พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท แม้ลงชื่อไม่ถูกต้องตามข้อบังคับ และขอบเขตความรับผิดของกรรมการ
แม้จำเลยที่ 2 ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ผู้เดียวและประทับตราบริษัทอันเป็นการไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งจะต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อร่วมกันพร้อมกับประทับตราบริษัทก็ตามแต่บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ให้การยอมรับว่าบริษัทจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์จึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันบริษัทจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดสอบเขตที่ดินตามคำท้าของคู่ความ ศาลต้องดำเนินการให้ถูกต้องก่อนชี้ขาดคดี
คู่ความท้ากันให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตตามโฉนดที่ดินของแต่ละฝ่ายโดยให้ถือแผนที่หลังโฉนดเป็นหลักแล้วทำแผนที่พิพาทแสดงอาณาเขตให้ชัดเจนว่าอาคารในที่ดินของแต่ละฝ่ายมีการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหรือไม่เพียงใด เช่นนี้ย่อมกระทำได้โดยชอบและอยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานที่ดินจะปฏิบัติได้ หากเจ้าพนักงานที่ดินยังทำมาไม่ถูกต้องครบถ้วนอย่างไรก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ทำมาใหม่ให้ถูกต้องแล้วชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น
ศาลชั้นต้นสืบพยานคู่ความแล้วจึงวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยไม่ปรากฏเหตุว่าการปฏิบัติตามคำท้าไม่อาจทำได้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามคำท้าของคู่ความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้
ศาลชั้นต้นสืบพยานคู่ความแล้วจึงวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยไม่ปรากฏเหตุว่าการปฏิบัติตามคำท้าไม่อาจทำได้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามคำท้าของคู่ความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดสอบเขตที่ดินตามคำท้าของคู่ความ ศาลต้องดำเนินการให้ถูกต้องก่อนชี้ขาดคดี
คู่ความท้ากันให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตตามโฉนดที่ดินของแต่ละฝ่ายโดยให้ถือแผนที่หลังโฉนดเป็นหลักแล้วทำแผนที่พิพาทแสดงอาณาเขตให้ชัดเจนว่าอาคารในที่ดินของแต่ละฝ่ายมีการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหรือไม่เพียงใดเช่นนี้ย่อมกระทำได้โดยชอบและอยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานที่ดินจะปฏิบัติได้หากเจ้าพนักงานที่ดินยังทำมาไม่ถูกต้องครบถ้วนอย่างไรก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ทำมาใหม่ให้ถูกต้องแล้วชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น ศาลชั้นต้นสืบพยานคู่ความแล้วจึงวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยไม่ปรากฏเหตุว่าการปฏิบัติตามคำท้าไม่อาจทำได้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามคำท้าของคู่ความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรม: พยายามทำร้ายร่างกาย และทำร้ายร่างกาย
จำเลยใช้มีดเหน็บวิ่งไล่ฟัน พ. แต่ พ. วิ่งหนีทัน เมื่อ ด. เข้าขวางจำเลยฟัน ด. ดังนี้ การกระทำของจำเลยแยกได้เป็นสองกรรม คือพยายามทำร้ายร่างกาย พ. กรรมหนึ่งและทำร้าย ด. อีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143-1144/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้เจ้าของเครื่องหมายเดิมยินยอมก่อนหน้า ก็ไม่อาจจดทะเบียนได้
เดิมโจทก์และ ส. ต่างเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ต่อมาโจทก์และส. ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์สิน โดย ส. ยินยอมให้โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ดังกล่าวแต่ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการขอจดทะเบียนนั้น ส. ได้โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ให้แก่บริษัทจำเลยซึ่งมี ส. เป็นกรรมการแล้วบริษัทจำเลยได้คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ของบริษัทจำเลยจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 16 วรรคแรกแล้วนายทะเบียนมี สิทธิที่จะไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้เพราะนอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเดียวกันหรือเกือบเหมือนกันดังเช่นที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18 แล้ว มาตรา 16 วรรคแรกมีเจตนารมณ์ต้องการคุ้มครองประโยชน์ของสาธารณชนเมื่อเครื่องหมายการค้าใดเข้าลักษณะที่บัญญัติไว้แล้วห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนโดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ก่อนมีสิทธิคัดค้านการจดทะเบียนของโจทก์หรือไม่รวมทั้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือผู้รับโอนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำเลยใหม่และการผูกพันตามการปฏิบัติจริงในการซื้อขาย
การแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหา ข้ออ้างที่มีต่อจำเลยคือตัวบุคคลที่จะต้อง ระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 55,67 โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือสละข้อหาในฟ้องเดิม ประกอบด้วยมาตราบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อ ซ. เข้ามาเป็นจำเลยในภายหลังจึงเท่ากับเป็นการฟ้องบุคคลอื่นเป็นจำเลยเพิ่มเข้ามาในคดีอีกคนหนึ่ง จึงมิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าว
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาว่าโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามมาตรา 142(5) แม้โจทก์จำเลยจะมีข้อตกลงกันว่า ในการสั่งซื้อสินค้าและลงชื่อรับสินค้าจะกระทำได้เฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. พนักงานของจำเลยเคยลงชื่อเป็นผู้รับสินค้าแทนจำเลยและจำเลยก็ได้ชำระราคาสินค้านั้น จึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีสมัครใจซื้อขายโดยมิได้คำนึงถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือรับสินค้าตามข้อตกลงทั้งสองฝ่ายย่อมจะต้อง ผูกพันตามที่ได้ปฏิบัติต่อกัน
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาว่าโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามมาตรา 142(5) แม้โจทก์จำเลยจะมีข้อตกลงกันว่า ในการสั่งซื้อสินค้าและลงชื่อรับสินค้าจะกระทำได้เฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. พนักงานของจำเลยเคยลงชื่อเป็นผู้รับสินค้าแทนจำเลยและจำเลยก็ได้ชำระราคาสินค้านั้น จึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีสมัครใจซื้อขายโดยมิได้คำนึงถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือรับสินค้าตามข้อตกลงทั้งสองฝ่ายย่อมจะต้อง ผูกพันตามที่ได้ปฏิบัติต่อกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำเลยและการผูกพันตามการซื้อขายที่ปรากฏต่อหน้าคู่กรณี
การแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหา ข้ออ้างที่มีต่อจำเลยคือตัวบุคคลที่จะต้อง ระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 55, 67 โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือสละข้อหาในฟ้องเดิม ประกอบด้วยมาตราบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อ ซ. เข้ามาเป็นจำเลยในภายหลังจึงเท่ากับเป็นการฟ้องบุคคลอื่นเป็นจำเลยเพิ่มเข้ามาในคดีอีกคนหนึ่ง จึงมิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าว
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาว่าโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามมาตรา 142(5)
แม้โจทก์จำเลยจะมีข้อตกลงกันว่า ในการสั่งซื้อสินค้าและลงชื่อรับสินค้าจะกระทำได้เฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. พนักงานของจำเลยเคยลงชื่อเป็นผู้รับสินค้าแทนจำเลยและจำเลยก็ได้ชำระราคาสินค้านั้น จึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีสมัครใจซื้อขายโดยมิได้คำนึงถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือรับสินค้าตามข้อตกลงทั้งสองฝ่ายย่อมจะต้อง ผูกพันตามที่ได้ปฏิบัติต่อกัน
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาว่าโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามมาตรา 142(5)
แม้โจทก์จำเลยจะมีข้อตกลงกันว่า ในการสั่งซื้อสินค้าและลงชื่อรับสินค้าจะกระทำได้เฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. พนักงานของจำเลยเคยลงชื่อเป็นผู้รับสินค้าแทนจำเลยและจำเลยก็ได้ชำระราคาสินค้านั้น จึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีสมัครใจซื้อขายโดยมิได้คำนึงถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือรับสินค้าตามข้อตกลงทั้งสองฝ่ายย่อมจะต้อง ผูกพันตามที่ได้ปฏิบัติต่อกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำโดยผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์เข้าทำสัญญาดังกล่าวเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนในอันที่จะคุ้มครองผู้เยาว์ แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายด้วย การแบ่งทรัพย์มรดกต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคน มีสิทธิได้รับ เมื่อปรากฏว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรม มี 5 คนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 5 ส่วน
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1602/2519)
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายด้วย การแบ่งทรัพย์มรดกต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคน มีสิทธิได้รับ เมื่อปรากฏว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรม มี 5 คนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 5 ส่วน
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1602/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้เยาว์เกี่ยวข้อง โมฆะหากไม่มีอนุญาตศาล
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์เข้าทำสัญญาดังกล่าวเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนในอันที่จะคุ้มครองผู้เยาว์ แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายด้วยการแบ่งทรัพย์มรดกต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคน มีสิทธิได้รับ เมื่อปรากฏว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรม มี 5 คนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงคนละ1ใน5 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1602/2519)
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายด้วยการแบ่งทรัพย์มรดกต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคน มีสิทธิได้รับ เมื่อปรากฏว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรม มี 5 คนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงคนละ1ใน5 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1602/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความในคดีฉ้อโกง: สิทธิในการฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
จำเลยขายพลอยให้ผู้เสียหาย ต่อมาผู้เสียหายอ้างว่าเป็นพลอยปลอม จำเลยฉ้อโกง ขอให้คืนเงิน จำเลยไม่คืนให้ จำเลยและผู้เสียหายตกลงกันต่อหน้าพนักงานสอบสวนตามบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีว่าจำเลยยืมเงินผู้เสียหายไปจำเลยยอม ชดใช้เงินให้ผู้เสียหายเป็น 2 งวด ดังนี้เป็นเรื่องผู้เสียหายและจำเลยตกลงระงับข้อพิพาทอันมีต่อกันอยู่แล้วในเรื่องการซื้อขายพลอยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันเข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงมูลที่มาแห่งหนี้ในทางแพ่งแสดงถึงเจตนาของผู้เสียหายว่า ประสงค์ให้ข้อหาทางอาญาในเรื่องฉ้อโกงระงับไปด้วย ความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความกันได้เมื่อยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แม้ ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ผู้เสียหายก็ไม่มีอำนาจที่จะร้องทุกข์ ในข้อหาฉ้อโกงได้อีก