คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพจน์ นาถะพินธุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และรับสินบนเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหา
จำเลยบอกให้ ล. ลงลายมือชื่อแทน ท. ได้ ล. จึงปลอมลายมือชื่อ ท. ลงในคำร้องขอประกัน แล้วจำเลยร่วมกับ ล.ขอประกันตัว อ.ผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยใช้โฉนดที่ดินของท.เป็นหลักทรัพย์ เสนอต่อพันตำรวจตรี ช.จนพันตำรวจตรีช.อนุญาตให้ประกันตัว อ. ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำเอกสารปลอมกระทงหนึ่ง และฐานใช้เอกสารปลอมอีกกระทงหนึ่งและการที่จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนมีหน้าที่เสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกัน อ. ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าล. ปลอมลายมือชื่อ ท. ผู้ขอประกัน จำเลยก็ยังเสนอความเห็นว่าควรให้ประกัน อ. ทั้งจำเลยยังรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการให้ อ. ได้รับประกันตัวไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ มาตรา 201 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยพนักงานสอบสวนร่วมกันปลอมเอกสารขอประกันตัวผู้ต้องหา และรับสินบนเพื่อช่วยเหลือให้ได้รับการปล่อยตัว
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนมีหน้าที่เสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกัน อ. ทั้งๆ ที่รู้ว่าล. ปลอมลายมือชื่อ ท. ผู้ขอประกัน จำเลยก็ยังเสนอความเห็นว่าควรให้ประกัน อ. ดังนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยรับทรัพย์สินสำหรับตนเองเพื่อกระทำให้ อ. ได้รับประกันตัวไป ดังนี้เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 201ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างในการโยกย้ายลูกจ้าง: นายจ้างมีอำนาจโยกย้ายได้หากไม่มีข้อตกลงจำกัดสิทธิ
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างห้ามเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหรือหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพอันเป็นอำนาจของนายจ้างโดยเฉพาะได้และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโยกย้ายลูกจ้าง: นายจ้างมีอำนาจใช้ดุลพินิจโยกย้ายได้หากไม่ขัดต่อสัญญาจ้าง
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างห้ามเปลี่ยนแปลตำแหน่งหรือหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นอำนาจของนายจ้างโดยเฉพาะได้ และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโยกย้ายลูกจ้าง: นายจ้างมีอำนาจบริหารงานและเปลี่ยนแปลงตำแหน่งได้ หากไม่มีข้อตกลงห้าม
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างห้ามเปลี่ยนแปลตำแหน่งหรือหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นอำนาจของนายจ้างโดยเฉพาะได้ และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักชำระหนี้ตามสัญญา
จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคาร สัญญาข้อ 14 กำหนดว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างและลูกจ้างได้ตกลงหรือสัญญากันไว้ ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง...ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างได้ และให้ถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายไปนี้เป็นเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างได้รับไปจากผู้ว่าจ้างแล้ว..." ต่อมาจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยร่วม จำเลยร่วมมีหนังสือตอบไปยังผู้ร้องว่า "จำเลยร่วมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องในการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่ผู้ร้องแจ้งมา แต่ผู้ร้องจะได้เงินค่าจ้างเพียงเท่าที่จำเลยจะพึงได้รับจากจำเลยร่วมตามสัญญาจ้างดังกล่าวเท่านั้น" ย่อมเท่ากับว่าจำเลยร่วมได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตามสัญญาจ้างดังกล่าว รวมทั้งตามสัญญาข้อ 14 ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 308แล้ว สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่จำเลยมีอยู่ตามสัญญาจ้าง จำเลยร่วมย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามสัญญาจ้างที่ตนมีต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนได้ เมื่อจำเลยค้างจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง จำเลยร่วมย่อมใช้สิทธิตามสัญญาจ้างข้อ 14 หักเงินจำนวนดังกล่าวจากค่าจ้างที่จำเลยร่วมจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ร้องเพื่อนำไปจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินที่จำเลยร่วมได้ใช้สิทธิหักไว้นี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการหักชำระหนี้จากสัญญาจ้างเหมา
จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคาร สัญญาข้อ ๑๔ กำหนดว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างและลูกจ้างได้ตกลงหรือสัญญากันไว้ ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง...ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างได้ และให้ถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายไปนี้เป็นเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างได้รับไปจากผู้ว่าจ้างแล้ว..." ต่อมาจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยร่วม จำเลยร่วมมีหนังสือตอบไปยังผู้ร้องว่า "จำเลยร่วมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องในการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่ผู้ร้องแจ้งมา แต่ผู้ร้องจะได้เงินค่าจ้างเพียงเท่าที่จำเลยจะพึงได้รับจากจำเลยร่วมตามสัญญาจ้างดังกล่าวเท่านั้น" ย่อมเท่ากับว่าจำเลยร่วมได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตามสัญญาจ้างดังกล่าว รวมทั้งตามสัญญาข้อ ๑๔ ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๐๘แล้ว สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่จำเลยมีอยู่ตามสัญญาจ้าง จำเลยร่วมย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามสัญญาจ้างที่ตนมีต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนได้ เมื่อจำเลยค้างจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง จำเลยร่วมย่อมใช้สิทธิตามสัญญาจ้างข้อ ๑๔ หักเงินจำนวนดังกล่าวจากค่าจ้างที่จำเลยร่วมจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ร้องเพื่อนำไปจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินที่จำเลยร่วมได้ใช้สิทธิหักไว้นี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องคัดค้านหมายบังคับคดี ศาลพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วถือเป็นการไต่สวนเพียงพอ
จำเลยยื่นคำร้องว่ามิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี ศาลได้นัดคู่ความพร้อมกัน ในวันนัดศาลสอบข้อเท็จจริงจากทนายโจทก์และพิเคราะห์เหตุผลตามคำร้องของจำเลยแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ดังนี้ การที่ศาลขึ้นนั่งพิจารณาแล้วสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องเพิกถอนหมายบังคับคดี: การพิจารณาข้อเท็จจริงโดยศาลถือเป็นการไต่สวนแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องว่ามิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี ศาลได้นัดคู่ความพร้อมกัน ในวันนัดศาลสอบข้อเท็จจริงจากทนายโจทก์ และพิเคราะห์เหตุผลตามคำร้องของจำเลย แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องดังนี้ การที่ศาลขึ้นนั่งพิจารณาแล้วสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องเพิกถอนหมายบังคับคดี: การพิจารณาข้อเท็จจริงถือเป็นการไต่สวนแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องว่ามิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี ศาลได้นัดคู่ความพร้อมกัน ในวันนัดศาลสอบข้อเท็จจริงจากทนายโจทก์ และพิเคราะห์เหตุผลตามคำร้องของจำเลย แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องดังนี้ การที่ศาลขึ้นนั่งพิจารณาแล้วสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว.
of 110