คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพจน์ นาถะพินธุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการขายสินค้าของลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิหักจากค่าจ้างได้ หากเป็นหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างและเป็นพนักงานขายของจำเลย ได้ขายสินค้าของจำเลยให้แก่ลูกค้า แล้วเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์จึงทำบันทึกตกลงให้จำเลยเรียกร้องเงินค่าสินค้าของลูกค้าดังกล่าวจากโจทก์โดยให้ถือว่าโจทก์ได้รับชำระเงินจากลูกค้ารายนี้แล้ว หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 จำเลยนำหนี้รายนี้มาหักจากค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าเสียหายจากหนี้ที่เกิดจากการทำงานของลูกจ้าง และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างและเป็นพนักงานขายของจำเลย ได้ขายสินค้าของจำเลยให้แก่ลูกค้าแล้วเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์จึงทำบันทึกตกลงให้จำเลยเรียกร้องเงินค่าสินค้าของลูกค้าดังกล่าวจากโจทก์ โดยให้ถือว่าโจทก์ได้รับชำระเงินจากลูกค้ารายนี้แล้ว หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 30 จำเลยนำหนี้รายนี้มาหักจากค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตงานรัฐวิสาหกิจและสิทธิเงินทดแทนกรณีนักกีฬาของรัฐวิสาหกิจเสียชีวิตขณะฝึกซ้อม
วัตถุประสงค์ของ รัฐวิสาหกิจ ที่ระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งเป็นเพียงการกำหนดประเภทของกิจการซึ่ง รัฐวิสาหกิจจะดำเนินการเท่านั้น งานของ รัฐวิสาหกิจ หาได้ จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะ เท่าที่ระบุไว้ดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนังพ.ศ. 2498 ไม่ได้กำหนดให้องค์การฟอกหนังมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกีฬาก็ตาม แต่ เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อ สัมพันธ์แล้ว การกีฬาจึงเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง การที่ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังแต่งตั้ง ผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฯ โดย ให้มีสิทธิฝึกซ้อม เมื่อใดก็ได้ ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานแก่องค์การฟอกหนังแล้ว เมื่อผู้ตายถึง แก่ความตายขณะฝึกซ้อมกีฬาเนื่องจากออกกำลังกาย เกินควร ย่อมเป็นกรณีผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่ง เป็นทายาทจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสาม กับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515แก้ไขโดย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน(ฉบับ ที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ค่าทดแทนตาม ข้อ 54 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ต้อง ไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินเดือนละหกพันบาทมีความหมายว่า กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึง แก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างนั้น นายจ้างต้อง จ่ายค่าทดแทนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน แต่ ต้อง ไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาท และไม่เกินเดือนละหกพันบาท มีกำหนดห้าปี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนดังกล่าวมีสภาพใช้ บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้อง รู้เอง แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างต้อง รับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตายจากการทำงาน: รัฐวิสาหกิจมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนแม้กิจการไม่เกี่ยวกับกีฬาโดยตรง
วัตถุประสงค์ของ รัฐวิสาหกิจซึ่งระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งนั้นเป็นเพียงการกำหนดประเภทของกิจการซึ่งรัฐวิสาหกิจจะดำเนินกิจการเท่านั้น งานของ รัฐวิสาหกิจมิได้จำกัดอยู่แต่ในเฉพาะขอบเขตที่ระบุเป็นวัตถุประสงค์ไว้ในกฎหมายจัดตั้ง แม้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนัง พ.ศ. 2498 มิได้กำหนดให้องค์การฟอกหนังมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกีฬาไว้ก็ตาม แต่กรณีที่ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อสัมพันธ์การกีฬาย่อมเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังได้แต่งตั้งให้ผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฟอกหนัง โดยให้มีสิทธิฝึกซ้อมวันเวลาใดก็ได้ในช่วงก่อนการแข่งขัน จึงเป็นกรณีที่ผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานให้แก่องค์การฟอกหนัง เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะฝึกซ้อมตามที่ได้รับอนุญาต และสาเหตุแห่งการตายเนื่องจากออกกำลังกายเกินควรต้องถือว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างทายาทของผู้ตายย่อมมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54วรรคสามที่กำหนดการจ่ายค่าทดแทนต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินกว่าเดือนละหกพันบาทนั้น มีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมายซึ่งศาลต้องรู้เอง แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างจากการฝึกซ้อมกีฬา แม้ไม่มีวัตถุประสงค์ในกฎหมายจัดตั้ง
วัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจที่ระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งเป็นเพียงการกำหนดประเภทของกิจการ ซึ่งรัฐวิสาหกิจจะดำเนินการเท่านั้น งานของรัฐวิสาหกิจหาได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะเท่าที่ระบุไว้ดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนัง พ.ศ. 2498 ไม่ได้กำหนดให้องค์การฟอกหนังมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกีฬาก็ตาม แต่เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อสัมพันธ์แล้ว การกีฬาจึงเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง การที่ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังแต่งตั้งผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฯ โดยให้มีสิทธิฝึกซ้อม เมื่อใดก็ได้ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานแก่องค์การฟอกหนังแล้ว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายขณะฝึกซ้อมกีฬาเนื่องจากออกกำลังกายเกินควร ย่อมเป็นกรณีผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสาม กับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 แก้ไขโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับ ที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ค่าทดแทนตามข้อ 54 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินเดือนละหกพันบาทมีความหมายว่า กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างนั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินเดือนละหกพันบาทมีกำหนดห้าปี
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนดังกล่าวมีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้องรู้เอง แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างต้องรับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างเสียชีวิตขณะฝึกซ้อมกีฬาที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้าง ถือเป็นการเสียชีวิตจากการทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย
ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อสัมพันธ์ การกีฬาย่อมเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังได้แต่งตั้งให้ผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฯ โดยให้มีสิทธิฝึกซ้อมวันเวลาใดก็ได้ในช่วงก่อนการแข่งขัน จึงเป็นกรณีที่ผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานให้แก่องค์การฟอกหนัง เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะฝึกซ้อมตามที่ได้รับอนุญาต และสาเหตุแห่งการตายเนื่องจากออกกำลังกาย เกินควร ต้องถือว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ทายาทของผู้ตายย่อมมีสิทธิได้รับเงินทดแทน.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54วรรคสาม กำหนดการจ่ายค่าทดแทนต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพัน บาทและไม่เกินกว่าเดือนละหกพัน บาทนั้น มีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ซึ่งศาลต้องรู้เอง แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ให้เช่าซื้อรถบรรทุกเมื่อร่วมประกอบการขนส่งและเกิดละเมิด
จำเลยเป็นเจ้าของรถบรรทุกคันเกิดเหตุและได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วย รถบรรทุกคันดังกล่าว แม้จำเลยจะให้ ว. เช่าซื้อ รถคันนั้นไป แต่ จำเลยก็ยังยื่นขอต่อ อายุทะเบียนรถ และหาได้ บอกเลิกการประกอบการขนส่งที่เป็นสิทธิเฉพาะตัว แก่ทางราชการไม่กลับยอมให้ ว. ขับรถคันเกิดเหตุไปประกอบการขนส่งในชื่อ จำเลยอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยและ ว. ร่วมกันประกอบการขนส่งส่วนบุคคลและ ว. เป็นตัวแทนของจำเลยในกิจการดังกล่าวเมื่อ ว. ขับรถไปกระทำละเมิดอันต้อง รับผิดชดใช้ให้โจทก์ภายในขอบอำนาจแห่งฐานะ ตัวแทน จำเลยซึ่ง เป็น ตัวการต้อง ร่วม รับผิดด้วย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 427820(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3480/2530).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งและตัวแทน กรณีเกิดละเมิดจากการขนส่ง
จำเลยเป็นเจ้าของรถบรรทุกคันเกิดเหตุและได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถบรรทุกคันดังกล่าว แม้จำเลยจะให้ ว. เช่าซื้อรถคันนั้นไป แต่จำเลยก็ยังยื่นขอต่ออายุทะเบียนรถและหาได้บอกเลิกการประกอบการขนส่งที่เป็นสิทธิเฉพาะตัว แก่ทางราชการไม่กลับยอมให้ ว. ขับรถคันเกิดเหตุไปประกอบการขนส่งในชื่อจำเลยอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยและ ว. ร่วมกันประกอบการขนส่งส่วนบุคคลและ ว. เป็นตัวแทนของจำเลยในกิจการดังกล่าวเมื่อ ว. ขับรถไปกระทำละเมิดอันต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ภายในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน จำเลยซึ่งเป็นตัวการต้องร่วมรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427, 820 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3480/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและตัวแทนในการขนส่ง: การร่วมกันกระทำละเมิดและฐานะตัวการ-ตัวแทน
จำเลยเป็นเจ้าของรถบรรทุกคันเกิดเหตุและได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถบรรทุกคันนั้น แม้จำเลยจะให้ ว. เช่าซื้อรถคันนั้นไป แต่จำเลยก็ยังยื่นขอต่ออายุทะเบียนรถ และหาได้บอกเลิกการประกอบการขนส่งที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวแก่ทางราชการไม่ กลับยอมให้ ว.ขับรถคันเกิดเหตุไปประกอบการขนส่งในชื่อจำเลยอีกต่อไปพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลย และ ว.ร่วมกันประกอบการขนส่งส่วนบุคคล และ ว.เป็นตัวแทนของจำเลยในกิจการดังกล่าว เมื่อว.ขับรถไปกระทำละเมิดอันต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ภายในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน จำเลยซึ่งเป็นตัวการต้องร่วมรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427,820

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การประมาทของทั้งสองฝ่าย และเหตุรอการลงโทษ
การที่ ส. ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนโจทก์ร่วมและ ร. ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส สาเหตุเนื่องจากบาดแผลซึ่งเกิดจากรถชนกัน ไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยหลบหนีโดยไม่ทำการช่วยเหลือหรือไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 78 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหรือผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามวรรคแรก
แม้จำเลยจะขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้รถซึ่งจำเลยขับชนกับรถที่ ส.ขับทำให้ส. ถึงแก่ความตาย โจทก์ร่วมกับพวกได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายแต่ปรากฏตามฟ้องว่าผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถโดยความประมาทด้วย และข้อเท็จจริงได้ความว่าสาเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นเพราะผู้ตายกลับรถกลางถนนในเขตชุมนุมชน ผู้ตายจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำผิดอยู่มาก กรณีมีเหตุอันควรปรานี รอการลงโทษให้แก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56.
of 110