คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพจน์ นาถะพินธุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีแรงงาน: จำเลยต้องให้การชัดเจนเพื่อสร้างประเด็นข้อพิพาท ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ได้
กรณีที่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อใดเป็นคุณแก่ตน ก็ต้องกล่าวข้อเท็จจริงเป็นข้อต่อสู้ไว้ให้ชัดแจ้งในคำให้การเพื่อให้คดีมีประเด็นข้อพิพาทไว้ คำให้การที่ว่า "โจทก์ฟ้องคดีไม่สุจริต ทั้งนี้ก่อนออกจากบริษัท จำเลยโดยความเมตตาโจทก์ ได้มอบเงิน 19,000 บาทให้โจทก์และผลประโยชน์อื่น ๆ แก่โจทก์ โดยจำเลยมิจำเป็นต้องให้โจทก์แต่ประการใด แต่ทั้งนี้เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม" เป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้สละสิทธิเรียกร้องเงินตามฟ้องของโจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นสิทธิที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมาย สัญญาที่ขัดแย้งกับกฎหมายไม่มีผลบังคับ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างและเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ว่านายจ้างกับลูกจ้างยังมีความผูกพันเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่หรือไม่ก็ตาม นายจ้างลูกจ้างจะทำข้อตกลงหรือสัญญาใด ๆ ซึ่งมีผลทำให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หาได้ไม่ ดังนั้น สัญญาที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำกับจำเลยนายจ้างสละสิทธิหรือไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยซึ่งหมายถึงค่าจ้างเพิ่มที่โจทก์จะพึงเรียกได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศดังกล่าว ไม่มีผลใช้บังคับ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ไม่ใช่เป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงมีอำนาจที่จะสละสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด คู่ความยังโต้เถียงกันในเรื่องค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนและโจทก์บางคนมีสิทธิได้รับหรือไม่อยู่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นสิทธิลูกจ้าง สัญญาที่ขัดแย้งกับกฎหมายไม่มีผลบังคับ และการสละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าทำได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างและเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ว่านายจ้างกับลูกจ้างยังมีความผูกพันเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่หรือไม่ก็ตาม นายจ้างลูกจ้างจะทำข้อตกลงหรือสัญญาใด ๆ ซึ่งมีผลทำให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หาได้ไม่ ดังนั้น สัญญาที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำกับจำเลยนายจ้างสละสิทธิหรือไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลย ซึ่งหมายถึงค่าจ้างเพิ่มที่โจทก์จะพึงเรียกได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศดังกล่าวไม่มีผลใช้บังคับ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงมีอำนาจที่จะสละสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์จะได้รับค่าจ้างเพิ่มให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นจำนวนเท่าใด คู่ความยังโต้เถียงกันในเรื่องค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนและโจทก์บางคนมีสิทธิได้รับหรือไม่อยู่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011-5036/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและการสิทธิในการสืบพยานหลังพ้นกำหนด
เมื่อจำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลย่อมมีอำนาจสั่งและดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 แล้วจดแจ้งเรื่องที่กระทำหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งหลายนั้นคงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับเดียวกันได้
จำเลยมาศาลในขณะที่ศาลแรงงานกลางกำลังอ่านรายงานกระบวนพิจารณา ซึ่งศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ที่เหลือนั้นต่อไปและจดแจ้งว่าคดีเสร็จการพิจารณา ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยมาศาลเมื่อพ้นเวลาที่จำเลยจะนำพยานของตนเข้าสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสาม (1) จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างขั้นต่ำมีผลบังคับใช้ แม้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามปรับปรุงค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจ นายจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยหากผิดนัด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำพ.ศ. 2515 ก็ดี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2527 ก็ดี ต่างก็ได้ออกโดยอาศัยอำนาจประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 จึงมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายเมื่อจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นนายจ้างของโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว แม้จะมีมติของคณะรัฐมนตรีห้ามรัฐวิสาหกิจทำการปรับปรุงค่าจ้างของลูกจ้างเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ แต่ก็ปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวมีผลใช้บังคับภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ จำเลยจึงไม่อาจอ้างมติคณะรัฐมนตรีมาเป็นข้อยกเว้นบทกฎหมายได้ และถือว่าจำเลยผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง ต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4955/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามชิงทรัพย์: เจตนาในการลักทรัพย์และการกระทำที่เป็นความผิดสำเร็จ
จำเลยล็อกคอ ส.ในร้านอาหาร แล้วใช้มีดแทงผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารที่จะเข้าไปช่วย ส.จนได้รับอันตรายแก่กายและต้องถอยห่างออกไปหลังจากนั้นจำเลยใช้มีดจี้ที่คอ ส.พร้อมกับตะโกนต่อหน้าคนในร้านว่าที่ทำไปเพื่อต้องการเงิน 500 บาท แม้จำเลยจะมิได้เจาะจงว่าต้องการเงินจากผู้เสียหายแต่ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าต้องการให้ผู้เสียหายในฐานะเจ้าของร้านยื่นเงินให้ในทันใดนั้น เมื่อจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อนที่จะได้เงินจากผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4955/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์: การทำร้ายร่างกายเพื่อหวังเอาทรัพย์จากผู้อื่น
จำเลยล็อกคอ ส. ในร้านอาหาร แล้วใช้มีดแทงผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารที่จะเข้าไปช่วย ส. จนได้รับอันตรายแก่กายและต้องถอยห่างออกไป หลังจากนั้นจำเลยใช้มีดจี้ที่คอ ส.พร้อมกับตะโกนต่อหน้าคนในร้านว่าที่ทำไปเพื่อต้องการเงิน500 บาท แม้จำเลยจะมิได้เจาะจงว่าต้องการเงินจากผู้เสียหายแต่ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าต้องการให้ผู้เสียหายในฐานะเจ้าของร้านยื่นเงินให้ในทันใดนั้น เมื่อจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อนที่จะได้เงินจากผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของผู้ตายได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้จัดการมรดก
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของตาย มีฐานะทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายได้โดยไม่จำต้องให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน ค่าจ้างค้างจ่ายของผู้ตายเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 โจทก์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลของโจทก์ในวันสืบพยาน ไม่ถือเป็นการขาดนัดพิจารณา สิทธิขอพิจารณาใหม่จึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์ไม่มาศาลในวันสืบพยาน ศาลแรงงานกลางสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบและสั่งงดสืบพยานจำเลย พิพากษายกฟ้อง เช่นนี้มิใช่การพิจารณาโดยขาดนัดอันจะเป็นเหตุให้คู่ความร้องขอให้มีการพิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางฯพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลตามนัดสืบพยาน ไม่ถือเป็นการขาดนัดพิจารณา สิทธิขอพิจารณาใหม่จึงไม่เกิด
วันที่ 11 เมษายน 2531 อันเป็นวันนัดพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่งโจทก์จำเลยมาศาล ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วกำหนดนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 22 เมษายน 2531 เวลา 9 นาฬิกา วันเวลาดังกล่าวจึงเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ไม่ใช่วันนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน ศาลแรงงานกลางก็ไม่ได้มีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแต่มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานนำเข้าสืบ และสั่งงดสืบพยานจำเลยพิพากษายกฟ้องโจทก์กระบวนพิจารณาที่ศาลแรงงานกลางดำเนินคดีมาไม่ใช่เป็นการ ิพิจารณาเลยขาดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
of 110