พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดซ้ำ และการรับฟังพยานหลักฐานสำเนาในคดีแรงงาน
แม้ตามข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยจะไม่ได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจลงโทษตักเตือนลูกจ้างไว้ แต่การออกใบเตือนโจทก์ทั้งสองฉบับก็มีผู้จัดการทั่วไปกับหัวหน้าแผนกอาหารและเครื่องดื่มผู้บังคับบัญชาโดยตรงของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อ แล้วเสนอใบเตือนให้กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยลงชื่อรับทราบเป็นทางปฎิบัติเช่นนี้ตลอดมา เมื่อเกิดเหตุคดีนี้ขึ้นผู้จัดการแผนกบุคคลได้เสนอผู้จัดการทั่วไปให้ปลดโจทก์ออกจากงานผู้จัดการทั่วไปได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน แล้วสำเนาคำสั่งแจ้งกรรมการผู้จัดการ กรรมการบริหาร กับหัวหน้าแผนกอาหารและเครื่องดื่มทราบทั้งได้ปิดประกาศแจ้งให้พนักงานทั่วไปทราบด้วยพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมอบอำนาจโดยปริยายให้ผู้จัดการทั่วไปมีอำนาจออกใบเตือนให้โจทก์ทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์กระทำผิดซ้ำในเรื่องเดียวกันกับเรื่องที่เคยถูกเตือนนั้นอีก โดยละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลาเลิกงาน จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นการกระทำผิดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ใบเตือนเป็นหนังสือของจำเลยผู้เป็นนายจ้างแจ้งให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทราบว่า โจทก์ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับและว่ากล่าวตักเตือนไม่ให้โจทก์กระทำผิดอีก ต้นฉบับใบเตือนจึงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยย่อมไม่สามารถนำต้นฉบับมาแสดงต่อศาลได้ ทั้งเมื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลเพื่อใช้ยันโจทก์ โจทก์ก็ไม่คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มีหรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 125 ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาพยานเอกสารแทนต้นฉบับได้ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าเมื่อลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาลงโทษตักเตือนเป็นหนังสือ ตัดค่าจ้าง ลดค่าจ้างพักงาน หรือเลิกจ้างตามควรแก่กรณี ไม่ใช่กำหนดขั้นตอนการลงโทษจำเลยจะลงโทษลูกจ้างสถานใดย่อมเป็นดุลพินิจของจำเลยตามที่สมควร ตามความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดของลูกจ้างโดยจำต้องลงโทษลูกจ้างเรียงตามลำดับโทษที่กำหนดไว้ การที่จำเลยลงโทษเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยหลายครั้ง จึงไม่ใช่ลงโทษข้ามขั้นตอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5452/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องเพิกถอนอายัดเงิน: ผู้ฟ้องคดีขณะคดีความยังไม่ถึงที่สุด ไม่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดี
ผู้ร้องซึ่งได้ฟ้องจำเลยต่อศาล และคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณา ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดเงินของจำเลยที่โจทก์ขออายัดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานค้ามนุษย์และพรากเด็ก การกระทำถือเป็นความผิดต่างฐานกัน
การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปขายให้แก่ จ.ซึ่งเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีเพื่อให้ผู้เสียหายค้าประเวณี ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดให้เกิดผลเป็นกรรมในความผิดฐานเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยใช้อุบายหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสาม ฐานหนึ่งแล้ว และขณะเดียวกันการที่จำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาของผู้เสียหาย จำเลยก็มีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากอำนาจปกครองของมารดา โดยปราศจากเหตุอันสมควร เพื่อการอนาจารตามมาตรา 317 วรรคสามอีกฐานหนึ่งต่างหากจากความผิดตามมาตรา 283 วรรคสาม มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 กับพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 มาตรา 8 จำเลยกระทำเพียงครั้งเดียวและเกิดผลเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานค้าประเวณีและพรากเด็ก: การกระทำเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรม
การที่จำเลยหาผู้เสียหายไปขายให้แก่ จ. ซึ่งเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีเพื่อให้ผู้เสียหายค้าประเวณี ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดให้เกิดผลเป็นกรรมในความผิดฐานเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยใช้อุบายหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสาม ฐานหนึ่งแล้ว และขณะเดียวกันการที่จำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาของผู้เสียหาย จำเลยก็มีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากอำนาจ ปกครองของมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร เพื่อการอนาจารตามมาตรา 317 วรรคสามอีกฐานหนึ่งต่างหากจากความผิดตามมาตรา 283 วรรคสาม มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 กับพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 8 จำเลยกระทำเพียงครั้งเดียวและเกิดผลเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 กับพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 8 จำเลยกระทำเพียงครั้งเดียวและเกิดผลเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5359/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ผิดพลาดเรื่องการคำนวณค่าชดเชยและดอกเบี้ย
การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสับกันไปโดยนำค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์รายหนึ่ง ไปคำนวณเป็นค่าชดเชยของโจทก์อีกรายหนึ่งเป็นกรณีที่คำพิพากษาศาลแรงงานกลางผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และสำหรับโจทก์ที่ 2 มิได้ขอให้จ่ายดอกเบี้ยมาด้วย ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ที่ 2 จึงเป็นการพิพากษาเกินไปจากคำขอของโจทก์เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องในข้อนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5312/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าทำให้ไม่อาจสืบพยานได้ ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลล่าง
ผู้ร้องอ้างว่ามิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน เพราะทนายผู้ร้องไม่ได้อ่านหมายนัดสืบพยานโจทก์โดยเข้าใจว่าเป็นหมายนัดชี้สองสถานนั้น เป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลไม่อาจรับฟังได้ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะรับบัญชีระบุพยานของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 และผู้ร้องไม่อาจนำพยานหลักฐานหรือตนเองเข้าสืบได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 87
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมแปลงเป็นสินสมรส: การซื้อที่ดินด้วยเงินจากการขายสินเดิม และการสร้างสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะแต่งงานกับ ส.บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ได้ยกบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 หนึ่งแปลง บ้านและที่ดินนั้นจึงเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 เมื่อแต่งงานกันแล้วได้มาอยู่กินที่บ้านหลังนี้จนมีบุตร 3 คน ก็ขายบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์นำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือและปลูกบ้านอยู่ ต่อมาได้ขายที่ดินและบ้านที่ถนนสาธรเหนือนำเงินส่วนหนึ่งไปรับซื้อฝากที่ดินแปลงพิพาท และผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการได้มาโดยขายสินเดิมไปและนำเงินที่ขายได้มาซื้อที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเอามาแทนสินเดิมที่ขายไป แม้ก่อนจะนำเงินมารับซื้อฝากที่พิพาท จำเลยที่ 1 ได้นำเงินทีได้จากการขายสินเดิมไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือไว้ชั้นหนึ่งก่อน ก็ไม่ทำให้ผลในทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เพราะที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือก็ถือว่าเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 นั้นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 ก่อนทำการแก้ไข แต่อาคารโรงเรียนและตึกแถวจำเลยที่ 1 ออกเงินสร้างขึ้นบนที่ดินพิพาทหลังจากที่ดินดังกล่าวตกเป็นของจำเลยที่ 1 แล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินทีได้จากการขายที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือมาทำการก่อสร้างจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกทรัพย์สินระหว่างสินเดิม สินสมรส และการช่วงทรัพย์ในการแบ่งสินสมรส
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะแต่งงานกับ ส. บิดามารดาของจำเลยที่ 1ได้ยกบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 หนึ่งแปลง บ้านและที่ดินนั้น จึงเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 เมื่อแต่งงานกันแล้วได้มาอยู่กินที่บ้านหลังนี้จนมีบุตร 3 คน ก็ขายบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์นำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือและปลูกบ้านอยู่ ต่อมาได้ขายที่ดินและบ้านที่ถนนสาธรเหนือนำเงินส่วนหนึ่งไปรับซื้อฝากที่ดินแปลงพิพาท และผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการได้มาโดยขายสินเดิมไป และนำเงินที่ขายได้มาซื้อ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเอามาแทนสินเดิมที่ขายไป แม้ก่อนจะนำเงินมารับซื้อฝากที่พิพาทจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ได้จากการขายสินเดิมไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือไว้ชั้นหนึ่งก่อนก็ไม่ทำให้ผลในทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เพราะที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือก็ถือว่าเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 นั่นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 ก่อนทำการแก้ไข แต่อาคารโรงเรียนและตึกแถวจำเลยที่ 1 ออกเงินสร้างขึ้นบนที่ดินพิพาทหลังจากที่ที่ดินดังกล่าวตกเป็นของจำเลยที่ 1 แล้วและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือมาทำการก่อสร้าง จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5213/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความไม่ไว้วางใจและผลกระทบจากการนัดหยุดงาน ศาลไม่อุทธรณ์การรับฟังพยานหลักฐาน
คำวินิจฉัยของศาลแรรงานกลางที่ว่า คดียังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ถอดฝาครอบหลอดแก้ว หรือมีส่วนร่วมกับผู้อื่นถอดฝาครอบหลอดแก้ว หรือเป็นผู้ข่มขู่พนักงานที่ไม่ได้ร่วมนัดหยุดงานนั้น หมายความว่าไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะไม่ไว้วางใจผู้คัดค้าน ทั้งไม่เชื่อว่าผู้คัดค้านจะไม่สามารถทำงานร่วมกับลูกจ้างอื่น เป็นคำวินิจฉัยที่ตรงตามประเด็นแห่งคดีซึ่งกำหนดไว้ว่า มีเหตุที่ศาลจะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านหรือไม่แล้ว
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ตามพฤติการณ์ต่าง ๆ คดียังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ถอดฝาครอบหลอดแก้ว หรือมีส่วนร่วมกับผู้อื่นถอดฝาครอบหลอดแก้วดังกล่าว และการที่ผู้คัดค้านเข้าร่วมกับพวกนัดหยุดงานก็เป็นการนัดหยุดงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ผู้ร้องอุทธรณ์ว่าคดีมีประเด็นที่จะต้องพิเคราะห์เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้หรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวไม่จำต้องถึงขนาดที่ผู้ร้องสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาด ไทย ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานถึงเหตุและพฤติการณ์เกี่ยวกับการที่ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 94
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ตามพฤติการณ์ต่าง ๆ คดียังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ถอดฝาครอบหลอดแก้ว หรือมีส่วนร่วมกับผู้อื่นถอดฝาครอบหลอดแก้วดังกล่าว และการที่ผู้คัดค้านเข้าร่วมกับพวกนัดหยุดงานก็เป็นการนัดหยุดงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ผู้ร้องอุทธรณ์ว่าคดีมีประเด็นที่จะต้องพิเคราะห์เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้หรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวไม่จำต้องถึงขนาดที่ผู้ร้องสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาด ไทย ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานถึงเหตุและพฤติการณ์เกี่ยวกับการที่ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องคดีแรงงานหลังสืบพยาน และการคำนวณดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้อง โดยขอให้จำเลยจ่ายเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันของค่าจ้างที่เป็นค่านายหน้าจากการขายไปจนกว่าจะชำระเสร็จ อันเป็นกรณีที่โจทก์เรียกร้องเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 ซึ่งขณะยื่นฟ้องโจทก์ทราบถึงสิทธิในข้อนี้อยู่แล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี โจทก์ฟ้องเรียกค่านายหน้าจากการขายจากจำเลย จำเลยให้การว่าค่านายหน้าที่โจทก์เรียกมา 8,103.55 บาท นั้น จำเลยขอปฏิเสธความจริงจำเลยค้างชำระอยู่เพียง 2,722.29 บาท ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิเสธจำนวนค่านายหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว ที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่านายหน้าตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง เพราะจำเลยยังมิได้รับชำระราคาสินค้า จึงอยู่ในประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้