พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1152/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงาน และขอบเขตการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างถึงสัญญาของผู้เข้าทำงานที่จำเลยทำกับโจทก์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของจำเลย และรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งโจทก์ถือว่ามิได้ปฏิบัติงานเป็นไปตามสัญญาฉบับดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายเพราะปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องละเมิด เมื่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 6 มิได้กำหนดอายุความไว้ คดีโจทก์จึงมีอายุความ10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยแจ้งชัดถึงข้ออ้างตามฟ้องโจทก์ที่อ้างว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินโดยตรง เพราะตำแหน่งหัวหน้ากองรักษาเงินที่จำเลยดำรงอยู่นั้นเป็นผู้รักษาเงินตามระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 4 จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า มีระเบียบฯ ฉบับที่ 72 กำหนดส่วนงานของกองรักษาเงินและระเบียบฯฉบับที่ 4 กำหนดหน้าที่ของผู้รักษาเงินซึ่งเป็นคนละส่วนกันจำเลยเป็นหัวหน้ากองรักษาเงินจึงไม่ใช่ผู้รักษาเงินตามระเบียบฯ ฉบับที่ 4 นั้น อุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนี้จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลแรงงานกลางได้พิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่อาจหยิบยกประเพณีหรือทางปฏิบัติมาเป็นข้อแก้ตัวจำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง หละหลวมมิได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร กับจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าผู้ช่วยของจำเลยทุจริตการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้าง จำเลยมิได้ทุจริต มิได้ประมาทหรือบกพร่องต่อหน้าที่ โจทก์ไม่มีระเบียบ ข้อบังคับคำสั่งให้จำเลยจดแจ้งจำนวนเงินนำเข้าออกจำเลยได้มอบหมายงานในหน้าที่ให้ผู้ช่วยของจำเลยไปแล้วหากจำเลยต้องรับผิดก็รับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายอันเป็นไปตามสภาพการทำงานระหว่างจำเลยกับผู้ช่วยของจำเลยนั้นจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อันเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยแจ้งชัดถึงข้ออ้างตามฟ้องโจทก์ที่อ้างว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินโดยตรง เพราะตำแหน่งหัวหน้ากองรักษาเงินที่จำเลยดำรงอยู่นั้นเป็นผู้รักษาเงินตามระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 4 จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า มีระเบียบฯ ฉบับที่ 72 กำหนดส่วนงานของกองรักษาเงินและระเบียบฯฉบับที่ 4 กำหนดหน้าที่ของผู้รักษาเงินซึ่งเป็นคนละส่วนกันจำเลยเป็นหัวหน้ากองรักษาเงินจึงไม่ใช่ผู้รักษาเงินตามระเบียบฯ ฉบับที่ 4 นั้น อุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนี้จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลแรงงานกลางได้พิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่อาจหยิบยกประเพณีหรือทางปฏิบัติมาเป็นข้อแก้ตัวจำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง หละหลวมมิได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร กับจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าผู้ช่วยของจำเลยทุจริตการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้าง จำเลยมิได้ทุจริต มิได้ประมาทหรือบกพร่องต่อหน้าที่ โจทก์ไม่มีระเบียบ ข้อบังคับคำสั่งให้จำเลยจดแจ้งจำนวนเงินนำเข้าออกจำเลยได้มอบหมายงานในหน้าที่ให้ผู้ช่วยของจำเลยไปแล้วหากจำเลยต้องรับผิดก็รับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายอันเป็นไปตามสภาพการทำงานระหว่างจำเลยกับผู้ช่วยของจำเลยนั้นจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อันเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างกำหนดข้อบังคับทำงานเพิ่มเติม ต้องผูกพันตามข้อบังคับนั้น การเลิกจ้างเกินกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับถือไม่ชอบ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุไม่มีข้อความกล่าวถึงสิทธิของนายจ้างในการสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติและโทษของลูกจ้างซึ่งฝ่าฝืนไว้ ต่อมานายจ้างได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติได้ นายจ้างจึงกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับคำสั่งลงลายมือชื่อในบัญชีพนักงานทำงานล่วงเวลา และได้กำหนดโทษลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่งเป็นขั้น ๆ ไว้ในเอกสารดังกล่าว ถือว่าเป็นกรณีที่นายจ้างกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติมนายจ้างจึงต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับที่เพิ่มเติมนั้น นายจ้างจะลงโทษนอกเหนือจากข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางวินัยเกินข้อบังคับ: การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ทำงานล่วงเวลา
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุไม่มีข้อความกล่าวถึงสิทธิของนายจ้างในการสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติ และโทษของลูกจ้างซึ่งฝ่าฝืนไว้ ต่อมานายจ้างได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติได้ นายจ้างจึงกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับคำสั่งลงลายมือชื่อในบัญชีพนักงานทำงานล่วงเวลา และได้กำหนดโทษลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่งเป็นขั้น ๆ ไว้ในเอกสารดังกล่าวถือว่าเป็นกรณีที่ นายจ้าง กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติมนายจ้างจึงต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับที่เพิ่มเติมนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งทำงานล่วงเวลา และผลผูกพันตามข้อบังคับเพิ่มเติมของนายจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุไม่มีข้อความกล่าวถึงสิทธิของนายจ้างในการสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติ และโทษของลูกจ้างซึ่งฝ่าฝืนไว้ ต่อมานายจ้างได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติได้ นายจ้างจึงกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับคำสั่งลงลายมือชื่อในบัญชีพนักงานทำงานล่วงเวลา และได้กำหนดโทษลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่งเป็นขั้น ๆ ไว้ในเอกสารดังกล่าวถือว่าเป็นกรณีที่ นายจ้าง กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติมนายจ้างจึงต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับที่เพิ่มเติมนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกรรมการลูกจ้าง: การฟ้องแทนคณะกรรมการลูกจ้างต้องมีมอบอำนาจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในนามคณะกรรมการลูกจ้าง เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการลูกจ้างซึ่งมิใช่นิติบุคคลหาได้มอบอำนาจหรือแต่งตั้งให้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีไม่ ดังนี้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกรรมการลูกจ้าง: การฟ้องแทนคณะกรรมการโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย โดยทำงานที่โรงแรมโอเรียนเต็ลซึ่งเป็นของจำเลย โจทก์ทั้งสองได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบการโรงแรมโอเรียนเต็ลโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาวันที่ 10 กันยายน 2531 โจทก์กับกรรมการลูกจ้างอื่นราว 11 คน ซึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการลูกจ้างทั้งหมด ทำหนังสือถึงจำเลยขอให้จัดประชุมร่วมหารือระหว่างกรรมการลูกจ้างกับจำเลยตามกฎหมาย แต่จำเลยปฏิเสธที่จะจัดประชุม การกระทำของจำเลยมิชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธื พ.ศ. 2518 ทำให้โจทก์ทั้งสองในฐานะกรรมการลูกจ้างได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยจัดประชุมร่วมหารือกับคณะกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกรรมการลูกจ้าง: การฟ้องแทนคณะกรรมการโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย โดยทำงานที่โรงแรมโอเรียนเต็ลซึ่งเป็นของจำเลย โจทก์ทั้งสองได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบการโรงแรมโอเรียนเต็ลโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๓๑ โจทก์กับกรรมการลูกจ้างอื่นราว ๑๑ คน ซึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการลูกจ้างทั้งหมด ทำหนังสือถึงจำเลยขอให้จัดประชุมร่วมหารือระหว่างกรรมการลูกจ้างกับจำเลยตามกฎหมาย แต่จำเลยปฏิเสธที่จะจัดประชุม การกระทำของจำเลยมิชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธื พ.ศ. ๒๕๑๘ ทำให้โจทก์ทั้งสองในฐานะกรรมการลูกจ้างได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยจัดประชุมร่วมหารือกับคณะกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยุบสภาและการจำหน่ายคดีเลือกตั้งซ่อม เนื่องจากไม่มีประโยชน์ในการพิจารณาต่อ
ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นโมฆะและให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่ภายหลัังได้มี พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2531 และกำหนดให้หมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปจึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาไม่สามารถจะสั่งให้ได้ ส่วนที่ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของ ส. และ บ. นั้น เมื่อศาลชั้นต้นนัดผู้ร้องมาเพื่อสอบถามว่ายังติดใจที่จะให้ศาลมีคำสั่งดังกล่าวอยู่หรือไม่ ผู้ร้องก็ไม่มาศาลซึ่งถือได้ว่าไไม่ติดใจที่จะให้ศาลมีคำสั่งเช่นนั้นอีกดังนี้ คดีของผู้ร้องจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป ต้องจำหน่ายคดีจากสารบบความ.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยุบสภาฯ ทำให้ศาลฎีกาไม่สามารถสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า การเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะและให้เลือกตั้งใหม่ ระหว่างไต่สวนคำร้องได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปจึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาไม่สามารถสั่งให้ตามคำร้องได้ ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยุบสภาฯ ทำให้ศาลฎีกาจำหน่ายคดีคัดค้านการเลือกตั้งซ่อม
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า การเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะและให้เลือกตั้งใหม่ ระหว่างไต่สวนคำร้องได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปจึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาไม่สามารถสั่งให้ตามคำร้องได้ ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ.