พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงานและการจ่ายค่าจ้างวันหยุดตามประเพณี ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิเช่นลูกจ้างประจำ
ลูกจ้างเป็นโจทก์ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้รับกลับเข้าทำงานตามสภาพการจ้างเดิมต่อไป หากไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องร้องตามนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 121 คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรมไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้ลูกจ้างต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ได้ปฏิบัติงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดตามประเพณีปีละ 13 วัน เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำนับแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และสิทธิลูกจ้างชั่วคราวที่ทำงานเกิน 120 วัน ได้รับค่าจ้างวันหยุดตามประเพณี
ลูกจ้างเป็นโจทก์ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยกล่าวหาว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้รับกลับเข้าทำงานตามสภาพการจ้างเดิมต่อไป หากไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องร้องตามนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรมไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้ลูกจ้างต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่าง ใดก่อนที่จะดำเนินการในศาลแรงงาน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ได้ปฏิบัติงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดตามประเพณีปีละ 13 วัน เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำนับแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไป
โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ได้ปฏิบัติงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดตามประเพณีปีละ 13 วัน เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำนับแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4648/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตข้อผูกพันตามข้อตกลงสภาพการจ้าง: สมาชิกภาพสหภาพแรงงานและการมีส่วนร่วมในการเจรจา
โจทก์มิได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยทั้งโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนซึ่งเข้าร่วมในการเจรจากับจำเลยผู้เป็นนายจ้าง จนได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์อ้างมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ และไม่ปรากฎว่าลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสภาพแรงงานซึ่งยื่นข้อเรียกร้องมีลูกจ้างเป็นสมาชิกเกินกว่าสองในสามของลูกจ้างทั้งหมด ทั้งไม่มีพฤติการณ์อันใดที่แสดงว่า จำเลยมีเจตนาที่จะให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันจำเลยและลูกจ้างทุกคนของจำเลย โจทก์จึงหาได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4599/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัด: แม้ซื้อโดยสุจริตก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์ หากเป็นที่ศาสนสมบัติ การฟ้องขับไล่จึงไม่ชอบ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของวัดนก (ร้าง) อันเป็นที่ศาสนสมบัติแม้โจทก์จะซื้อมาโดยสุจริตก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ เพราะตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ที่วัดจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4598/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยผลของคำพิพากษา แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันต่อผู้รับโอนที่ดิน
โจทก์มีกรณีพิพาทกับ ป. ในที่ดินแปลงพิพาทแล้วตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมโอนที่ดินแปลงพิพาทให้ ป. และป.ยอมให้ที่ดินแปลงพิพาทรับภาระใช้เป็นที่สัญจรของโจทก์ ประชาชนและรถยนต์เข้าออกโรงภาพยนตร์ของโจทก์ศาลพิพากษาตามยอม ต่อมา ป. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยและจำเลยตั้งแผงขายสินค้าบนที่ดินแปลงพิพาท ทำให้ทางเข้าออกแคบโจทก์และประชาชนไม่ได้รับความสะดวก โจทก์ได้รับความเสียหายดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้จดทะเบียนสิทธิในภาระจำยอมดังกล่าวไว้ก็ตาม แต่โจทก์ก็อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิในภาระจำยอมตามคำพิพากษาได้ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินแปลงพิพาทจะกระทำการใดให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิในภาระจำยอมดังกล่าวหาได้ไม่จึงต้องรื้อถอนแผงขายสินค้าและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตั้งแผงขายสินค้าบนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิใช้เป็นทางสัญจร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรื้อถอนแผงสินค้านั้นไป จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินนั้น แม้จะมีการปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินดังกล่าวก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดกันเองและเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งคดีไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4569/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอาหารและค่ารถที่ไม่เป็นค่าจ้าง: ลักษณะความไม่แน่นอนและไม่ใช่การตอบแทนการทำงาน
ค่าอาหารและค่ารถที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างไม่มีความแน่นอนลูกจ้างคนใดมาทำงานก็ได้รับประทานอาหารและได้โดยสารรถวันใดไม่มาทำงานก็ไม่ได้รับประทานอาหารไม่ได้โดยสารรถ และนายจ้างก็มิได้ให้ค่าอาหารหรือค่าโดยสารรถเป็นตัวเงินแก่ลูกจ้างค่าอาหารและค่ารถจึงมิใช่เงินหรือสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานจึงมิใช่ค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4436/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ปล่อยตัวผู้ต้องหา ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้รับแจ้งความจาก ช. ว่ามีคนร้ายลักเรือและเครื่องยนต์ของผู้เสียหายไป แต่ไม่ยอมลงรับแจ้งความในประจำวันเป็นหลักฐานและเมื่อจับคนร้ายที่ลักทรัพย์ดังกล่าวแล้ว จำเลยกลับปล่อยตัวคนร้ายไปเสีย ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และยังเป็นการกระทำการในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยคนร้ายมิให้ต้องโทษตามมาตรา 200 วรรคแรก การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 157ซึ่งเป็นบทหนัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4435/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนผ่านการให้ความช่วยเหลือและสะดวกแก่ผู้กระทำผิด
พยานโจทก์ซึ่งให้จำเลยยืมอาวุธปืนที่ใช้ในการกระทำความผิดและถูกทางราชการตั้งกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องอาวุธปืนที่พยานเบิกไปใช้ประจำกายมิได้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีนี้ด้วย จึงรับฟังเป็นพยานได้ จำเลยมีเหตุขัดผลประโยชน์กับผู้ตาย จำเลยได้ขอยืมอาวุธปืนจากสิบตำรวจโทท. ไปให้คนร้ายใช้ยิงผู้ตาย และได้มอบรถยนต์ซึ่งจำเลยเคยใช้ประจำให้คนร้ายใช้เป็นยานพาหนะไปยิงผู้ตายและใช้เป็นยานพาหนะในการหลบหนีหลังจากฆ่าผู้ตายแล้ว ดังนี้เป็นการให้การช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่คนร้ายในการกระทำผิดก่อนกระทำความผิด และคนร้ายก็ได้ใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงผู้ตายโดยใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะในการกระทำผิด จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดงานโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงานในช่วงแจ้งล่วงหน้า แต่จ่ายค่าจ้างให้
เมื่อกรณีเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ นายจ้างได้แจ้งการปิดงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามกฎหมายแล้ว แม้นายจ้างไม่ยอมให้ลูกจ้างเข้าทำงานในช่วงเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงที่ประกาศแจ้งล่วงหน้า แต่ก็ได้จ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง ถือได้ว่าคงมีการทำงานอยู่จนถึงกำหนดวันเวลาที่แจ้งให้การปิดงานมีผล มิใช่เป็นการปิดงานนับแต่วันเวลาที่แจ้ง จึงเป็นการปิดงานโดยชอบด้วยกฎหมายลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างในระหว่างที่มีการปิดงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และการพิจารณาประเด็นข้อพิพาท
การเลิกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 และอาจเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาความคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็ได้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งไล่โจทก์ออกจากงานโดยโจทก์ไม่มีความผิดการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เป็นการละเมิดและเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงเป็นคดีที่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 หาใช่เป็นเรื่องตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มาก่อนก็ตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง