พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมให้ปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่นเป็นเพียงการเอื้อเฟื้อ สิทธิในการเพิกถอนเป็นของผู้ให้ความยินยอม
การที่นายสมพรสามีโจทก์อนุญาตให้จำเลยปลูกบ้านทำรั้วเข้าไปในที่พิพาทเป็นเพียงการเอื้อเฟื้อจำเลยฉันพี่น้องคงมีผลเพียงมิให้จำเลยต้องรับผิดฐานละเมิดเท่านั้นซึ่งความยินยอมนั้นเป็นเรื่องให้ประโยชน์แก่จำเลยฝ่ายเดียว โดยนายสมพรมิได้รับค่าตอบแทนใดๆ เลย ย่อมมีผลผูกพันนายสมพรตราบเท่าที่ความยินยอมนั้นยังคงอยู่ที่เจ้าของที่พิพาทให้ความยินยอมเช่นนี้ ก็ย่อมจะยกเลิกเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสมพร ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจากเจ้าของที่พิพาทฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำย่อมถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกความยินยอมอนุญาตให้จำเลยใช้ที่พิพาทแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะให้สิ่งปลูกสร้างคงอยู่ในที่พิพาทอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมให้ใช้ที่ดินเป็นสิทธิชั่วคราว เจ้าของที่ดินมีสิทธิบอกเลิกได้เสมอ
การที่นายสมพรสามีโจทก์อนุญาตให้จำเลยปลูกบ้านทำรั้วเข้าไปในที่พิพาทเป็นเพียงการเอื้อเฟื้อจำเลยฉันพี่น้อง คงมีผลเพียงมิให้จำเลยต้องรับผิดฐานละเมิดเท่านั้นซึ่งความยินยอมนั้นเป็นเรื่องให้ประโยชน์แก่จำเลยฝ่ายเดียว โดยนายสมพรมิได้รับค่าตอบแทนใดๆ เลย ย่อมมีผลผูกพันนายสมพรตราบเท่าที่ความยินยอมนั้นยังคงอยู่ ที่เจ้าของที่พิพาทให้ความยินยอมเช่นนี้ ก็ย่อมจะยกเลิกเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสมพร ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจากเจ้าของที่พิพาทฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำ ย่อมถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกความยินยอมอนุญาตให้จำเลยใช้ที่พิพาทแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะให้สิ่งปลูกสร้างคงอยู่ในที่พิพาทอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การที่จำเลยไม่ยกเหตุแก้ต่างที่มีอยู่แล้วในคดีก่อน แล้วกลับฟ้องร้องใหม่ในประเด็นเดิม ถือเป็นการฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
คดีนี้กับคดีก่อนมีคู่ความเดียวกัน มรดกที่พิพาทรายเดียวกัน คดีมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ในระหว่างโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิรับมรดก คดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลวินิจฉัยว่าพินัยกรรมฉบับที่นำมาฟ้องในคดีก่อนสมบูรณ์ โจทก์คดีก่อนมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมแต่ผู้เดียว โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับนำมาฟ้องโจทก์คดีก่อนเป็นจำเลยคดีนี้เรียกเอามรดกรายเดียวกันอีกโดยอ้างพินัยกรรมฉบับใหม่ ดังนี้ แม้เหตุที่อ้างในคดีนี้จะต่างกับคดีก่อนโดยอ้างว่ามีพินัยกรรมฉบับใหม่ก็ตาม แต่พินัยกรรมฉบับหลังนี้ก็มีอยู่แล้วก่อนพิพาทกันในคดีก่อน โจทก์คดีนี้ชอบที่จะยกเป็นข้อต่อสู้ในคดีก่อนได้ แต่ก็หาได้ยกขึ้นต่อสู้ไม่ เมื่อแพ้คดีแล้วจะกลับมาอ้างเหตุที่ตนมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคดีก่อนมารื้อร้องฟ้องกันอีกฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: เมื่อคู่ความเดิมฟ้องร้องเรื่องมรดกซ้ำ โดยมีข้ออ้างใหม่แต่มีอยู่ก่อนแล้ว
คดีนี้กับคดีก่อนมีคู่ความเดียวกัน มรดกที่พิพาทรายเดียวกัน คดีมีประเด็นอย่างเดียวกันว่าในระหว่างโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิรับมรดกคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยศาลวินิจฉัยว่าพินัยกรรมฉบับที่นำมาฟ้องในคดีก่อนสมบูรณ์โจทก์คดีก่อนมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมแต่ผู้เดียวโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับนำมาฟ้องโจทก์คดีก่อนเป็นจำเลยคดีนี้เรียกเอามรดกรายเดียวกันอีกโดยอ้างพินัยกรรมฉบับใหม่ดังนี้แม้เหตุที่อ้างในคดีนี้จะต่างกับคดีก่อนโดยอ้างว่ามีพินัยกรรมฉบับใหม่ก็ตามแต่พินัยกรรมฉบับหลังนี้ก็มีอยู่แล้วก่อนพิพาทกันในคดีก่อนโจทก์คดีนี้ชอบที่จะยกเป็นข้อต่อสู้ในคดีก่อนได้ แต่ก็หาได้ยกขึ้นต่อสู้ไม่เมื่อแพ้คดีแล้วจะกลับมาอ้างเหตุที่ตนมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคดีก่อนมารื้อร้องฟ้องกันอีกฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แม้เสนอชำระหนี้ไม่ครบ
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน มีข้อความที่เกี่ยวกับหลักประกันว่าให้โจทก์จำนองที่ดินโฉนดรายพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันและให้จำเลยยึดถือโฉนดดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันจนกว่าจะได้รับชำระหนี้แล้วโดยสิ้นเชิงเมื่อโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยมากกว่าที่โจทก์จะชำระให้แก่จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับชำระหนี้และยึดถือโฉนดไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี แม้เสนอชำระหนี้ไม่ครบถ้วน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน มีข้อความที่เกี่ยวกับหลักประกันว่าให้โจทก์จำนองที่ดินโฉนดรายพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกัน และให้จำเลยยึดถือโฉนดดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันจนกว่าจะได้รับชำระหนี้แล้วโดยสิ้นเชิง เมื่อโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยมากกว่าที่โจทก์จะชำระให้แก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับชำระหนี้และยึดถือโฉนดไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามข้อตกลงและกฎหมาย
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ และฝากเงินในวันเดียวกัน หลังจากนั้นจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีและนำเงินฝากเข้าบัญชีหลายครั้ง โดยโจทก์จะคิดหักยอดเงินในบัญชีทุกครั้ง หากจำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินกว่าเงินที่มีอยู่ในบัญชี โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือนในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจากเงินที่เป็นหนี้ตามประเพณีของธนาคาร ดังนี้ เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการบังคับใช้กฎหมายอาคารหลังได้รับอนุญาตแล้ว
จำเลยดัดแปลงผนังทึบอาคารตึกแถวด้านหลังซึ่งมีเขตติดต่อกับทางเดินอันเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์ ตามที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างโดยเจาะทำประตูเหล็กยึดและหน้าต่างกระจกบานเกล็ดมิได้รุกล้ำเขตที่ดินข้างเคียง การกระทำของจำเลยก็ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 75 เมื่อการดัดแปลงดังกล่าวเสร็จพร้อมกับการก่อสร้างตึกแถวซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุเวลาของใบอนุญาต แต่ขณะนั้นพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ใช้บังคับแล้ว กรณีก็ต้อง บังคับตามกฎหมายดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องกฎหมายมีผลบังคับย้อนหลังจำเลยถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและศาลพิพากษาลงโทษจำเลย คดีถึงที่สุดแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและหัวหน้าเขตโจทก์ที่สั่งให้รื้อถอนประตูหน้าต่างผนังอาคารที่พิพาทโจทก์มีอำนาจขอให้ศาลสั่งบังคับจำเลยรื้อถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้ามฟ้อง คดีพาอาวุธที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ข้อหาความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ และโจทก์บรรยายฟ้องข้อหาตามมาตรา 371 กับความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297 เป็นกรณีต่างกรรมกัน มิใช่เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท การที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาความผิดตามมาตรา 297 จึงไม่มีสาเหตุที่จะต้องรับพิจารณาความผิดตาม มาตรา 371 ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และยุติไปแล้ว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตาม มาตรา371 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพาอาวุธและการทำร้ายร่างกาย: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์และหลักต่างกรรมกัน
ข้อหาความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ และโจทก์บรรยายฟ้องข้อหาตามมาตรา 371 กับความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297 เป็นกรณีต่างกรรมกัน มิใช่เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท การที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาความผิดตามมาตรา 297 จึงไม่มีสาเหตุที่จะต้องรับพิจารณาความผิดตาม มาตรา 371 ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และยุติไปแล้ว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตาม มาตรา371 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้อง