พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่สามารถโอนไปยังผู้รับช่วงสิทธิในสัญญาเช่าซื้อได้ เว้นแต่มีการโอนสิทธิโดยตรง
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัยโจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่โอนตามกรรมสิทธิ์รถ หากเกิดความเสียหายก่อนการโอนสิทธิ
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1 โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัย โจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2 เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้วจึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้นระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวันมิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลย 1 และ 10 ต้องรับผิดร่วมกันต่อความเสียหายจากการยิงพลาดทำให้นายชูศักดิ์เสียชีวิต แม้มีผู้อื่นยิงเช่นกัน
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลองแต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1 ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1 อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527) จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุ ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10 จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาด ไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1 ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่ นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืนยาวกว่า60ปีได้(นายชูศักดิ์อายุ 53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1 เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว ขณะนายชูศักดิ์ตายเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ 9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หา เป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการยิงพลาดของเจ้าพนักงาน และความร่วมรับผิดของหน่วยงานต้นสังกัด
ในคดีอาญาศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) วินิจฉัยว่าการที่ จำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายเป็นการกระทำในการจับกุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดในการยิงนายฉลอง แต่กระสุนปืนของ จำเลยที่ 1ในจำนวน 3 นัดที่ยิงนายฉลอง มี 2 นัด ที่พลาดไปถูกนายชูศักดิ์ตายเป็นการป้องกันเกินสมควรกว่าเหตุในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 54โดยจะวินิจฉัยเสียใหม่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ที่จำเลยที่ 1อ้างถึงการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ปรากฏตัวผู้บังคับบัญชาผู้ออกคำสั่งโดยแน่ชัดจำเลยที่ 1 จึง ไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์(วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2527)
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาดไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่
นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืน ยาวกว่า 60 ปีได้ (นายชูศักดิ์อายุ53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว
ขณะนายชูศักดิ์ตาย เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาเป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่ เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว
ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ 10จำเลยที่ 1 สกัดจับนายฉลองคนร้ายตามที่ได้รับ วิทยุแจ้งเหตุถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ของจำเลย ที่ 1 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำให้ โจทก์ทั้งสามเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในหน้าที่การงานซึ่งจำเลยที่ 10 จะต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 จำเลยที่ 10จะโต้เถียงอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับหาได้ไม่
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยิงนายฉลองคนร้ายกระสุนพลาดไปถูกนายชูศักดิ์ 2 นัด เป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่สามารถทำให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้ และเกิดจากการกระทำของ จำเลยที่ 1ก่อนบุคคลอื่น แม้จะมีบุคคลอื่นยิงนายชูศักดิ์อีกสองแผลอันเป็นบาดแผลฉกรรจ์และอาจทำให้ นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายได้เช่นเดียวกันเมื่อบุคคล ดังกล่าวมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยต่างคน ต่างทำจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุ ให้นายชูศักดิ์ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1จะอ้างว่า บุคคลอื่นมีส่วนทำละเมิดต่อนายชูศักดิ์มาเป็นเหตุลดหย่อนความรับผิดของตนหาได้ไม่
นายชูศักดิ์เป็นผู้มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวนอกจากนั้นการแพทย์และการอนามัยในปัจจุบันเจริญขึ้น มากจึงเป็นที่คาดหมายได้ว่านายชูศักดิ์อาจมีอายุยืน ยาวกว่า 60 ปีได้ (นายชูศักดิ์อายุ53 ปีขณะถึงแก่กรรมที่ศาลกำหนดให้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1เดือนละ 8,000 บาท มีกำหนด 10 ปี จึงเป็นการพอควรและเหมาะสม แล้ว
ขณะนายชูศักดิ์ตาย เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิบุตรนายชูศักดิ์ มีอายุ9 ปี 2 เดือน และ 5 ปี 10 เดือนตามลำดับเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าอายุจะบรรลุนิติภาวะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564กำหนดเวลาที่ เด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิได้รับชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแม้ เกิน 10 ปี ก็เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาเป็นการขัดกันกับกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ที่ 1 ได้รับ ชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะไม่ เมื่อเด็กชายรักษ์และเด็กชายภูมิเจริญเติบโตขึ้นก็จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงขึ้นและ ได้รับการเลี้ยงดูเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่ศาลคิด ถัวเฉลี่ยค่าขาดไร้อุปการะตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเป็น เงินคนละ 25,000 บาทต่อปีจึงเป็นการพอสมควรและเหมาะสมแก่ฐานะของนายชูศักดิ์ผู้ตายแล้ว
ในวันปลงศพหรือฌาปนกิจศพ นายชูศักดิ์มีการ พระราชทานเพลิงศพมารดาและฌาปนกิจศพเด็กหญิงทรายบุตรผู้ตายซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่ความสำคัญอยู่ที่การจัดการศพนายชูศักดิ์ ที่ศาลให้จำเลยที่ 1 รับผิดสองในสามของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพจึงเป็นการเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้อง หากภูมิลำเนาจำเลยไม่ถูกต้อง และไม่ต้องกำหนดเวลาฟ้องใหม่
โจทก์เสนอคำฟ้องแต่แรกโดยระบุภูมิลำเนาของจำเลยผิดพลาดเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงผิดไปว่าโจทก์มีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ แต่เมื่อความจริงเรื่องภูมิลำเนาของจำเลยปรากฏขึ้นว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลยเกิดขึ้นก่อนศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ ศาลชั้นต้นจึงมิใช่ศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้จึงผิดพลาด ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้นแล้วมีคำสั่งใหม่ได้ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับให้ศาลจำต้องกำหนดเวลาให้โจทก์ไปฟ้องเป็นคดีใหม่ในกรณีที่สั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่คำฟ้องต้องห้ามเรื่องเขตอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องได้หากพบภายหลังว่าไม่มีเขตอำนาจเหนือคดี
โจทก์เสนอคำฟ้องแต่แรกโดยระบุภูมิลำเนาของจำเลยผิดพลาดเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงผิดไปว่าโจทก์มีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ แต่เมื่อความจริงเรื่องภูมิลำเนาของจำเลยปรากฏขึ้นว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลยเกิดขึ้นก่อนศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ ศาลชั้นต้นจึงมิใช่ศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้จึงผิดพลาด ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้นแล้วมีคำสั่งใหม่ได้
ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับให้ศาลจำต้องกำหนดเวลาให้โจทก์ไปฟ้องเป็นคดีใหม่ในกรณีที่สั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่ คำฟ้องต้องห้ามเรื่องเขตอำนาจศาล
ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับให้ศาลจำต้องกำหนดเวลาให้โจทก์ไปฟ้องเป็นคดีใหม่ในกรณีที่สั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่ คำฟ้องต้องห้ามเรื่องเขตอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงและการบังคับคดี: ผู้มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการบังคับคดีเพื่อนำทรัพย์สินคืน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287,289 ในกรณี ที่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาบุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าหนี้ตามบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นๆ แม้มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจร้องขอให้บังคับเหนือ ทรัพย์สินนั้นหรือขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือ จำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ของตนก่อน เจ้าหนี้อื่นได้แต่การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไป ยึดเอารถยนต์ของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปคืนมาจาก ผู้ร้อง เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจะขอรับชำระหนี้ค่าซ่อมและ ค่าดูแลรักษารถในคดีนี้โดยอ้างว่าตนมีสิทธิยึดหน่วงหาได้ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงกับบังคับคดี: การตามทรัพย์สินคืนไม่ใช่การบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287, 289ในกรณี ที่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา บุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าหนี้ตามบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นๆแม้มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นหรือขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือ จำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ของตนก่อน เจ้าหนี้อื่นได้ แต่การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเอารถยนต์ของโจทก์ที่จำเลยที่ 1เช่าซื้อไปคืนมาจากผู้ร้อง เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจะขอรับชำระหนี้ค่าซ่อมและค่าดูแลรักษารถในคดีนี้โดยอ้างว่าตนมีสิทธิยึดหน่วงหาได้ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าหุ้นทดรองจ่ายจากตัวการตามกฎหมายตัวแทน อายุความ 10 ปี
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยจำเลยยอมชำระค่าหุ้น 30 เปอร์เซ็นต์แก่โจทก์ไปแล้ว ส่วนค่าหุ้น อีก 70 เปอร์เซ็นต์โจทก์ผู้เป็นตัวแทนจำต้องออก เงินทดรองจ่ายไป โจทก์จึงชอบที่จะเรียกเอาจากจำเลยผู้ เป็นตัวการได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 807,816 และกรณีนี้เป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึง ต้องใช้อายุความ10 ปี ตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าหุ้นทดรองจ่ายจากตัวการตามสัญญาตัวแทนและอายุความ 10 ปี
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยจำเลยยอมชำระค่าหุ้น 30 เปอร์เซ็นต์แก่โจทก์ไปแล้ว ส่วนค่าหุ้นอีก 70 เปอร์เซ็นต์ โจทก์ผู้เป็นตัวแทนจำต้องออกเงินทดรองจ่ายไป โจทก์จึงชอบที่จะเรียกเอาจากจำเลยผู้เป็นตัวการได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 807, 816 และกรณีนี้เป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามมาตรา 164