พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องคดีแรงงานหลังสืบพยาน และการคำนวณดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้อง โดยขอให้จำเลยจ่ายเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันของค่าจ้างที่เป็นค่านายหน้าจากการขายไปจนกว่าจะชำระเสร็จ อันเป็นกรณีที่โจทก์เรียกร้องเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 ซึ่งขณะยื่นฟ้องโจทก์ทราบถึงสิทธิในข้อนี้อยู่แล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี โจทก์ฟ้องเรียกค่านายหน้าจากการขายจากจำเลย จำเลยให้การว่าค่านายหน้าที่โจทก์เรียกมา 8,103.55 บาท นั้น จำเลยขอปฏิเสธความจริงจำเลยค้างชำระอยู่เพียง 2,722.29 บาท ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิเสธจำนวนค่านายหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว ที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่านายหน้าตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง เพราะจำเลยยังมิได้รับชำระราคาสินค้า จึงอยู่ในประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ขออนุญาตศาล การยอมรับค่าชดเชยถือเป็นการสละสิทธิ
นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ทราบว่าลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเป็นกรรมการลูกจ้าง จึงไม่ได้อนุญาตต่อศาลแรงงาน เมื่อนายจ้างดำเนินคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่มีคำสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหายลูกจ้างมายอมรับค่าเสียหายกับค่าชดเชยแล้วแถลงไม่ติดใจกล่าวหานายจ้างเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรม ไม่ติดใจตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ดังนี้ย่อมเป็นข้อแสดงโดยชัดแจ้งว่า ลูกจ้างยอมรับถึงความถูกต้องของการเลิกจ้างกันโดยชอบแล้ว โดยไม่จำต้องให้นายจ้างไปขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างต่อศาลแรงงานอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ขออนุญาตศาล การยอมรับค่าชดเชยถือเป็นการยอมรับการเลิกจ้างโดยชอบ
นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ทราบว่าลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเป็นกรรมการลูกจ้าง จึงไม่ได้ขออนุญาตต่อศาลแรงงาน เมื่อนายจ้างดำเนินคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่มีคำสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ลูกจ้างมายอมรับค่าเสียหายกับค่าชดเชยแล้วแถลงไม่ติดใจกล่าวหานายจ้างเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรม ไม่ติดใจตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ดังนี้ย่อมเป็นข้อแสดงโดยแจ้งชัดว่า ลูกจ้างยอมรับถึงความถูกต้องของการเลิกจ้างกันโดยชอบแล้ว โดยไม่จำต้องให้นายจ้างไปขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างต่อศาลแรงงานอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5169/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานโจทก์เมื่อไม่สามารถนำตัวมาศาลได้ แม้ศาลให้โอกาสหลายครั้ง
ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์ซึ่งไม่มาศาล ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่โจทก์ถึง 5 ครั้ง เพื่อให้ดำเนินการให้ได้บุคคลทั้งสามมาสืบ ซึ่งในแต่ละครั้ง ศาลชั้นต้นได้กำชับโจทก์ให้รีบเร่งดำเนินการเพื่อให้บุคคลทั้งสามมาศาลในวันนัด แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงวันนัด โจทก์นำบุคคลทั้งสามมาศาลไม่ได้เลย ทั้งไม่สามารถแสดงเหตุผลถึงการที่บุคคลดังกล่าวไม่มาศาลโดยแถลงเพียงว่ายังไม่ได้รับทราบผลของการส่งหมายบ้างยังส่งหมายให้ไม่ได้บ้างหรือบางคนย้ายไปอยู่ที่ต่างจังหวัด แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวมาสืบ ทั้งมิได้แถลงให้ศาลทราบว่าโจทก์ยังสามารถติดตามบุคคลดังกล่าวมาสืบได้หรือไม่ เมื่อใดจึงไม่มีเหตุผลที่ศาลชั้นต้นจะเลื่อนคดีให้แก่โจทก์ และศาลชั้นต้นสั่งงดสืบบุคคลทั้งสามชอบด้วยเหตุผลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5169/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานที่ไม่มาศาล: ศาลมีอำนาจเมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการติดตามพยาน แม้ศาลจะให้โอกาสแล้ว
ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์ซึ่งไม่มาศาล ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่โจทก์ถึง 5 ครั้ง เพื่อให้ดำเนินการให้ได้บุคคลทั้งสามมาสืบ ซึ่งในแต่ละครั้งศาลชั้นต้นได้กำชับโจทก์ให้รีบเร่งดำเนินการเพื่อให้บุคคลทั้งสามมาศาลในวันนัด แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงวันนัด โจทก์นำบุคคลทั้งสามมาศาลไม่ได้เลย ทั้งไม่สามารถแสดงเหตุผลถึงการที่บุคคลดังกล่าวไม่มาศาลโดยแถลงเพียงว่า ยังไม่ได้รับทราบผลของการส่งหมายบ้าง ยังส่งหมายให้ไม่ได้บ้าง หรือบางคนย้ายไปอยู่ที่ต่างจังหวัดแต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวมาสืบ ทั้งมิได้แถลงให้ศาลทราบว่าโจทก์ยังสามารถติดตามบุคคลดังกล่าวมาสืบได้หรือไม่ เมื่อใด จึงไม่มีเหตุผลที่ศาลชั้นต้นจะเลื่อนคดีให้แก่โจทก์ และศาลชั้นต้นสั่งงดสืบบุคคลทั้งสามชอบด้วยเหตุผลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินหวงห้าม: การครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่าหลังมีกฎหมายหวงห้าม และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ขณะใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอปากน้ำโพ อำเภอพยุหคีรี อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช 2479 ที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ภายในเขตนั้นเป็นที่รกร้างว่างเปล่าอยู่ จึงเป็นที่ดินหวงห้ามตามกฎหมายดังกล่าวและตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 10 ยังคงให้เป็นที่หวงห้ามต่อไป โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในภายหลังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หาก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินพิพาทที่จะใช้ยันต่อรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ไม่ ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ของโจทก์การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการกรมพัฒนาที่ดินซึ่งเป็นหน่วยราชการที่จะเข้าใช้ประโยชน์โดยได้รับอนุญาตจากกองทัพบกได้ใช้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถแทรกเตอร์ไถคันดินที่โจทก์ทำไว้ปรับระดับให้เสมอกันเพื่อปลูกสร้างสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นในที่ดินพิพาท จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินหวงห้าม: การครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่าหลังมีกฎหมายหวงห้าม และการกระทำที่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ขณะใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอปากน้ำโพ อำเภอพยุหคีรีอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์พุทธศักราช 2479 ที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ภายในเขตนั้นเป็นที่รกร้างว่างเปล่าอยู่ จึงเป็นที่ดินหวงห้ามตามกฎหมายดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 10ยังคงให้เป็นที่หวงห้ามต่อไป โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองที่ดินพิพาทในภายหลังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หาก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินพิพาทที่จะใช้ยันต่อรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ไม่ ที่ดิน พิพาทจึงไม่ใช่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการกรมพัฒนาที่ดินซึ่งเป็นหน่วยราชการที่จะเข้าใช้ประโยชน์โดยได้รับอนุญาตจากกองทัพบก ได้ใช้ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถแทรกเตอร์ไถคันดินที่โจทก์ทำไว้ปรับระดับให้เสมอกันเพื่อปลูกสร้างสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นในที่ดินพิพาท จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอนุญาตถอนฟ้องคดีแรงงานและการอุทธรณ์ดุลพินิจ
ในการพิจารณาคดีแรงงาน เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลแรงงานกลางต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสองมาใช้บังคับโดยนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ดังนั้น ศาลแรงงานกลางจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจจำเลยจะอุทธรณ์ดุลพินิจดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522มาตรา 54 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลแรงงานในการอนุญาตให้ถอนฟ้องหลังยื่นคำให้การแล้ว
ในการพิจารณาคดีแรงงานเมื่อโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลแรงงานกลางต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยในนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ดังนั้น ศาลแรงงานกลางจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีแรงงาน: จำเลยต้องให้การชัดเจนเพื่อสร้างประเด็นข้อพิพาท ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ได้
กรณีที่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อใดเป็นคุณแก่ตน ก็ต้องกล่าวข้อเท็จจริงเป็นข้อต่อสู้ไว้ให้ชัดแจ้งในคำให้การเพื่อให้คดีมีประเด็นข้อพิพาทไว้ คำให้การที่ว่า "โจทก์ฟ้องคดีไม่สุจริต ทั้งนี้ก่อนออกจากบริษัท จำเลยโดยความเมตตาโจทก์ ได้มอบเงิน 19,000 บาทให้โจทก์และผลประโยชน์อื่น ๆ แก่โจทก์ โดยจำเลยมิจำเป็นต้องให้โจทก์แต่ประการใด แต่ทั้งนี้เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม" เป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้สละสิทธิเรียกร้องเงินตามฟ้องของโจทก์หรือไม่