คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โกวิท สุนทรขจิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน: การรวมแปลงขาย, การสมยอมประมูล, และการชำระเงินค่าซื้อ
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 บัญญัติเป็นหลักบังคับไว้ว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มีหลายสิ่งด้วยกัน ให้แยกขายทีละสิ่งต่อเนื่องกันไป แต่ก็ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะจัดขายอสังหาริมทรัพย์สองสิ่งหรือกว่านั้นขึ้นไป รวมขายไปด้วยกันได้ ในเมื่อเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ในการขายจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น
เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยสองแปลงรวมไปด้วยกัน หากจำเลยเห็นว่าควรแยกขายทีละแปลง จำเลยก็ชอบที่จะร้องคัดค้านไว้ตามมาตรา 309 วรรคท้าย จำเลยจะยกความข้อนี้เป็นเหตุคัดค้านเมื่อการขายทอดตลาดสำเร็จบริบูรณ์แล้วหาได้ไม่
การขายทอดตลาดครั้งก่อนผู้สู้ราคาสูงสุดไม่วางเงินค่าซื้อตามเงื่อนไข การขายทอดตลาด จึงประกาศขายใหม่ การขายทอดตลาดครั้งหลังแม้จะได้ราคาต่ำกว่าการขายครั้งก่อนก็ตาม ศาลก็อนุญาตให้ขายแก่ผู้สู้ราคาสูงสุดในครั้งหลังได้ และถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับความเสียหาย เพราะราคาส่วนที่ต่ำหรือขาดไปนี้ผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายครั้งก่อนยังต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา516
เงื่อนไขในการขายทอดตลาดกำหนดไว้ว่า ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดต้องชำระเงินค่าซื้อในวันขายทอดตลาดร้อยละ 25 ของราคา จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาคดีนี้ 118,700 บาท โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ในราคา 240,000 บาท โจทก์ขอหักหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาดังกล่าว ได้ชำระค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาดร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่ขายเป็นเงิน 12,050 บาทส่วนเงินที่เหลือจำนวน 110,250 บาท โจทก์ได้ชำระภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะขยายกำหนดเวลาให้ได้ ทั้งเป็นไปตามเงื่อนไขการประกาศขายทอดตลาด ดังนี้ การซื้อทรัพย์ของโจทก์จึงเป็นไปโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ราชการกลายเป็นสาธารณสมบัติ แม้ไม่จดทะเบียน โจทก์ผู้ครอบครองสู้มิได้
การซื้อขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่มีโฉนดนี้เป็นที่ทราบกันว่า ฝ่ายจำเลยซื้อไปเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการทหาร ซึ่งเป็นผลให้ที่พิพาทกลายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) การที่ พ.ตกลงขายที่พิพาทให้แก่จำเลย จึงเป็นการแสดงเจตนาสละที่พิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตั้งแต่วันทำสัญญา โดยไม่จำเป็นต้องมีการแก้โฉนดหรือจดทะเบียนการซื้อขายแต่อย่างใด โจทก์ซึ่งเข้าครอบครองที่พิพาทในภายหลังมิอาจยกเอาอายุความแห่งการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองขึ้นต่อสู้แผ่นดินได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าก่อนลักทรัพย์: ศาลฎีกายืนว่าเป็นการกระทำต่างกรรมกัน และต้องลงโทษตามมาตรา 83
จำเลยกับพวกมีเจตนาแต่ต้นเพียงเพื่อจะฆ่าผู้ตายเพราะมีสาเหตุกันมาก่อน เมื่อฆ่าผู้ตายสำเร็จแล้วจึงพลอยถือโอกาสเอาปืนของผู้ตายไปด้วย การลักทรัพย์เป็นการกระทำโดยเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังอันเป็นคนละกรรมกับการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายซึ่งขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา288,335(7)
เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ คำพิพากษาจะต้องระบุมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าก่อนลักทรัพย์: ศาลฎีกาชี้ขาดเป็นคนละกรรม
จำเลยกับพวกมีเจตนาแต่ต้นเพียงเพื่อจะฆ่าผู้ตายเพราะมีสาเหตุกันมาก่อน เมื่อฆ่าผู้ตายสำเร็จแล้วจึงพลอยถือโอกาสเอาปืนของผู้ตายไปด้วย การลักทรัพย์เป็นการกระทำโดยเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังอันเป็นคนละกรรมกับการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายซึ่งขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา288, 335(7)
เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ คำพิพากษาจะต้องระบุมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองมรดกโดยบุตรหลายคน และสิทธิในการแบ่งมรดกเมื่อมีการอ้างสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ทั้งสี่และบิดาจำเลยร่วมกันครอบครองที่นามรดกแปลงพิพาทต่อจากเจ้ามรดก ถือได้ว่าร่วมกันรับมรดกดังกล่าวและเป็นเจ้าของที่นามรดกรายนี้ร่วมกันแล้ว แม้ภายหลังบิดาจำเลยจะเป็นฝ่ายครอบครองที่นาพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ต้องถือว่าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมกันและแทนกันมิใช่เป็นการแย่งการครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1375 จำเลยอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิของบิดาจำเลย การที่บิดาจำเลยยกที่นาแปลงพิพาทให้แก่บุตรของตนรวมทั้งจำเลยแล้วจำเลย เอาที่นาดังกล่าวขอออก น.ส.3 เป็นชื่อจำเลยและพี่น้อง ไม่ทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครองในที่นาแปลงพิพาทในส่วนของโจทก์ทั้งสี่ เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นฟ้อง จำเลยยังไม่ถึง 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยไม่ยินยอมแบ่งที่นาแปลงพิพาทให้ โดยอ้างว่าที่นาดังกล่าวเป็นของจำเลยและพี่น้องของจำเลยโจทก์จึงไม่หมดสิทธิที่จะฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองมรดก: เจ้าของร่วม การสืบสิทธิ และสิทธิในการเรียกคืนการครอบครอง
โจทก์ทั้งสี่และบิดาจำเลยร่วมกันครอบครองที่นามรดกแปลงพิพาทต่อจากเจ้ามรดก ถือได้ว่าร่วมกันรับมรดกดังกล่าวและเป็นเจ้าของที่นามรดกรายนี้ร่วมกันแล้ว แม้ภายหลังบิดาจำเลยจะเป็นฝ่ายครอบครองที่นาพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ต้องถือว่าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมกันและแทนกัน มิใช่เป็นการแย่งการครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 จำเลยอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิของบิดาจำเลย การที่บิดาจำเลยยกที่นาแปลงพิพาทให้แก่บุตรของตนรวมทั้งจำเลยแล้วจำเลยเอาที่นาดังกล่าวขอออก น.ส.3 เป็นชื่อจำเลยและพี่น้อง ไม่ทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครองในที่นาแปลงพิพาทในส่วนของโจทก์ทั้งสี่ เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นฟ้องจำเลยยังไม่ถึง 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยไม่ยินยอมแบ่งที่นาแปลงพิพาทให้ โดยอ้างว่าที่นาดังกล่าวเป็นของจำเลยและพี่น้องของจำเลย โจทก์จึงไม่หมดสิทธิที่จะฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการรังวัดที่ดินโดยไม่สมเหตุผล ถือเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของที่ดิน
โจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดแบ่งแยกโฉนด 4 ครั้งจำเลยซึ่งมีที่ดินติดต่อกับโจทก์ได้คัดค้านการรังวัดสามครั้งแรก โดยในครั้งแรกอ้างว่าโจทก์นำชี้เขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย และจำเลยจะรังวัดสอบเขตที่ดินของตนให้แน่นอนก่อนแล้วจะถอนคำคัดค้าน แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้ดำเนินการอย่างไร ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินยืนยันว่าเขตโฉนดที่ดินตามที่เจ้าพนักงานรังวัดตรงตามหลักฐานแผนที่ แสดงให้เห็นว่าคำคัดค้านของจำเลยไม่มีผลอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3207/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีรื้อรั้วและภารจำยอม ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินของจำเลยโฉนดที่32187 ในส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 32176เพื่อให้โจทก์สามารถใช้เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อรั้วในที่ดินโฉนดที่ 32187 โดยไม่ระบุเฉพาะในส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์โฉนดที่32176 เป็นเรื่องศาลพิพากษาเกินคำขอ มิใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 และเมื่อศาลพิพากษาเกินคำขอเช่นว่านี้จำเลยก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาในคดีเดิมจนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว จึงเป็นอันยุติ ศาลฎีกาไม่มีอำนาจที่จะแก้ไข
of 7