พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เช่าซื้อรถยนต์ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยตามกฎหมาย แม้จะออกเบี้ยประกันให้
ห้าง ศ. เป็นคู่สัญญาเอาประกันภัยรถยนต์ไว้แก่จำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อรถดังกล่าวจากห้าง ศ. เป็นผู้ออกเบี้ยประกันภัยตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 จึงหาใช่ผู้เอาประกันภัยตามความหมายของมาตรา 862 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 887 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข (ผ่อนส่ง) ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ แม้มีเงื่อนไขเอารถคืนหากผิดสัญญา
สัญญาท้ายฟ้องระบุราคารถยนต์ที่ซื้อขายเป็นเงิน 130,650 บาท โดยตกลงกันในข้อ 2 ว่า ผู้ซื้อจะชำระราคาแก่ผู้ขายเป็นรายเดือน เดือนละ 4,355 บาท รวม 30 เดือนและระบุไว้ในข้อ 10 ว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายยังเป็นของผู้ขายโดยไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าผูขายจะได้รับชำระค่าซื้อครบถ้วน ตามสัญญาแล้ว สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ใช่เป็นสัญญาเช่าซื้อ แม้จะมีข้อ 11 ระบุว่าหากผู้ซื้อผิดสัญญา สัญญาเลิกกันทันทีโดยผู้ขายมิต้องบอกกล่าวและมีสิทธิเอารถคืนโดยไม่ต้องคืนเงินที่ผู้ซื้อชำระแล้ว ก็เป็นเพียงการรักษาผลประโยชน์ของผู้ขายเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขาย กลับกลายเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุ ต้องพิสูจน์ว่าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัส เกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีไม่อยู่ช่วยเหลือ ทั้งไม่ได้แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมิได้บรรยายอ้างเหตุว่าการหลบหนีดังกล่าวเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตายด้วยดังนี้ ไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฯ มาตรา 160 วรรคสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการฉ้อโกง: คำว่า 'บังอาจ' แสดงเจตนาได้ แม้กฎหมายไม่ต้องระบุ
คำว่า บังอาจ ก็เท่ากับว่ามีเจตนาทุจริตอยู่แล้วที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้บังอาจร่วมกันกระทำการฉ้อโกงโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 สัญญาขายที่ดินให้แก่โจทก์แล้วยังนำไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 และไม่ไถ่ถอนทั้งที่ทราบดีว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล ย่อมมีความหมายเป็นที่เข้าใจแจ้งชัดแล้วว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาทุจริตและความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ก็หาได้บัญญัติว่าจะต้องมีเจตนาทุจริตไม่ ฟ้องโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรานี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3864/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดสมาชิกภาพเมื่ออุปสมบท แม้เป็นการอุปสมบทชั่วคราว
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 19 บัญญัติไว้แจ้งชัดว่าสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลย่อมสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นมีลักษณะต้องห้าม อันรวมถึงการเป็นภิกษุด้วยซึ่งย่อมหมายถึงผู้ได้รับเลือกตั้งจนเข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่สมาชิกสภาเทศบาลโดยสมบูรณ์แล้วและจะพ้นจากความเป็นสมาชิกแห่งสภาเทศบาลนั้นทันทีที่ได้อุปสมบทเข้าสู่สมณเพศอันได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นเพียงชั่วคราวแล้วลาสิกขาก็ตาม เพราะไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ลาอุปสมบทหรืออนุโลมให้ถือเสมือนเป็นการลากิจ และกฎหมายหาได้ห้ามการเป็นภิกษุเฉพาะในวันที่มีการเลือกตั้งเท่านั้นไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลแล้วได้อุปสมบทเป็นภิกษุ จำเลยจึงพ้นจากสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลตั้งแต่วันเป็นภิกษุโดยผลแห่งกฎหมายดังกล่าว
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2490 มาตรา 19 ให้โอกาสคู่ความนำปัญหาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมาสู่ศาลเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดเป็นยุติเท่านั้น จำเลยขาดจากสมาชิกภาพโดยผลแห่งกฎหมายไปแล้ว และไม่มีกฎหมายรับรองให้กลับคืนสมาชิกภาพได้อีก กฎหมายบัญญัติเพียงไม่กระทบกระทั่งการที่สมาชิกนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ในสภาก่อนที่มีการชี้ขาดของศาลโดยหาได้รวมถึงสมาชิกภาพไม่
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2490 มาตรา 19 ให้โอกาสคู่ความนำปัญหาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมาสู่ศาลเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดเป็นยุติเท่านั้น จำเลยขาดจากสมาชิกภาพโดยผลแห่งกฎหมายไปแล้ว และไม่มีกฎหมายรับรองให้กลับคืนสมาชิกภาพได้อีก กฎหมายบัญญัติเพียงไม่กระทบกระทั่งการที่สมาชิกนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ในสภาก่อนที่มีการชี้ขาดของศาลโดยหาได้รวมถึงสมาชิกภาพไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3864/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพสภาเทศบาลสิ้นสุดลงเมื่ออุปสมบท แม้ชั่วคราว เหตุมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 19 บัญญัติไว้แจ้งชัดว่าสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลย่อมสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นมีลักษณะต้องห้าม อันรวมถึงการเป็นภิกษุด้วยซึ่งย่อมหมายถึงผู้ได้รับเลือกตั้งจนเข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่สมาชิกสภาเทศบาลโดยสมบูรณ์แล้วและจะพ้นจากความเป็นสมาชิกแห่งสภาเทศบาลนั้นทันทีที่ได้อุปสมบทเข้าสู่สมณเพศอันได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นเพียงชั่วคราวแล้วลาสิกขาก็ตาม เพราะไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ลาอุปสมบทหรืออนุโลมให้ถือเสมือนเป็นการลากิจ และกฎหมายหาได้ห้ามการเป็นภิกษุเฉพาะในวันที่มีการเลือกตั้งเท่านั้นไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลแล้วได้อุปสมบทเป็นภิกษุ จำเลยจึงพ้นจากสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลตั้งแต่วันเป็นภิกษุโดยผลแห่งกฎหมายดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2490 มาตรา 19 ให้โอกาสคู่ความนำปัญหาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมาสู่ศาลเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดเป็นยุติเท่านั้น จำเลยขาดจากสมาชิกภาพโดยผลแห่งกฎหมายไปแล้ว และไม่มีกฎหมายรับรองให้กลับคืนสมาชิกภาพได้อีก กฎหมายบัญญัติเพียงไม่กระทบกระทั่งการที่สมาชิกนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ในสภาก่อนที่มีการชี้ขาดของศาลโดยหาได้รวมถึงสมาชิกภาพไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งถอดถอนเจ้าอาวาสของเจ้าคณะจังหวัด: อำนาจทางศาสนจักรที่ไม่สามารถก้าวก่ายได้หากเป็นการใช้อำนาจโดยชอบ
โจทก์เป็นเจ้าอาวาส จำเลยเป็นเจ้าคณะจังหวัด จำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามกฎมหาเถรสมาคม คำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม อันเป็นอำนาจของทางฝ่ายศาสนจักรที่จะมีคำสั่งโดยเฉพาะ เมื่อฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่าจำเลยปฏิบัติมิชอบอย่างไรหรือมีการกลั่นแกล้งโจทก์ในการออกคำสั่งนั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะไปก้าวก่ายในคำสั่งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนร่วมก่อสร้าง สัญญาเดิมยังไม่เลิก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหุ้นส่วนก่อนเลิกสัญญา
คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองหาว่าร่วมกันฉีกสัญญาก่อสร้างทิ้ง ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ ศาลมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 ครั้นพิจารณาแล้วลงโทษจำเลยที่ 2 ดังนี้โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งข้อเท็จจริงในคดีอาญาคงผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ศาลในคดีแพ่งจึงฟังว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาอันเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ได้
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันทำการก่อสร้างตึกแถวยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินการที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาก่อสร้างที่โจทก์และจำเลยที่2 ทำไว้ต่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุให้สัญญาก่อสร้างระงับส่วนการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาก่อสร้างฉบับใหม่กับจำเลยที่ 1 ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามของหุ้นส่วนเดิม เท่ากับทำแทนโจทก์นั่นเอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินที่โจทก์นำมาลงหุ้น รวมทั้งผลกำไรจากการที่โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนกัน จึงฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ และกรณีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2นั้น โจทก์ชอบที่จะจัดการให้มีการเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 ถึง 1063เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันทำการก่อสร้างตึกแถวยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินการที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาก่อสร้างที่โจทก์และจำเลยที่2 ทำไว้ต่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุให้สัญญาก่อสร้างระงับส่วนการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาก่อสร้างฉบับใหม่กับจำเลยที่ 1 ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามของหุ้นส่วนเดิม เท่ากับทำแทนโจทก์นั่นเอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินที่โจทก์นำมาลงหุ้น รวมทั้งผลกำไรจากการที่โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนกัน จึงฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ และกรณีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2นั้น โจทก์ชอบที่จะจัดการให้มีการเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 ถึง 1063เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนลงทุนก่อสร้าง: การเลิกสัญญา, การทำสัญญาใหม่, และอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย
คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองหาว่าร่วมกันฉีกสัญญาก่อสร้างทิ้ง ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ ศาลมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 ครั้นพิจารณาแล้วลงโทษจำเลยที่ 2 ดังนี้ โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่ง ข้อเท็จจริงในคดีอาญาคงผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ศาลในคดีแพ่งจึงฟังว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาอันเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ได้
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันทำการก่อสร้างตึกแถวยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน การที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาก่อสร้างที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุให้สัญญาก่อสร้างระงับส่วนการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาก่อสร้างฉบับใหม่กับจำเลยที่ 1 ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามของหุ้นส่วนเดิม เท่ากับทำแทนโจทก์นั่นเอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินที่โจทก์นำมาลงหุ้น รวมทั้งผลกำไรจากการที่โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนกัน จึงฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ และกรณีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ชอบที่จะจัดการให้มีการเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055 ถึง 1063เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันทำการก่อสร้างตึกแถวยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน การที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาก่อสร้างที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุให้สัญญาก่อสร้างระงับส่วนการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาก่อสร้างฉบับใหม่กับจำเลยที่ 1 ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามของหุ้นส่วนเดิม เท่ากับทำแทนโจทก์นั่นเอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินที่โจทก์นำมาลงหุ้น รวมทั้งผลกำไรจากการที่โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนกัน จึงฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ และกรณีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ชอบที่จะจัดการให้มีการเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055 ถึง 1063เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยอาศัยความอ่อนแอทางจิตใจและการหลอกลวงเกี่ยวกับความสามารถของสิ่งของ
โจทก์นอกจากจะได้กล่าวในฟ้องในตอนต้นและตอนท้ายว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์อาศัยความโง่เขลาเบาปัญญาและความอ่อนแอแห่งจิตของโจทก์แล้ว โจทก์ยังบรรยายข้อความที่จำเลยหลอกลวงโจทก์อีกว่า เหล็กไหลสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่โจทก์กำลังเป็นอยู่นั้นให้หายขาดได้ ซึ่งพอเป็นที่เข้าใจได้ว่า ความอ่อนแอแห่งจิตของโจทก์เนื่องมาจากความเจ็บป่วย และคำว่าโง่เขลาเบาปัญญาก็แสดงอยู่ว่าโจทก์นั้นถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อได้ง่ายกว่าคนมีจิตปกติ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342(2) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว