คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพจน์ นาถะพินธุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงวันที่ล่วงหน้า: สิทธิผู้ทรงเช็คและการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทลงวันที่ล่วงหน้าแลกเงินสดจาก ย.โดย มิได้มีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น ย. ย่อมมีสิทธินำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคารเมื่อเช็ค ถึง กำหนด การที่ ย. นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดกับผู้เสียหายอีกทอดหนึ่ง ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับ ย. เมื่อผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคารและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยปิดก่อนหน้านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ส่วนการที่ผู้เสียหายรับแลกเช็คพิพาทเพราะเชื่อถือ ย. มิใช่เชื่อถือ จำเลยนั้น ไม่ทำให้ผู้เสียหายเสียสิทธิในฐานะ ผู้ทรงเช็ค และจะถือว่าผู้เสียหายใช้ สิทธิโดย ไม่สุจริตไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คพิพาทและสิทธิของผู้ทรงเช็คเมื่อเช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทลงวันที่ล่วงหน้าแลกเงินสดจาก ย.โดยมิได้มีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น ย.ย่อมมีสิทธินำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคารเมื่อเช็คถึงกำหนด การที่ ย.นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดกับผู้เสียหายอีกทอดหนึ่ง ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับ ย. เมื่อผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคารและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยปิดก่อนหน้านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ส่วนการที่ผู้เสียหายรับแลกเช็คพิพาทเพราะเชื่อถือ ย. มิใช่เชื่อถือจำเลยนั้น ไม่ทำให้ผู้เสียหายเสียสิทธิในฐานะผู้ทรงเช็ค และจะถือว่าผู้เสียหายใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค: การออกเช็คพิพาทและสิทธิของผู้ทรงเช็ค
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทลงวันที่ล่วงหน้าแลกเงินสดจาก ย.โดยมิได้มีข้อตกลงเป็นอย่างอื่นย. ย่อมมีสิทธินำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคาร เมื่อเช็คถึงกำหนด การที่ ย. นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดกับผู้เสียหายอีกทอดหนึ่ง ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับ ย. เมื่อผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคาร และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยปิดก่อนหน้านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ส่วนการที่ผู้เสียหายรับแลกเช็คพิพาทเพราะเชื่อถือ ย. มิใช่เชื่อถือจำเลยนั้น ไม่ทำให้ผู้เสียหายเสียสิทธิในฐานะผู้ทรงเช็ค และจะถือว่าผู้เสียหายใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ทรงเช็คเมื่อเช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ผู้รับเช็คมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้รับเช็คเดิม
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทลงวันที่ล่วงหน้าแลกเงินสดจาก ย.โดย มิได้มีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น ย. ย่อมมีสิทธินำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคารเมื่อเช็ค ถึง กำหนด การที่ ย. นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดกับผู้เสียหายอีกทอดหนึ่ง ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับ ย. เมื่อผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคารและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยปิดก่อนหน้านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๓ ส่วนการที่ผู้เสียหายรับแลกเช็คพิพาทเพราะเชื่อถือ ย. มิใช่เชื่อถือ จำเลยนั้น ไม่ทำให้ผู้เสียหายเสียสิทธิในฐานะ ผู้ทรงเช็ค และจะถือว่าผู้เสียหายใช้ สิทธิโดย ไม่สุจริตไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะไม้หวงห้ามตามกฎหมาย ทำให้จำเลยพ้นจากความผิดเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีไม้งิ้วอันยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 ซึ่งไม้งิ้วในท้องที่ที่จำเลยกระทำผิดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 แต่ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 และบัญญัติให้ไม้บางชนิดตามที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นไม้หวงห้าม ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมิได้กำหนดให้ไม้งิ้วเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ดังนั้นไม้งิ้วย่อมไม่เป็นไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 อีกต่อไป จำเลยจึงเป็นผู้พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของกฎหมายใหม่ต่อคดีเก่า: ไม้หวงห้าม ไม้งิ้ว ไม้หวงห้ามยกเลิก ทำให้จำเลยพ้นผิด
จำเลยมีไม้งิ้วอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกามีพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาฉบับเดิม และตามพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่นี้มิได้กำหนดให้ไม้งิ้วเป็นไม้หวงห้ามการกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน vs. ละเมิด: การพิจารณาจากคำบรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของโจทก์ ร่วมกันอาศัยอำนาจหน้าที่ของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ไม่ระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ และระบุว่ากรณีจำเลยทั้งสามฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวทำให้ข้าวเปลือกที่โจทก์รับฝากไว้ในคลังสินค้าขาดหายไป ดังนี้คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญยาจ้างแรงงานอันมีอายุความฟ้องร้อง 10ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นการฟ้องให้รับผิดฐานกระทำละเมิดตามมาตรา 420 อันมีอายุความฟ้องร้อง 1ปีตามมาตรา 448 วรรคแรกไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีข้าวเปลือกสูญหาย: โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยแม้ชาวนายังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
จำเลยทั้งสามเป็นพนักงานของโจทก์ ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่ระวังรักษาข้าวเปลือกที่โจทก์รับฝากจากชาวนา เป็นเหตุให้คนร้ายลักข้าวเปลือกนั้นไป เป็นผลโดยตรงให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องใช้เงินให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรผู้รับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนาไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าขณะที่ข้าวเปลือกหายไปยังเป็นกรรมสิทธิ์ของชาวนาอยู่หรือไม่และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้กับชาวนาแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินบำเหน็จ: เกณฑ์การรวมระยะเวลาทำงานนักเรียนอบรม, จำนวนวันทำงานรายวัน, และค่าครองชีพ
ตามข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างว่าด้วยกองทุนบำเหน็จกำหนดว่า 'พนักงาน' หมายถึง พนักงานประจำตามอัตรากำลังขององค์การทอผ้า และ 'อายุการทำงาน' หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจน ถึงวันพ้นตำแหน่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้บรรจุโจทก์เป็นนักเรียนอบรมโดยได้รับเบี้ยเลี้ยงในระหว่างเป็นนักเรียนอบรมตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม2512 และโจทก์ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำรายวันตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ดังนั้นโจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานตามข้อบังคับดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ก่อนหน้านี้โจทก์ยังมิได้เป็นพนักงานประจำของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธินำระยะเวลาระหว่างที่เป็นนักเรียนอบรมมารวมคำนวณเงินบำเหน็จได้
ในการคำนวณเงินบำเหน็จ ข้อบังคับของจำเลยมิได้กำหนดว่าค่าจ้างเดือนสุดท้ายของพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างกี่วัน เพียงแต่ให้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือน หรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีของอายุการทำงานเท่านั้น จึงต้องถือจำนวนค่าจ้างที่ได้รับจริง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำงานเดือนละ 23 วัน แม้ระเบียบใหม่ของจำเลยจะระบุให้คิดเดือนหนึ่ง 26 วัน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยออกใช้บังคับสำหรับพนักงานใหม่ที่ได้รับการบรรจุตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519 โดยเฉพาะโดยจำเลยมีสิทธิที่จะกำหนดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสำหรับพนักงานใหม่ได้หาใช่จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับโจทก์ไม่โจทก์จึงมีสิทธิคำนวณค่าจ้างรายวันโดยคิดได้เพียงจำนวน 23วันเป็นหนึ่งเดือนเท่านั้น
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์เดือนละ 400 บาท เป็นจำนวนแน่นอน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานเช่นเดียวกับค่าจ้างเมื่อข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ยกเว้นไว้โดยชัดแจ้งว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จให้โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างประจำ จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้าง
ในคดีเดิมที่จำเลยอนุญาตต่อศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า โจทก์แจ้งคุณสมบัติในใบสมัครงานเป็นเท็จทำให้จำเลยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของโจทก์ว่า โจทก์ลาออกจากงานที่เคยทำ ต่อมาจำเลยทราบว่าโจทก์ออกจากงานโดยถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และในคดีเดิมศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ได้กำหนดว่าให้เลิกจ้างตั้งแต่ เมื่อใด ทั้งการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวก็เพียงแต่พิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะให้เลิกจ้างโจทก์ ได้หรือไม่ เช่นนี้เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างโจทก์ได้แล้ว จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างโจทก์ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
of 110