พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตก่อสร้างที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายและเจตนาหลีกเลี่ยงข้อบังคับ ศาลยกฟ้องละเมิด
การขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและให้จำเลยออกใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารให้เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา26วรรคหนึ่งซึ่งตามมาตรา52บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยให้เสนอคดีต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ทันทีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจงใจกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายซึ่งเป็นดังที่โจทก์อ้างถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดและต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ที่ดินที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างคือที่ดินโฉนดเลขที่154651เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดเลขที่17851ซึ่งแต่เดิมอยู่ติดซอยวิทยุ1การปลูกสร้างอาคารบนที่ดินดังกล่าวต้องอยู่ในบังคับเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพเรื่องกำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นไม่ได้(ฉบับที่2)พ.ศ.2502และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารฉบับลงวันที่5ตุลาคม2528ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479ตามประกาศดังกล่าวในข้อ2(2)กำหนดให้อาคารที่มีความสูงเกิน12เมตรให้มีระยะร่นโดยรอบอาคารจากแนวเขตที่ดินทุกด้านตามสูตรร=2+เศษส่วนห้าและในเรื่องแนวศูนย์กลางปากทางเข้าออกของรถยนต์ตามกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479ข้อ8กำหนดว่าต้องไม่อยู่ในที่ที่เป็นทางร่วมหรือทางแยกและต้องห่างจากจุดเริ่มต้นโค้งหรือหักมุมของขอบทางร่วมหรือชอบทางแยกสาธารณะมีระยะไม่น้อยกว่า20เมตรซึ่งอาคารที่โจทก์ขออนุญาตมีระยะร่นและแนวศูนย์กลางปากทางเข้าออกไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวการที่โจทก์แบ่งแยกที่ดินที่จะปลูกสร้างออกเป็น2โฉนดโดยโฉนดเลขที่154651โจทก์ใช้เป็นโฉนดที่ดินที่ขออนุญาตปลูกสร้างส่วนโฉนดที่ดินเดิมซึ่งเหลือเนื้อที่7ตารางวาโจทก์โอนให้บุคคลอื่นเพื่อให้มีรอยตะเข็บกั้นมิให้ที่ดินตามโฉนดเลขที่154651มีอาณาเขตติดซอยวิทยุ1เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพประกาศกรุงเทพมหานครและกฎกระทรวงดังกล่าวการยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตก่อสร้างและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การแบ่งแยกที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย และอำนาจฟ้อง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสามที่ไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและให้จำเลยทั้งสามออกใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารให้เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารที่ขอตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา26วรรคหนึ่งซึ่งมาตรา52บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยก็เสนอคดีต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามทันทีแทนที่จะอุทธรณ์และนำคดีขึ้นสู่ศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายจึงไม่มีอำนาจฟ้องส่วนคำขอที่ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามจงใจกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในข้อนี้ ที่ดินที่โจทก์จะปลูกสร้างอาคารแต่เดิมอยู่ติดซอยซึ่งการปลูกสร้างอาคารบนที่ดินนั้นต้องอยู่ในบังคับเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพประกาศกรุงเทพมหานครและกฎกระทรวงซึ่งเป็นผลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามที่ขอได้การที่โจทก์แบ่งแยกที่ดินนั้นออกเป็น2โฉนดแล้วขออนุญาตปลูกสร้างอาคารบนที่ดินตามโฉนดที่แบ่งแยกมาส่วนโฉนดที่ดินเดิมโอนให้บุคคลอื่นเพื่อให้มีรอยตะเข็บกั้นไม่ให้ที่ดินตามโฉนดที่แบ่งแยกมีอาณาเขตติดซอยเห็นได้ว่ามีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจึงไม่อาจอ้างความเสียหายที่ได้รับจากการดังกล่าวมาเรียกร้องทางละเมิดแก่จำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง เจ้าของ/ผู้ครอบครองต้องรับผิด แม้ไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้าง
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุต่าง ๆ ว่า โจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจำเลยให้การถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ สรุปได้ว่า อาคารพิพาทปลูกสร้างขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารหลังจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ใช้บังคับ จึงต้องผูกพันตามกฎหมาย ดังกล่าว เป็นการแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกข้อชัดแจ้งแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่ การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอนหาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อกฎหมาย และหน้าที่ของเจ้าของอาคาร
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุต่าง ๆ ว่า โจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยให้การถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ สรุปได้ว่า อาคารพิพาทปลูกสร้างขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารหลังจาก พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ใช้บังคับ จึงต้องผูกพันตามกฎหมายดังกล่าว เป็นการแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกข้อชัดแจ้งแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่
การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอน หาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่
การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอน หาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างขัดกฎหมาย แม้เจ้าของไม่ได้กระทำผิดโดยตรง และผลของการวินิจฉัยอุทธรณ์ล่าช้า
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 เมื่อการก่อสร้างใดฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนสิ่งก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้นแต่หมายความรวมถึงเจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งก่อสร้างที่ก่อสร้างฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวด้วย และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จในสามสิบวัน กฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติไว้ว่ามีผลเป็นประการใด แสดงว่าไม่มีบทบังคับ จึงไม่ทำให้อำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในการที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์หมดไปคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังคงมีอำนาจที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์อยู่ หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ล่าช้ามีผลเพียงให้ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสามสิบวันโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอน หาใช่ไม่มีสภาพบังคับแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดประกาศกระทรวงมหาดไทย และการพิจารณาคำอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารพาณิชย์2 ชั้นต่อจำเลยแล้ว ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 10มิถุนายน 2528 กำหนดบริเวณห้ามทำการก่อสร้างอาคารในบริเวณบางส่วนของตำบลป่าตองอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งรวมถึงบริเวณที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารรายนี้ด้วย ต่อจากนั้นจำเลยจึงได้มีคำสั่งไม่อนุญาต ดังนี้ เมื่ออาคารที่โจทก์ขออนุญาตก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้นสูงเกิน 5 เมตร ซึ่งต้องห้ามมิให้ก่อสร้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ถือว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตยืนตามคำสั่งของจำเลย จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ไม่มีเหตุที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จภายใน60 วัน แต่ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยโดยไม่ได้ให้ตัวจำเลยเข้าสืบก่อนพยานปากอื่น แต่จำเลยเป็นนิติบุคคล พยานจำเลยที่นำเข้าสืบเป็นเจ้าพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาคำร้องของโจทก์ และทนายจำเลยได้แถลงเหตุขัดข้องของพยานที่จะนำเข้าสืบในแต่ละนัดไว้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แถลงคัดค้าน ประกอบกับไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดห้ามมิให้นำพยานปากใดเข้าสืบก่อนหลัง การสืบพยานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตปลูกสร้างอาคารตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง
ภายหลังที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารต่อจำเลยแล้ว ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย กำหนดบริเวณห้ามทำการก่อสร้างอาคารในบางส่วนของตำบล ซึ่งรวมถึงบริเวณที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารด้วย จำเลยจึงมีคำสั่งไม่อนุญาต ดังนี้เมื่ออาคารที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้าง ต้องห้ามมิให้ก่อสร้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ถือว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตยืนตามคำสั่งจำเลย จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จภายใน 60 วัน ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: จำเลยต้องดำรงตำแหน่งขณะเกิดเหตุ หากมิได้ดำรงตำแหน่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้ฟ้องโดยระบุตำแหน่ง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้า ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลไปถึงจำเลยอื่นด้วย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องตรงกับตำแหน่งผู้มีอำนาจ ณ ขณะเกิดเหตุ แม้ฟ้องโดยระบุตำแหน่ง แต่ผู้ดำรงตำแหน่งเปลี่ยนไปแล้ว ถือไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้าในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว การฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารซึ่งออกโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อมา ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลต่อไปถึงจำเลยอื่นด้วย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรื้อถอนอาคารต่อเติมของผู้เช่า: สัญญาเช่าไม่ครอบคลุมการต่อเติม ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ
สัญญาเช่าอาคารไม่มีข้อความระบุว่าให้เช่าอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมด้วยสัญญาดังกล่าวจึงผูกพันเฉพาะตัวอาคารที่ทำสัญญา สิทธิครอบครองอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมยังคงอยู่กับผู้ให้เช่า และแม้ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ผู้เช่าครอบครองใช้สอยอาคารที่ดัดแปลงต่อเติม ก็เป็นเพียงการอนุญาตเป็นพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่า ถือว่าผู้ครอบครองแทนผู้ให้เช่า ดังนั้นผู้ให้เช่าจึงต้องรับผิดในการรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ วินิจฉัยภายในกำหนด 30 วัน โดยมิได้กำหนดสภาพบังคับไว้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนด ก็ยังเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายและใช้บังคับได้