คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โกมล อิศรางกูร ณ อยุธยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, ข้อผิดพลาดเรื่องเนื้อที่ดิน, การผิดสัญญา, การคืนเงินมัดจำ, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ตกลงซื้อที่ดินและบ้านจากจำเลยโดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและวางเงินมัดจำไว้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
สัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน 70,000 บาท จำเลยได้รับเงินเรียบร้อยแล้วจำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวว่าโจทก์วางเงินมัดจำเพียง 50,000 บาท ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
การที่จะให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความ
(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1497/2515 และคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 2216/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน-บ้าน, การแก้ไขโฉนด, คืนเงินมัดจำ, และค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ตกลงซื้อที่ดินและบ้านจากจำเลยโดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและวางเงินมัดจำไว้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
สัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้เป็นเงิน 70,000 บาท จำเลยได้รับเงินเรียบร้อยแล้วจำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวว่าโจทก์วางเงินมัดจำเพียง 50,000 บาทไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 การที่จะให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความ (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 1497/2515 และคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 2216/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษายกฟ้องในคดีอาญา: จำเป็นพอสมควรแก่เหตุและการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดด้วยความจำเป็นพอสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 ซึ่งไม่ต้องรับโทษ. ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185. แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษและให้คุมประพฤติจำเลย. ก็มีผลเท่ากับพิพากษายกฟ้อง. และเป็นการยกฟ้องในข้อเท็จจริง. เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยมิได้กระทำผิดพิพากษายกฟ้อง. กรณีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษายกฟ้องจากเหตุจำเป็นและผลของการกลับคำพิพากษาโดยศาลอุทธรณ์ ห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดด้วยความจำเป็นพอสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 ซึ่งไม่ต้องรับโทษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185. แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษและให้คุมประพฤติจำเลย ก็มีผลเท่ากับพิพากษายกฟ้อง และเป็นการยกฟ้องในข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยมิได้กระทำผิดพิพากษายกฟ้อง กรณีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928-1931/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, หนังสือมอบอำนาจ, การซื้อขายที่ดิน, และการตัดพยาน: หลักเกณฑ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1021 และ 1022 จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่และบ.จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามฟ้องหรือไม่จำเลยไม่ทราบและไม่รับรองคำให้การของจำเลยเป็นการฝ่าฝืน ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายจึงไม่เป็นประเด็นที่โจทก์ จะต้องนำสืบ
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ทราบไม่รับรองมิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของใบมอบอำนาจการที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ไม่ปรากฏเหตุผลจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ศ. มีอำนาจบอกกล่าวฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหาย ผู้เช่าที่ดินผู้เช่าอาคารและผู้อยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 3997 เลขที่ดิน 72 เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่พิพาทซึ่ง ตั้งอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวศ.ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทน โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์นำสืบผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนประกอบ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบกรรมการของโจทก์หรือผู้ขาย หรือเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นเมื่อศาลสืบพยานจำเลยในเรื่องค่าเสียหายไปบ้างแล้วจึงสั่งตัดพยาน จำเลยดังนี้ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928-1931/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, หนังสือมอบอำนาจ, การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์, และการตัดพยาน: หลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1021 และ 1022จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่และบ.จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามฟ้องหรือไม่จำเลยไม่ทราบและไม่รับรองคำให้การของจำเลยเป็นการฝ่าฝืน ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายจึงไม่เป็นประเด็นที่โจทก์ จะต้องนำสืบ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ทราบไม่รับรองมิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของใบมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ไม่ปรากฏเหตุผลจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ศ.มีอำนาจบอกกล่าวฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหาย ผู้เช่าที่ดินผู้เช่าอาคารและผู้อยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 3997เลขที่ดิน 72 เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่พิพาทซึ่ง ตั้งอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวศ.ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทน โจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์นำสืบผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนประกอบ เอกสารการจดทะเบียนซื้อขายก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบกรรมการของโจทก์หรือผู้ขาย หรือเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นเมื่อศาลสืบพยานจำเลยในเรื่องค่าเสียหายไปบ้างแล้วจึงสั่งตัดพยาน จำเลยดังนี้ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่บิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า: ลูกหนี้ร่วม, สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดู
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ในลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน
สามีภริยาหย่าขาดจากกันและตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ตกลงกันว่าฝ่ายที่ปกครองบุตรนั้นจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่ฝ่ายเดียว ดังนี้ ฝ่ายที่ปกครองบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่วันหย่าจนถึงวันฟ้องเพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ร่วมกันในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า โดยมิได้ตกลงเรื่องค่าใช้จ่าย
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ในลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน สามีภริยาหย่าขาดจากกันและตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ตกลงกันว่าฝ่ายที่ปกครองบุตรนั้นจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่ฝ่ายเดียวดังนี้ฝ่ายที่ปกครองบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่วันหย่าจนถึงวันฟ้องเพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานในคดีอาญา โจทก์ต้องนำสืบข้อเท็จจริงสาระสำคัญด้วยตนเอง การเบิกความรับสารภาพจากการซักค้านไม่ใช่การนำสืบ
ในการพิจารณาคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลย กระทำผิดตามฟ้อง
ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ข้อเท็จจริงที่ว่าวันที่จำเลยออกเช็คจำเลยไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิด เกิดขึ้นจากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึง ข้อเท็จจริงนั้นไม่พอฟังลงโทษจำเลย (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 540/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อเท็จจริงในคดีอาญา โจทก์ต้องนำสืบเอง การเบิกความรับสารภาพจากการซักค้านไม่ใช่การนำสืบ
ในการพิจารณาคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลย กระทำผิดตามฟ้อง
ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ข้อเท็จจริงที่ว่าวันที่จำเลยออกเช็ค จำเลยไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิด เกิดขึ้นจากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงนั้น ไม่พอฟังลงโทษจำเลย
(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 540/2504)
of 12