พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4056/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยกับการส่งมอบสินค้า: กรณีผู้ผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าตามสเปคที่ตกลงกันได้
การที่โจทก์ไม่สามารถส่งมอบเครื่องทดสอบการอัดแน่นให้จำเลยตามสัญญาเพราะบริษัทผู้ผลิตไม่ได้ผลิตเครื่องตามขนาดที่ระบุไว้ในสัญญา แต่ขณะเดียวกันยังมีบริษัทอื่นผลิตเครื่องหมายทดสอบการอัดแน่นซึ่งมีรายละเอียดตามคำเชิญชวนของจำเลยกรณีเช่นนี้จะถือว่าโจทก์ไม่สามารถส่งมอบเครื่องทดสอบการอัดแน่นให้จำเลยเพราะเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นความผิดพลาดของโจทก์เองที่ยื่นคำเสนอขายเครื่องดังกล่าวโจทก์จำเลยโดยมิได้ตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าจะสามารถจัดหาเครื่องขนาดและชนิดตามที่ระบุไว้ในคำเสนอของโจทก์เองต่อจำเลยได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างอาจเกิดได้โดยปริยาย แม้ไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ หากลูกจ้างยอมรับโดยไม่มีการโต้แย้ง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นส่วนหนึ่งของของสัญญาจ้างแรงงานนั้นนอกจากจะเกิดขึ้นได้โดยการตกลงกันโดยชัดแจ้งจากการแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 13 แล้ว ยังอาจเกิดขึ้นได้โดยปริยายอีกด้วย เมื่อธนาคารนายจ้างออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินเดือนและการแต่งตั้งพนักงานใช้บังคับอยู่แล้วและภายหลังลูกจ้างผู้นั้นเข้ามาเป็นพนักงานก็ได้มีคำสั่งแก้ไขข้อบังคับนั้นในเวลาต่อมา โดยแก้บัญชีอัตราเงินเดือนให้มีขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นและแก้ไขให้ผู้จัดการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานไปดำรงตำแหน่งอื่นในระดับที่ต่ำกว่าเดิมได้ พนักงานทุกคนก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านและยอมรับเอาผลจากการแก้ไขข้อบังคับด้วยดีตลอดมา ทั้งสัญญาจ้างแรงงานก็เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ ข้อบังคับที่แก้ไขแล้วดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างผู้นั้นด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างโดยปริยาย การแก้ไขข้อบังคับบริษัท และผลผูกพันต่อลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นส่วนหนึ่งของของสัญญาจ้างแรงงานนั้นนอกจากจะเกิดขึ้นได้โดยการตกลงกันโดยชัดแจ้งจากการแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 แล้ว ยังอาจเกิดขึ้นได้โดยปริยายอีกด้วย เมื่อธนาคารนายจ้างออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินเดือนและการแต่งตั้งพนักงานใช้บังคับอยู่แล้วและภายหลังลูกจ้างผู้นั้นเข้ามาเป็นพนักงานก็ได้มีคำสั่งแก้ไขข้อบังคับนั้นในเวลาต่อมา โดยแก้บัญชีอัตราเงินเดือนให้มีขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นและแก้ไขให้ผู้จัดการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานไปดำรงตำแหน่งอื่นในระดับที่ต่ำกว่าเดิมได้ พนักงานทุกคนก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านและยอมรับเอาผลจากการแก้ไขข้อบังคับด้วยดีตลอดมา ทั้งสัญญาจ้างแรงงานก็เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ ข้อบังคับที่แก้ไขแล้วดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างผู้นั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีความรับผิดทางแพ่ง: การรู้ตัวผู้รับผิดและผลต่ออายุความ
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้จะต้องรับผิดทางแพ่งและทางวินัยรายงานว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 อยู่ในข่ายจะต้องรับผิดทางแพ่งและทางวินัย ผู้อำนวยการโจทก์ทำบันทึกลงวันที่ 22 ตุลาคม 2522 ขอความกระจ่างเพิ่มเติมอีก 5 ข้อ แต่ในที่สุดผู้อำนวยการโจทก์ก็ปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวน ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่22 ตุลาคม 2522 โจทก์นำคดีมาฟ้อง เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2524 พ้นกำหนด 1 ปีคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681-3682/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: คำขอค่าเสียหายในคดีอาญาขัดแย้งกับฟ้องคดีแรงงาน, การอุทธรณ์พยานหลักฐานต้องห้าม
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยในคดีก่อนว่า ได้ร่วมกับจำเลยอื่นยักยอกเงินรายอื่น ซึ่งเป็นเงินรายเดียวกับรายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ หาใช่เป็นเงินจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ คดีแพ่งอันเกี่ยวเนื่อง กับคดีอาญาที่จะต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ ศาลแรงงานกลางต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ว่า โจทก์นำสืบได้สมกับที่มีภาระการพิสูจน์หรือไม่ จากการนำสืบของโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใดที่จะพิสูจน์ได้สมตามประเด็นที่กล่าวอ้าง โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งมีผลเท่ากับขอให้ศาลฎีการับฟังว่า จำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติผิดต่อข้อบังคับ และมิได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ดังที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานร่วมกันยักยอกและฉ้อโกง กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายคือโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง และมีคำขอบังคับจำเลยที่ 3 ในคดีนี้โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาข้างต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681-3682/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการฟ้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยในคดีก่อนว่า ได้ร่วมกับจำเลยอื่นยักยอกเงินรายอื่น ซึ่งเป็นเงินรายเดียวกับรายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ หาใช่เป็นเงินจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ คดีแพ่งอันเกี่ยวเนื่อง กับคดีอาญาที่จะต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ ศาลแรงงานกลางต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ว่า โจทก์นำสืบได้สมกับที่มีภาระการพิสูจน์หรือไม่ จากการนำสืบของโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใดที่จะพิสูจน์ได้สมตามประเด็นที่กล่าวอ้าง โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งมีผลเท่ากับขอให้ศาลฎีการับฟังว่า จำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติผิดต่อข้อบังคับ และมิได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ดังที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54
ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานร่วมกันยักยอกและฉ้อโกง กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายคือโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง และมีคำขอบังคับจำเลยที่ 3 ในคดีนี้โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาข้างต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ ศาลแรงงานกลางต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ว่า โจทก์นำสืบได้สมกับที่มีภาระการพิสูจน์หรือไม่ จากการนำสืบของโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใดที่จะพิสูจน์ได้สมตามประเด็นที่กล่าวอ้าง โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งมีผลเท่ากับขอให้ศาลฎีการับฟังว่า จำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติผิดต่อข้อบังคับ และมิได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ดังที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54
ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานร่วมกันยักยอกและฉ้อโกง กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายคือโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง และมีคำขอบังคับจำเลยที่ 3 ในคดีนี้โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาข้างต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651-3654/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกสำนวนคดีแพ่งกับการพิจารณาคดีแรงงาน ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการอ้างพยานเอกสาร ไม่ผูกมัดผลคำพิพากษา
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้นำสำนวนคดีอื่นซึ่งได้อ้างเป็นพยานไว้แล้วมาผูกติดกับคดีนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า "นำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับคดีนี้" แต่คู่ความมิได้ยอมรับกันว่าให้ศาลพิพากษาคดีโดยถือตามผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าว คำร้องของโจทก์จึงมีความหมายเพียงว่า โจทก์ขออ้างถ้อยคำสำนวนตามที่ระบุในคำร้องในฐานะที่เป็นพยานเอกสารในคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานบุคคลของโจทก์จำเลยประกอบพยานเอกสารที่โจทก์อ้างแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยประสบการขาดทุน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่ายอุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำเลยมิได้ประสบการขาดทุนยังสามารถจ้าง โจทก์ทั้งสี่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดว่าศาลในส่วนแพ่งที่พิพากษาในคดีหลังจำต้องถือตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ได้พิพากษาไปก่อนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651-3654/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างสำนวนคดีอื่นเป็นพยาน: ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการอ้างพยานเอกสาร อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้นำสำนวนคดีอื่นซึ่งได้อ้างเป็นพยานไว้แล้วมาผูกติดกับคดีนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า "นำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับคดีนี้" แต่คู่ความมิได้ยอมรับกันว่าให้ศาลพิพากษาคดีโดยถือตามผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าว คำร้อง ของ โจทก์จึงมีความหมายเพียงว่า โจทก์ขออ้างถ้อยคำสำนวนตามที่ระบุในคำร้องในฐานะที่เป็นพยานเอกสารในคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานบุคคลของโจทก์จำเลยประกอบพยานเอกสารที่โจทก์อ้างแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยประสบการขาดทุน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่าย อุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำเลยมิได้ประสบการขาดทุน ยังสามารถจ้าง โจทก์ทั้งสี่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดว่า ศาลในส่วนแพ่งที่พิพากษาในคดีหลังจำต้องถือตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ได้พิพากษาไปก่อนแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651-3654/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างสำนวนคดีอื่นเป็นพยานเอกสาร มิใช่การผูกมัดผลคำพิพากษา อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายแรงงาน
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้นำสำนวนคดีอื่นซึ่งได้อ้างเป็นพยานไว้แล้วมาผูกติดกับคดีนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า "นำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับคดีนี้" แต่คู่ความมิได้ยอมรับกันว่าให้ศาลพิพากษาคดีโดยถือตามผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าว คำร้อง ของ โจทก์จึงมีความหมายเพียงว่า โจทก์ขออ้างถ้อยคำสำนวนตามที่ระบุในคำร้องในฐานะที่เป็นพยานเอกสารในคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานบุคคลของโจทก์จำเลยประกอบพยานเอกสารที่โจทก์อ้างแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยประสบการขาดทุน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่าย อุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำเลยมิได้ประสบการขาดทุน ยังสามารถจ้าง โจทก์ทั้งสี่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดว่า ศาลในส่วนแพ่งที่พิพากษาในคดีหลังจำต้องถือตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ได้พิพากษาไปก่อนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดร่วมกันของลูกจ้างต่อความเสียหายจากการทุจริต และสิทธิของโจทก์ในการหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์แล้วหลบหนีไป แม้มีเงินประกันตัวและประกันตำแหน่งของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ยึดครองอยู่ แต่การขอหักกลบลบหนี้เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่แสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 จำเลยอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในหนี้เต็มจำนวน ส่วนเงินประกันดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติในชั้นบังคับคดี.