พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ในคดีเดิมที่จำเลยขออนุญาตต่อศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าโจทก์แจ้งคุณสมบัติในใบสมัครงานเป็นเท็จทำให้จำเลยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของโจทก์ว่า โจทก์ลาออกจากงานที่เคยทำ ต่อมาจำเลยทราบว่าโจทก์ออกจากงานโดยถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และในคดีเดิมศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ได้กำหนดว่าให้เลิกจ้างตั้งแต่เมื่อใด ทั้งการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวก็เพียงแต่พิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะให้เลิกจ้างโจทก์ได้หรือไม่ เช่นนี้เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างโจทก์ได้แล้ว จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างโจทก์ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างกำหนดเงื่อนไขรางวัลพิเศษ: สิทธิลูกจ้างที่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว
นายจ้างมีอำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ในการจ่ายรางวัลพิเศษให้แก่ลูกจ้างเป็นอย่างไรก็ได้ จำเลยออกประกาศกำหนดการให้รางวัลพิเศษเพิ่มแก่พนักงานเพื่อตอบสนองในความร่วมมือของพนักงานที่ทำให้ประสบความสำเร็จ บริษัทฯ จึงเพิ่มรางวัลพิเศษให้แก่พนักงานเท่ากับ 0.8 เท่าของเงินเดือน โดยจะจ่ายให้ด้วยการโอนเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ของพนักงานในวันที่ 31 พฤษภาคม 2531มีความหมายว่า จำเลยจะจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่ผู้ที่ยังเป็นพนักงานของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยใช้ประกาศดังกล่าวเท่านั้นและประกาศนี้ไม่ได้กำหนดให้มีผลถึงพนักงานที่ออกจากงานไปก่อนแล้วหรือใช้บังคับย้อนหลังไปถึงปี 2530 แม้จำเลยจะพิจารณาจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มจากผลงานในรอบปี 2530 ก็ไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเกษียณอายุพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยไปก่อนที่จำเลยจะประกาศใช้ประกาศดังกล่าวมีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษเพิ่มจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างกำหนดเงื่อนไขรางวัลพิเศษ: สิทธิลูกจ้างเมื่อพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างก่อนประกาศ
นายจ้างมีอำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ในการจ่ายรางวัลพิเศษให้แก่ลูกจ้าง เป็นอย่างไรก็ได้ จำเลยออกประกาศกำหนดการให้รางวัลพิเศษเพิ่มแก่พนักงานว่าเพื่อตอบแทนในความร่วมมือของพนักงานที่ทำ ให้ประสบความสำเร็จ บริษัทฯ จึงเพิ่มรางวัลพิเศษให้แก่พนักงานเท่ากับ 0.8 เท่าของเงินเดือน โดยจะจ่ายให้ด้วยการโอนเข้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ของพนักงานในวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 มีความหมายว่า จำเลยจะจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่ผู้ที่ยังเป็นพนักงานของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยใช้ประกาศดังกล่าวเท่านั้น และประกาศนี้ไม่ได้กำหนดให้มีผลถึงพนักงานที่ออกจากงานไปก่อนแล้วหรือใช้บังคับย้อนหลังไปถึงปี 2530 แม้จำเลยจะพิจารณาจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มจากผลงานในรอบปี 2530 ก็ไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเกษียณอายุพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยไปก่อนที่จำเลยจะประกาศใช้ประกาศ ดังกล่าวมีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษเพิ่มจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหมิ่นประมาท: ผู้เสียหายคือผู้ถูกหมิ่นประมาทโดยตรง ไม่ใช่ผู้ที่เคารพนับถือ
กรณีที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทอิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนี นั้น บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย คือ อิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนีมิใช่โจทก์ แม้โจทก์จะเคารพหรือนับถือเทิดทูนอิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนี ก็เป็นความผูกพันทางจิตใจของโจทก์ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างบุคคล จะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายด้วยไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปทูตฝ่ายวัฒนธรรมของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ก็มีผลเพียงทำให้โจทก์เป็นตัวแทนของรัฐดังกล่าวไม่มีผลทำให้เป็นตัวแทนของอิมามอโยตลารูฮุลลาห์โคมัยนีเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้เสียหายและมิได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหมิ่นประมาท: ผู้เสียหายคือผู้ถูกหมิ่นประมาทโดยตรง ไม่ใช่ผู้เคารพนับถือ
กรณีที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี นั้น บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย คือ อิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี มิใช่โจทก์ แม้โจทก์จะเคารพหรือนับถือเทิดทูนอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี ก็เป็นความผูกพันทางจิตใจของโจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างบุคคล จะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายด้วยไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปทูตฝ่ายวัฒนธรรมของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ก็มีผลเพียงทำให้โจทก์เป็นตัวแทนของรัฐดังกล่าว ไม่มีผลทำให้เป็นตัวแทนของอิมาม อโยตลา รูฮุลลาห์ โคมัยนี เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้เสียหายและมิได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5864/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินทางวินัยกับการเลิกจ้าง: การพิจารณาโทษทางวินัยที่ได้รับการล้างมลทินแล้วและการลงโทษซ้ำ
เมื่อปี พ.ศ. 2527 โจทก์ถูกลงโทษด้วยการลดขั้นเงินเดือน1 ขั้น และถูกตักเตือนเป็นหนังสือ ได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 เฉพาะการถูกลดขั้นเงินเดือนซึ่งเป็นโทษทางวินัยที่ได้รับไปแล้วเท่านั้นส่วนการตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยมิได้ถือเป็นโทษ จึงไม่ได้รับการล้างมลทิน ต้องถือว่าการที่โจทก์เคยถูกตักเตือนเป็นหนังสือยังมีอยู่ การที่โจทก์มา กระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยอีกในปี พ.ศ. 2529 แต่ไม่ได้รับการล้างมลทินเพราะยังไม่ถูกลงโทษ เมื่อจำเลยพบการกระทำผิดหลังจากที่พระราชบัญญัติ ดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็นำเหตุดังกล่าวมาลงโทษให้โจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5864/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างหลังได้รับการล้างมลทินทางวินัย: ผลของการตักเตือนเป็นหนังสือที่มีอยู่เดิม
เมื่อปี พ.ศ.2527 โจทก์ถูกลงโทษด้วยการลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้นและถูกตักเตือนเป็นหนังสือ ได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ.2530 เฉพาะการถูกลดขั้นเงินเดือนซึ่งเป็นโทษทางวินัยที่ได้รับไปแล้วเท่านั้น ส่วนการตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยมิได้ถือเป็นโทษ จึงไม่ได้รับการล้างมลทิน ต้องถือว่าการที่โจทก์เคยถูกตักเตือนเป็นหนังสือยังมีอยู่ การที่โจทก์มากระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยคือในปี พ.ศ.2529 แต่ไม่ได้รับการล้างมลทินเพราะยังไม่ถูกลงโทษ เมื่อจำเลยพบการกระทำผิดหลังจากที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็นำเหตุดังกล่าวมาลงโทษให้โจทก์ออก จากงานตามข้อบังคับของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการสิ้นสุดความเป็นลูกจ้าง: การสั่งพักงานและคำสั่งเลิกจ้างมีผลเมื่อใด
โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกจำเลยตั้งกรรมการสอบสวน และจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ตามข้อบังคับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2530 เพื่อรอฟังผลการสอบสวน ต่อมาวันที่ 20 มกราคม 2531 จำเลยออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันแรกที่พักงาน ความเป็นลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในช่วงนับแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2530 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2531
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการสิ้นสุดความเป็นลูกจ้าง: การพักงานก่อนเลิกจ้างถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกจำเลยตั้งกรรมการสอบสวน และจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ตามข้อบังคับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2530 เพื่อรอฟังผลการสอบสวน ต่อมาวันที่20 มกราคม 2531 จำเลยออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันแรกที่พักงานความเป็นลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในช่วงนับแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2530 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2531
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิค่าจ้างระหว่างถูกเลิกจ้างเมื่อศาลสั่งให้กลับเข้าทำงาน
กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 กำหนดขั้นตอนให้ศาลแรงงานสั่งเพียงอย่างหนึ่งอย่างใด คือสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง หรือกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปตามเดิมแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือค่าเสียหายในระหว่างที่ถูกเลิกจ้าง