พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันกับหน้าที่ตามหมายศาล: การส่งหมายชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยไม่อยู่ และการผิดสัญญาประกันจากการไม่ปฏิบัติตามนัด
ตามสัญญาประกันข้อ 5 มีข้อความว่า หากนายประกันย้าย ที่อยู่โดยมิได้แจ้งให้ศาลทราบ. นายประกันยินยอมให้ถือ ว่าที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันนั้นเป็น ภูมิลำเนาเฉพาะการตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ ว่านายประกันมิได้แจ้งให้ศาลทราบว่าย้ายที่อยู่ การที่ พนักงานเดินหมายปิดหมายนัด ณ ที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน ย่อมถือได้ว่าปิดหมายยังภูมิลำเนาของนายประกันแล้ว การปิดหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79มิได้กำหนดให้ตำรวจท้องที่เป็นพยานในการปิดหมาย ดังนั้นเมื่อพนักงานเดินหมายปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยไม่มีพยานยืนยัน ว่าได้ทำการปิดหมายที่บ้านนายประกันจริง ก็ถือว่าเป็น การส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย ในสัญญาประกันข้อ 2 กำหนดว่า ในระหว่างประกันนี้นายประกันหรือจำเลยจะปฏิบัติตามหมายนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นนายประกันยอมรับผิดชอบใช้เงินให้แก่ศาลจนครบ เมื่อนายประกันไม่ปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล คือไม่ส่งตัวจำเลยไปศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามนัด นายประกันจึงผิดสัญญาประกันแม้ศาลจะไม่ได้ส่งหมายนัดแจ้งวันเวลานัดให้จำเลยหรือทนายจำเลยไปฟังคำพิพากษาก่อนก็ตาม เพราะสัญญาประกันเป็นสัญญาที่นายประกันกระทำไว้ต่อศาล จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้เป็นผู้กระทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันและการส่งหมายนัด การปฏิบัติตามสัญญาประกัน และการถือที่อยู่ตามสัญญาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ
ตามสัญญาประกันข้อ 5 มีข้อความว่า หากนายประกันย้าย ที่อยู่โดยมิได้แจ้งให้ศาลทราบ. นายประกันยินยอมให้ถือ ว่าที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันนั้นเป็น ภูมิลำเนาเฉพาะการตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ ว่านายประกันมิได้แจ้งให้ศาลทราบว่าย้ายที่อยู่ การที่ พนักงานเดินหมายปิดหมายนัด ณ ที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน ย่อมถือได้ว่าปิดหมายยังภูมิลำเนาของนายประกันแล้ว
การปิดหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79มิได้กำหนดให้ตำรวจท้องที่เป็นพยานในการปิดหมาย ดังนั้นเมื่อพนักงานเดินหมายปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยไม่มีพยานยืนยัน ว่าได้ทำการปิดหมายที่บ้านนายประกันจริง ก็ถือว่าเป็น การส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย
ในสัญญาประกันข้อ 2 กำหนดว่า ในระหว่างประกันนี้ นายประกันหรือจำเลยจะปฏิบัติตามหมายนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นนายประกันยอมรับผิดชอบใช้เงินให้แก่ศาลจนครบ เมื่อนายประกันไม่ปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล คือไม่ส่งตัวจำเลยไปศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามนัด นายประกันจึงผิดสัญญาประกัน แม้ศาลจะไม่ได้ส่งหมายนัดแจ้งวันเวลานัดให้จำเลยหรือทนายจำเลยไปฟังคำพิพากษาก่อนก็ตาม เพราะสัญญาประกันเป็นสัญญาที่นายประกันกระทำไว้ต่อศาล จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้เป็นผู้กระทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลไม่
การปิดหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79มิได้กำหนดให้ตำรวจท้องที่เป็นพยานในการปิดหมาย ดังนั้นเมื่อพนักงานเดินหมายปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยไม่มีพยานยืนยัน ว่าได้ทำการปิดหมายที่บ้านนายประกันจริง ก็ถือว่าเป็น การส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย
ในสัญญาประกันข้อ 2 กำหนดว่า ในระหว่างประกันนี้ นายประกันหรือจำเลยจะปฏิบัติตามหมายนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นนายประกันยอมรับผิดชอบใช้เงินให้แก่ศาลจนครบ เมื่อนายประกันไม่ปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล คือไม่ส่งตัวจำเลยไปศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามนัด นายประกันจึงผิดสัญญาประกัน แม้ศาลจะไม่ได้ส่งหมายนัดแจ้งวันเวลานัดให้จำเลยหรือทนายจำเลยไปฟังคำพิพากษาก่อนก็ตาม เพราะสัญญาประกันเป็นสัญญาที่นายประกันกระทำไว้ต่อศาล จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้เป็นผู้กระทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อายุความดอกเบี้ย, สิทธิเรียกร้องหนี้, การต่ออายุสัญญา, สัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัด เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือในระหว่างที่สัญญายังดำเนินอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีและมีการผิดนัดแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก กำหนดเวลาที่จำเลยอ้างในการเริ่มนับอายุความ เป็นกำหนดเวลาใช้คืนเงินกู้ที่เบิกโดยบัญชีเดินสะพัด อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่เบิกเงินไปหาใช่อายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงโดยเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดไม่เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อหักทอนบัญชีให้จำนวนหนี้ลดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ หาขาดอายุความไม่ ข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีข้อความว่าให้สัญญาสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาต้องถือว่ามีการต่ออายุออกไปโดยปริยาย โจทก์ยังมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2176/2522) จำเลยเป็นหนี้โจทก์มานานหลายปี จำนวนหนี้และดอกเบี้ยสูงขึ้น เป็นลำดับ เมื่อโจทก์เรียกร้องให้ชำระหนี้ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ ขอชำระหนี้ แต่ขอลดเงินค่าดอกเบี้ย และว่ากิจการของจำเลยต้องเลิกโดยฉับพลัน ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะหนี้สินมากหากโจทก์ยอม ลดหย่อนหนี้ให้ก็จะไปกู้ยืมเงินจากพี่น้องมาชดใช้เท่ากับจำเลยไม่มีเงินพร้อมที่จะชำระหนี้เมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชำระหนี้เงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับผู้กู้ จนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ฉะนั้น จำเลยจะต้องรับผิดค่าดอกเบี้ยในต้นเงินที่ตนทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้า: การผลิตถุงเท้าเพื่อขาย แม้ทำสัญญาจ้างหรือซื้อขายกับราชการ ถือเป็นผู้ผลิตต้องเสียภาษี
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการตั้ง โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ รวมทั้งโรงงานทำถุงเท้า โรงงานทำรองเท้า และโรงงานทำสิ่งถักทอทุกชนิดจำหน่ายถุงเท้า รองเท้าและอื่นๆการขอจดทะเบียนการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์ก็ระบุว่าเป็นการขายของชนิด 1(ก) สินค้าและการค้าส่วนใหญ่เป็นจำพวกถุงเท้าและโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากรแสดงว่า โจทก์ประกอบการค้า ประเภท 1การขายของชนิด 1(ก) ผลิต ถุงเท้าจำหน่าย ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าว่า โจทก์ประกอบการค้าประเภท 4การรับจ้างทำของเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์ประกอบการค้าจัดส่งถุงเท้าให้กรมพลาธิการทหารบก โดยทำสัญญากับกองทัพบกเป็นสัญญาจ้างทำถุงเท้าบ้าง สัญญาซื้อขายถุงเท้าบ้าง และคุณลักษณะเฉพาะของถุงเท้า รูปแบบถุงเท้าตามที่กำหนดไว้ท้ายสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายถุงเท้าระหว่าง กองทัพบกกับห้างโจทก์ ก็ใช้คุณลักษณะเฉพาะแสดงว่า กองทัพบกมีวัตถุประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในถุงเท้าที่มีคุณภาพและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ถึง แม้จะระบุชื่อว่าเป็นสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายก็ไม่สำคัญ เห็นได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานทอถุงเท้าจำหน่ายและได้ จำหน่ายให้กองทัพบกโดยโจทก์ได้รับมูลค่าของถุงเท้าเป็นค่าตอบแทน โจทก์จึงเป็นผู้ทำให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ถุงเท้า ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต ตามมาตรา 77แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7ของรายรับในประเภท 1 การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับโดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่าผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับโดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่าผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้า: กิจการโรงงานทอถุงเท้าถือเป็นการผลิต ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการตั้ง โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ รวมทั้งโรงงานทำถุงเท้า โรงงานทำรองเท้า และโรงงานทำสิ่งถักทอทุกชนิดจำหน่ายถุงเท้า รองเท้าและอื่นๆ การขอจดทะเบียนการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์ก็ระบุว่าเป็นการขายของชนิด 1(ก) สินค้าและการค้า ส่วนใหญ่เป็นจำพวกถุงเท้าและโจทก์ได้ยื่น แบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 84แห่งประมวลรัษฎากรแสดงว่า โจทก์ประกอบการค้า ประเภท 1การขายของชนิด 1(ก) ผลิต ถุงเท้าจำหน่าย ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า ว่า โจทก์ประกอบการค้าประเภท 4การรับจ้างทำของเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์ประกอบการค้าจัดส่งถุงเท้าให้กรมพลาธิการทหารบก โดยทำสัญญากับกองทัพบกเป็นสัญญาจ้างทำถุงเท้าบ้าง สัญญาซื้อขายถุงเท้าบ้าง และคุณลักษณะเฉพาะของถุงเท้า รูปแบบถุงเท้าตามที่กำหนดไว้ ท้ายสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายถุงเท้าระหว่าง กองทัพบกกับห้างโจทก์ ก็ใช้คุณลักษณะเฉพาะแสดงว่า กองทัพบกมีวัตถุประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในถุงเท้าที่มี คุณภาพและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ถึง แม้จะระบุชื่อว่าเป็นสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายก็ไม่สำคัญเห็นได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานทอถุงเท้าจำหน่ายและได้ จำหน่ายให้กองทัพบก โดยโจทก์ได้รับมูลค่าของถุงเท้าเป็น ค่าตอบแทน โจทก์จึงเป็นผู้ทำให้ มีขึ้นซึ่งสินค้า ถุงเท้า ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต ตามมาตรา 77แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7ของรายรับในประเภท 1 การขายของ ชนิด 1(ก) ตาม บัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ โดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมา จึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่า ผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มี เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ โดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมา จึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่า ผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มี เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อายุความ, และความรับผิดของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัด เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ ในระหว่างที่สัญญายังดำเนินอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีและมีการผิดนัดแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก
กำหนดเวลาที่จำเลยอ้างในการเริ่มนับอายุความ เป็นกำหนดเวลาใช้คืนเงินกู้ที่เบิกโดยบัญชีเดินสะพัด อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่เบิกเงินไป หาใช่อายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงโดยเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดไม่ เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อหักทอนบัญชีให้จำนวนหนี้ลดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียดอกเบี้ยจากจำเลยได้ หาขาดอายุความไม่
ข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีข้อความว่าให้สัญญาสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อยังไม่มีการบอกเลิกสัญญา ต้องถือว่ามีการต่ออายุออกไปโดยปริยายโจทก์ยังมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2176/2522)
จำเลยเป็นหนี้โจทก์มานานหลายปี จำนวนหนี้และดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นลำดับ เมื่อโจทก์เรียบร้องให้ชำระหนี้ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ แต่ขอลดเงินค่าดอกเบี้ย และว่ากิจการของจำเลยต้องเลิกโดยฉับพลัน ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะหนี้สินมาก หากโจทก์ยอมลดหย่อนหนี้ให้ก็จะไปกู้ยืมเงินจากพี่น้องมาชดใช้ เท่ากับจำเลยไม่มีเงินพร้อมที่จะชำระหนี้เมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชำระหนี้เงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้รวมกันกับผู้กู้ จนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ฉะนั้นจำเลยจะต้องรับผิดค่าดอกเบี้ยในต้นเงินที่ตนทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย
กำหนดเวลาที่จำเลยอ้างในการเริ่มนับอายุความ เป็นกำหนดเวลาใช้คืนเงินกู้ที่เบิกโดยบัญชีเดินสะพัด อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่เบิกเงินไป หาใช่อายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงโดยเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดไม่ เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อหักทอนบัญชีให้จำนวนหนี้ลดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียดอกเบี้ยจากจำเลยได้ หาขาดอายุความไม่
ข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีข้อความว่าให้สัญญาสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อยังไม่มีการบอกเลิกสัญญา ต้องถือว่ามีการต่ออายุออกไปโดยปริยายโจทก์ยังมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2176/2522)
จำเลยเป็นหนี้โจทก์มานานหลายปี จำนวนหนี้และดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นลำดับ เมื่อโจทก์เรียบร้องให้ชำระหนี้ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ แต่ขอลดเงินค่าดอกเบี้ย และว่ากิจการของจำเลยต้องเลิกโดยฉับพลัน ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะหนี้สินมาก หากโจทก์ยอมลดหย่อนหนี้ให้ก็จะไปกู้ยืมเงินจากพี่น้องมาชดใช้ เท่ากับจำเลยไม่มีเงินพร้อมที่จะชำระหนี้เมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชำระหนี้เงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้รวมกันกับผู้กู้ จนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ฉะนั้นจำเลยจะต้องรับผิดค่าดอกเบี้ยในต้นเงินที่ตนทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยประมาทจากการจุดไฟเผาหญ้า – ปัญหาข้อเท็จจริงที่ห้ามฎีกา
ฎีกาของจำเลยที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นไปตามปกติธรรมดาของชาวสวนชาวไร่ทั่วไปซึ่งบุคคลในขณะจุดไฟเผาย่อมไม่คาดคิดถึงผลการกระทำของตนว่าเพลิงจะลุกลามไปจนน่าจะเป็นอันตรายแก่ทรัพย์ผู้อื่น จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามฟ้องเพราะเป็นการกระทำที่ไม่อาจคาดคิดว่าน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแต่เหตุที่เกิดเพลิงไม้ทรัพย์โจทก์ร่วมนี้เพราะจำเลยกระทำโดยประมาทนั้นการที่จะคาดคิดว่าการจุดไฟของจำเลยน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินผู้อื่นหรือไม่ เป็นความคิดเห็น เป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ข้างหน้าที่ยังไม่เกิด ขึ้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยประมาทจากเหตุไฟไหม้: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ห้ามฎีกา
ฎีกาของจำเลยที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นไปตามปกติธรรมดาของชาวสวนชาวไร่ทั่วไปซึ่งบุคคลในขณะจุดไฟเผาย่อมไม่คาดคิดถึงผลการกระทำของตนว่าเพลิงจะลุกลามไปจนน่าจะเป็นอันตรายแก่ทรัพย์ผู้อื่น จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามฟ้องเพราะเป็นการกระทำที่ไม่อาจคาดคิดว่าน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น แต่เหตุที่เกิดเพลิงไม้ทรัพย์โจทก์ร่วมนี้เพราะจำเลยกระทำโดยประมาทนั้น การที่จะคาดคิดว่าการจุดไฟของจำเลยน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินผู้อื่นหรือไม่ เป็นความคิดเห็น เป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ข้างหน้าที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินที่มีการระบุการชำระเงินครบถ้วน ถือเป็นหลักฐานสำคัญกว่าพยานบุคคลที่ขัดแย้ง
หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่า ผู้ขายยอมขายที่ดินแปลงดังกล่าว ให้แก่ผู้ซื้อพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นราคาเงิน 700,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระ และผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดิน รายนี้เสร็จแล้ว แสดงว่าโจทก์(ผู้ขาย) ยอมรับว่าจำเลย (ผู้ซื้อ) ได้ชำระเงินค่าที่ดินทั้งหมดให้โจทก์แล้ว ในวันทำสัญญา การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ในวันทำ หนังสือขายที่ดินดังกล่าว โจทก์ยังไม่ได้รับชำระเงิน ค่าที่ดินเพราะจำเลย ไม่มีเงิน จำเลยได้ตกลงกับ ส. เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อันแท้จริงว่าจะนำมาชำระให้ ส. ที่สำนักงานบริษัทของส. ภายใน 7 วันนั้น เป็น การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาขายที่พิพาทเป็นการต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ดังนั้นจึงต้อง ฟังตามหนังสือสัญญาขายที่ดินว่า โจทก์ ได้รับชำระราคาที่ดิน ที่ขายพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยเป็นเงิน 700,000 บาท ตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาดังกล่าว
เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่พิพาทและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว การซื้อขายย่อมเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินที่ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อในทันที เมื่อได้ทำสัญญากันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 การชำระราคาทรัพย์สินที่ขายเป็นเพียงข้อกำหนดของ สัญญาเท่านั้น หาใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ สัญญาซื้อขายไม่ สมบูรณ์ไม่
เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่พิพาทและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว การซื้อขายย่อมเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินที่ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อในทันที เมื่อได้ทำสัญญากันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 การชำระราคาทรัพย์สินที่ขายเป็นเพียงข้อกำหนดของ สัญญาเท่านั้น หาใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ สัญญาซื้อขายไม่ สมบูรณ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องเงินคืนจากสัญญาเดิม แม้เปลี่ยนเหตุผลอ้างอิง ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คดีแรกโจทก์ฟ้องเรียกเงินเดือนเดือนสุดท้าย เงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย และเงินบำเหน็จจากจำเลย อ้างว่าจำเลยไม่คืนเงิน ตามสิทธิให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกเงินจำนวนนี้คืน เพราะโจทก์ ตกลงยินยอมให้จำเลยหักเงิน จำนวนนี้ชำระหนี้ที่โจทก์เป็นหนี้เงินยืม จากจำเลยส่วนหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินจำนวนเดียวกันคืนอีกอ้างว่าเป็นลาภมิควรได้ จำเลยไม่มีสิทธิหักเงินไว้ชำระหนี้เพราะ ไม่มีหนี้ต่อกัน จึงต้องคืนแก่โจทก์ ประเด็นแห่งคดีก็เหมือนกับคดีแรกว่า โจทก์มีสิทธิ เรียกเงินจำนวนนี้คืนจากจำเลยได้หรือไม่ โดยจะนำเงินจำนวนนี้ไป หักหนี้ที่ ยืมจากจำเลยไปได้หรือไม่ เป็นการเรียกทรัพย์คืน โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ