้กรณีถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงานถือเป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มาตรา9(3)และไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำำานของจำเลยหรือไม่.
of 71