พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การประมาทของผู้ตาย และเหตุรอการลงโทษ
การที่ ส. ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนโจทก์ร่วมและร. ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส สาเหตุเนื่องจากบาดแผลซึ่งเกิดจากรถชนกันไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยหลบหนีโดยไม่ทำการช่วยเหลือหรือไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหรือผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรก แม้จำเลยจะขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถที่ ส.ขับทำให้ ส. ถึงแก่ความตาย โจทก์ร่วมกับพวกได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กาย แต่ปรากฏตามฟ้องว่าผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถโดยความประมาทด้วย และสาเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นเพราะผู้ตายกลับรถกลางถนนในเขตชุมนุมชน ผู้ตายจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำผิดอยู่มากกรณีมีเหตุอันควรปรานี รอการลงโทษให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานแจ้งความ-แก้ไขข้อหา-ปลอมเอกสาร: จำเลยไม่มีอำนาจแก้ไขหนังสือมอบอำนาจผู้บังคับบัญชา
จำเลยได้นำหนังสือมอบอำนาจของผู้ช่วยหัวหน้าเขตซึ่งมีถึงสารวัตรใหญ่สถานีตำราจนครบาลขอให้ดำเนินคดีแก่ ม. ตามพระราชบัญญัติควรคุมทอาคารพ.ศ.2522มาตรา70ไปแจ้งคีวามและมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่พนักงานสอบสวนแล้ว จำเลยย่อมหมดหน้าที่ การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ม. และแก้ไขเอกสารดังกล่าวในภายหลังเป็นการกระทำนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจแก้ไขเอกสารราชการแจ้งข้อหา แม้ได้รับมอบอำนาจแจ้งความแล้ว การกระทำเข้าข่ายปลอมแปลงเอกสาร
จำเลยได้นำหนังสือมอบอำนาจของผู้ช่วยหัวหน้าเขตซึ่งมีถึงสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลขอให้ดำเนินคดีแก่ ม. ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 70 ไปแจ้งความและมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่พนักงานสอบสวนแล้ว จำเลยย่อมหมดหน้าที่การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ม. และแก้ไขเอกสารดังกล่าวในภายหลัง เป็นการกระทำนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อช่วยเหลือคดี แก้ไขเอกสารแจ้งความ ทำให้โทษเบาลง มีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ
จำเลยได้นำหนังสือมอบอำนาจของผู้ช่วยหัวหน้าเขตซึ่งมีถึงสารวัตรใหญ่สถานีตำราจนครบาลขอให้ดำเนินคดีแก่ ม. ตามพระราชบัญญัติควรคุมทอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 70 ไปแจ้งความและมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่พนักงานสอบสวนแล้ว จำเลยย่อมหมดหน้าที่ การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ม. และแก้ไขเอกสารดังกล่าวในภายหลังเป็นการกระทำนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานอิสระของคณะกรรมการอาคารชุด: ไม่อยู่ในบังคับประกาศคุ้มครองแรงงาน
เดิม จำเลยที่ 1 จ้างเหมาบริษัทเอกชนดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่นต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2526 จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 ซึ่ง เป็นคณะกรรมการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่น รับงานดังกล่าวมาดำเนินการเอง จำเลยที่ 1 เพียงแต่ ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น ส่วนการบริหารงานจำเลยที่ 2ถึง ที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารงานกรณีไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบห้าซึ่ง จำเลยที่ 2ถึง ที่ 61 จ้าง เข้ามาทำงานดังกล่าว และแม้กิจการของจำเลยที่ 1เป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจก็หาทำให้กิจการของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 กลายเป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไปด้วยไม่ การจ้างงานของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 จึงไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: คณะกรรมการอาคารชุดไม่ใช่ตัวแทนจำเลยที่ 1 แม้มีการสนับสนุนทางการเงิน
เดิมจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่น ต่อมาจำเลยที่ 1ได้อนุมัติให้คณะกรรมการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่นซึ่งมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 เป็นกรรมการไปดำเนินการและรับผิดชอบในการบริหารงานจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องเพียงแต่ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น จึงไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2ถึงที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการดังกล่าว การจ้างงานระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 กับโจทก์เพื่อทำงานรักษาความสะอาด และรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชน เป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานโดยคณะกรรมการอาคารชุด: ไม่อาจถือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ภายใต้ประกาศคุ้มครองแรงงาน
เดิมจำเลยที่ 1 จ้างเหมาบริษัทเอกชนดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2526 จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 ซึ่งเป็นคณะกรรมการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่นรับงานดังกล่าวมาดำเนินการเอง จำเลยที่ 1 เพียงแต่ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น ส่วนการบริหารงานจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารงาน กรณีไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบห้าซึ่งจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 จ้างเข้ามาทำงานดังกล่าว และแม้กิจการของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจก็หาทำให้กิจการของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 กลายเป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไปด้วยไม่ การจ้างงานของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 จึงไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การพิจารณาตัวการตัวแทน และการรับผิดชอบค่าจ้างเมื่อมีการมอบหมายงานให้คณะกรรมการ
เดิมจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่น ต่อมาได้อนุมัติให้คณะกรรมการการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่นซึ่งมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 เป็นกรรมการไปดำเนินการและรับผิดชอบในการบริหารงาน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้อง เพียงแต่ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น จึงไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งในคดีแรงงานและการวินิจฉัยความรับผิดจากหน้าที่การงาน ศาลฎีกาพิพากษากลับ
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงาน การที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าซ่อมรถยนต์ของลูกค้าให้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ปฏิบัติผิดต่อหน้าที่นั้น ย่อมเป็นกรณีที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงานเช่นเดียวกัน ถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์จำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งได้
การที่ศาลชั้นต้นยกเอาข้อเท็จจริงในส่วนที่ว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าในสภาพเรียบร้อยเพราะโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้ระมัดระวังเป็นเหตุให้ผูใต้บังคับบัญชาของโจทก์นำรถยนต์ไปใช้ส่วนตัวจนเกิดอุบัติเหตุเสียหายขึ้นวินิจฉัยนั้นปรากฏว่าจำเลยหาได้ถือเหตุดังกล่าวเรียกร้องให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ชอบเพราะไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่ศาลชั้นต้นยกเอาข้อเท็จจริงในส่วนที่ว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าในสภาพเรียบร้อยเพราะโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้ระมัดระวังเป็นเหตุให้ผูใต้บังคับบัญชาของโจทก์นำรถยนต์ไปใช้ส่วนตัวจนเกิดอุบัติเหตุเสียหายขึ้นวินิจฉัยนั้นปรากฏว่าจำเลยหาได้ถือเหตุดังกล่าวเรียกร้องให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ชอบเพราะไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1152/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากสัญญาจ้างแรงงาน และการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างถึงสัญญาของผู้เข้าทำงานที่จำเลยทำกับโจทก์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของจำเลย และรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งโจทก์ถือว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามสัญญาฉบับดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายเพราะปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเฉพาะมิใช่เรื่องละเมิด เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3ลักษณะ 6 มิได้กำหนดอายุความไว้ คดีโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยแจ้งชัดถึงข้ออ้างตามฟ้องโจทก์ที่อ้างว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินโดยตรงเพราะตำแหน่งหัวหน้ากองรักษาเงินที่จำเลยดำรงอยู่นั้นเป็นผู้รักษาเงินตามระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 4 จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า มีระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ 72 กำหนดส่วนงานของกองรักษาเงิน และระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 4 กำหนดหน้าที่ของผู้รักษาเงินซึ่งเป็นคนละส่วนกัน จำเลยเป็นหัวหน้ากองรักษาเงินจึงไม่ใช่ผู้รักษาเงินตามระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 4 นั้นอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนี้จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อศาลแรงงานกลางได้พิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยวินิจฉัยว่า จำเลยไม่อาจหยิบยกประเพณีหรือทางปฏิบัติมาเป็นข้อแก้ตัวจำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง หละหลวม มิได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร กับจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าผู้ช่วยของจำเลยทุจริต การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้าง จำเลยมิได้ทุจริตมิได้ประมาทหรือบกพร่องต่อหน้าที่ โจทก์ไม่มีระเบียบข้อบังคับคำสั่งให้จำเลยจดแจ้งจำนวนเงินนำเข้าออก จำเลยได้มอบหมายงานในหน้าที่ให้ผู้ช่วยของจำเลยไปแล้ว หากจำเลยต้องรับผิดก็รับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายอันเป็นไปตามสภาพการทำงานระหว่างจำเลยกับผู้ช่วยของจำเลยนั้น จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อันเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย