คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พจน์ บุญเลี้ยง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้จำนองหลังการขายทอดตลาด: สิทธิและการปฏิบัติตามกำหนดเวลาตามกฎหมาย
ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 หาใช่ร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตามมาตรา 287 ไม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 289 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้องเสีย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 684/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3024/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธุรกิจเงินทุนและการประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ. ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 หมายความว่าเป็นการให้กู้ยืมเงินใน ระยะสั้นเป็นทางค้าปกติคือให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ไม่เกินหนึ่ง ปีนับแต่วันให้กู้ยืม จะมีหลักทรัพย์เป็นประกันโดยการจำนอง จำนำ หรือค้ำประกันด้วยบุคคลหรือไม่มีหลักประกันดังกล่าวเลยก็ได้ ส่วนกิจการเครดิตฟองซิเอร์นั้นหมายความว่า กิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปกติ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นการให้กู้ยืมเงินระยะสั้นแต่จำกัดว่าต้องมีหลักทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์มาจำนองเป็นประกันเงินกู้เท่านั้น จะเอาอสังหาริมทรัพย์มาจำนำหรือเอาบุคคลเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้นั้นไม่ได้ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมและจำเลยที่ 1 ยังนำที่ดินมาจำนองเป็นประกันเงินกู้อีกด้วยจึง เป็นการประกอบธุรกิจเงินทุนที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3024/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตธุรกิจเงินทุนและเครดิตฟองซิเอร์: การให้กู้ยืมเงินที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 4 หมายความว่าเป็นการให้กู้ยืมเงินใน ระยะสั้นเป็นทางค้าปกติ คือให้กู้ยืมเงินมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ไม่เกินหนึ่ง ปีนับแต่วันให้กู้ยืม จะมีหลักทรัพย์เป็นประกันโดยการจำนอง จำนำ หรือค้ำประกันด้วยบุคคลหรือไม่มีหลักประกันดังกล่าวเลยก็ได้ ส่วนกิจการเครดิตฟองซิเอร์นั้นหมายความว่า กิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปกติ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น แต่จำกัดว่าต้องมีหลักทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์มาจำนองเป็นประกันเงินกู้เท่านั้น จะเอาอสังหาริมทรัพย์มาจำนำหรือเอาบุคคลเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้นั้นไม่ได้ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่1 ยังนำที่ดินมาจำนองเป็นประกันเงินกู้อีกด้วย จึง เป็นการประกอบธุรกิจเงินทุนที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้จัดการมรดกในการให้เช่าทรัพย์มรดก และการฟ้องร้องผู้เช่าผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ผู้ให้เช่าในฐานะโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ พ.หาได้เช่าจากมูลนิธิพ. ไม่ทั้งโฉนดที่ดินซึ่ง ตึกพิพาทตั้งอยู่มีชื่อโจทก์เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ยังไม่ได้โอนให้แก่ มูลนิธิ พ.ตาม พินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดก ยังไม่เสร็จสิ้น โจทก์ยังมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัด หรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม เพื่อจัดการมรดกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า เมื่อผู้เช่าผิดสัญญา ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องผู้เช่าซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนได้ และผู้เช่าจะโต้แย้งว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า หาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะไม่ยอมออกจากตึกที่เช่า และส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคืนภายหลังครบกำหนดตามสัญญาแล้ว การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการให้เช่าทรัพย์มรดก แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่โอน
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ผู้ให้เช่าในฐานะโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ พ. หาได้เช่าจากมูลนิธิ พ. ไม่ทั้งโฉนดที่ดิน ซึ่งตึกพิพาทตั้งอยู่มีชื่อโจทก์เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ยังไม่ได้โอนให้แก่ มูลนิธิ พ. ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดก ยังไม่เสร็จสิ้น โจทก์ยังมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัด หรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม เพื่อจัดการมรดกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า เมื่อผู้เช่าผิดสัญญา ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องผู้เช่าซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนได้ และผู้เช่าจะโต้แย้งว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า หาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะไม่ยอมออกจากตึกที่เช่า และส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคืนภายหลังครบกำหนดตามสัญญาแล้ว การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2842/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกิจการยาสูบโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้ได้รับอนุญาตก่อนหน้า
โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างมูลละเมิด เนื่องมาจากโจทก์ได้รับอนุญาตจาก กรมสรรพสามิตให้ตั้งสถานีบ่มใบยา สร้างโรงบ่มใบยา ทำการบ่มใบยา เพาะปลูกต้นยาสูบซื้อและขายใบยาในท้องที่ ต่างๆจำเลยได้ดำเนินกิจการ อย่างเดียวกันโดยไม่ได้รับอนุญาตทับลงบนบางท้องที่ซึ่งโจทก์ได้รับอนุญาต แม้การ กระทำของจำเลยดังกล่าวคือการตั้งสถานีบ่มใบยาสร้างโรงบ่มใบยา ทำการบ่มใบยาเพาะปลูกต้นยาสูบจะต้องได้รับ อนุญาตก่อนดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติยาสูบพ.ศ. 2509แต่ กิจการดังกล่าวนี้มิได้มีลักษณะเป็น การผูกขาดซึ่งผู้ได้ รับอนุญาตแล้วจะทำได้แต่เพียงผู้เดียวกิจการผูกขาด ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มีชนิดเดียวเท่านั้น คือการ ประกอบ อุตสาหกรรมบุหรี่ซิกาแรตซึ่งเป็นการผูกขาดของรัฐการกระทำของจำเลย ตามที่โจทก์ฟ้องแม้จะไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพสามิต ก็ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์จำเลยคงมีความผิดตามพระราชบัญญัติ ยาสูบ ถือไม่ได้ว่ามี กฎหมายรับรองคุ้มครองสิทธิของโจทก์อันจะก่อให้เกิด มูลละเมิดตามกฎหมายโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ หมายเหตุ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2842/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกิจการยาสูบโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้ได้รับอนุญาตแล้ว เพราะไม่ใช่การผูกขาด
โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างมูลละเมิด เนื่องมาจากโจทก์ได้รับอนุญาตจาก กรมสรรพสามิตให้ตั้งสถานีบ่มใบยา สร้างโรงบ่มใบยา ทำการบ่มใบยา เพาะปลูกต้นยาสูบซื้อและขายใบยา ในท้องที่ต่าง ๆ จำเลยได้ดำเนินกิจการอย่างเดียวกัน โดยไม่ได้รับอนุญาตทับลงบนบางท้องที่ซึ่งโจทก์ได้รับอนุญาต แม้การ กระทำของจำเลยดังกล่าวคือการตั้งสถานีบ่มใบยา สร้างโรงบ่มใบยา ทำการบ่มใบยาเพาะปลูกต้นยาสูบจะต้องได้รับ อนุญาตก่อนดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 แต่กิจการดังกล่าวนี้มิได้มีลักษณะเป็นการผูกขาด ซึ่งผู้ได้รับอนุญาตแล้วจะทำได้แต่เพียงผู้เดียวกิจการผูกขาด ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มีชนิดเดียวเท่านั้น คือการประกอบอุตสาหกรรมบุหรี่ซิกาแรต ซึ่งเป็นการผูกขาดของรัฐการกระทำของจำเลย ตามที่โจทก์ฟ้องแม้จะไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพสามิต ก็ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์จำเลยคงมีความผิดตามพระราชบัญญัติ ยาสูบ ถือไม่ได้ว่ามี กฎหมายรับรองคุ้มครองสิทธิของโจทก์อันจะก่อให้เกิด มูลละเมิดตามกฎหมายโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
หมายเหตุ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนอาวุธปืนของผู้ร้องที่ถูกใช้ในความผิดของผู้อื่น ต้องแสดงว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจ
คำร้องบรรยายว่า อาวุธปืนของกลางเป็นของผู้ร้อง ขอให้ศาลสั่งคืน แต่ไม่บรรยายว่า ผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย แม้จะอ้างว่ามีผู้อื่นนำของกลางไปฝากไว้ที่บ้านจำเลย ก็ไม่อาจถือหรือแปลความหมายได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการที่จำเลยกระทำผิดจึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารและการบังคับชำระค่าจ้างเมื่อมีข้ออ้างเรื่องเวนคืนที่ดิน
จำเลยทำสัญญาซื้อที่ดินจัดสรรจาก ล. โดยวางเงินให้ ผู้ขายแล้วบางส่วนและได้ทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ให้ ปลูกสร้างอาคารตึกแถวสองชั้น 1 หลังบนที่ดินนั้น จำเลย ได้ชำระเงินค่าที่ดินให้ผู้ขายแล้วบางส่วนและชำระค่าจ้าง ปลูกสร้างอาคารให้โจทก์ในวันทำสัญญาส่วนหนึ่งส่วนที่ เหลือแบ่งชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินงวดหนึ่งและเมื่อโจทก์ปลูกสร้างอาคารเสร็จ และจำเลยรับมอบแล้วอีกงวดหนึ่ง ระหว่างก่อสร้างได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินประกาศใช้บังคับคลุมถึงที่ดินและ อาคารพิพาทแต่ข้อเท็จจริงยังไม่แน่นอนว่าที่ดินนั้นต้อง ถูกเวนคืนหรือไม่เพราะยังไม่ได้มีการสำรวจโดยเฉพาะเจาะจงและยังไม่มีข้อห้ามจำหน่ายจ่ายโอนโดยเด็ดขาดโดยให้มีการ โอนกรรมสิทธิ์ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์เสียก่อนดังนี้ที่ดินแปลงที่จำเลยซื้อและ จ้างเหมาโจทก์ปลูกสร้างอาคารยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขายจะขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายให้จำเลยได้ หาได้ตกเป็นการพ้นวิสัยที่จะโอนให้แก่กันไม่ จำเลยจึงจะยกข้ออ้างที่ว่าที่ดินและอาคารถูกเวนคืนจึงไม่ต้องชำระค่าจ้างเหมาแก่ โจทก์หาได้ไม่
ข้อสัญญาจ้างเหมาระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า ถ้าผู้ว่าจ้างผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารแก่ผู้รับจ้างไม่ว่า ในงวดใด ๆ ผู้รับจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ ในอาคารเป็นของผู้รับจ้างและยินยอมให้ผู้รับจ้างเข้ารับช่วงสิทธิการซื้อที่ดินแทนโดยมิคิดค่าตอบแทนและให้ผู้รับจ้างริบเงินค่าจ้างเหมาที่ได้ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ไว้แล้วทั้งหมดนั้นเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ชำระสินจ้างให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ประกอบด้วย มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมี อำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามสัญญาแล้วเสร็จและจำเลยรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้ว ไม่ชำระค่าจ้างเหมาแก่โจทก์และโจทก์บอกเลิก สัญญามาฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากอาคารที่ สร้างขึ้นนั้นโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของโจทก์ ตามข้อสัญญาและให้จำเลยส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ใน สภาพเรียบร้อยหากส่งไม่ได้ให้ใช้เงินแทนดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาลดเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ เป็นเงินแก่โจทก์เท่านั้นโดยให้ยกคำขออื่นเสียได้
หมายเหตุ วรรคสองหารือในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาสร้างอาคารบนที่ดินจัดสรร ที่ดินจะถูกเวนคืน เบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลลดเบี้ยปรับให้เหมาะสม
จำเลยทำสัญญาซื้อที่ดินจัดสรรจาก ล. โดยวางเงินให้ ผู้ขายแล้วบางส่วนและได้ทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ให้ ปลูกสร้างอาคารตึกแถวสองชั้น 1 หลังบนที่ดินนั้น จำเลย ได้ชำระเงินค่าที่ดินให้ผู้ขายแล้วบางส่วนและชำระค่าจ้าง ปลูกสร้างอาคารให้โจทก์ในวันทำสัญญาส่วนหนึ่งส่วนที่ เหลือแบ่งชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินงวดหนึ่งและเมื่อโจทก์ปลูกสร้างอาคารเสร็จ และจำเลยรับมอบแล้วอีก งวดหนึ่ง ระหว่างก่อสร้างได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินประกาศใช้บังคับคลุมถึงที่ดินและ อาคารพิพาทแต่ข้อเท็จจริงยังไม่แน่นอนว่าที่ดินนั้นต้อง ถูกเวนคืนหรือไม่เพราะยังไม่ได้มีการสำรวจโดยเฉพาะเจาะจงและยังไม่มีข้อห้ามจำหน่ายจ่ายโอนโดยเด็ดขาดโดยให้มีการ โอนกรรมสิทธิ์ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์เสียก่อนดังนี้ที่ดินแปลงที่จำเลยซื้อและ จ้างเหมาโจทก์ปลูกสร้างอาคารยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขายจะขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายให้จำเลยได้ หาได้ตกเป็นการ พ้นวิสัยที่จะโอนให้แก่กันไม่ จำเลยจึงจะยกข้ออ้างที่ ว่าที่ดินและอาคารถูกเวนคืนจึงไม่ต้องชำระค่าจ้างเหมาแก่ โจทก์หาได้ไม่ ข้อสัญญาจ้างเหมาระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า ถ้าผู้ว่าจ้าง ผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารแก่ผู้รับจ้างไม่ว่า ในงวดใด ๆผู้รับจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ ในอาคารเป็นของผู้รับจ้างและยินยอมให้ผู้รับจ้างเข้า รับช่วงสิทธิการซื้อที่ดินแทนโดยมิคิดค่าตอบแทนและให้ผู้รับจ้างริบเงินค่าจ้างเหมาที่ได้ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ไว้แล้วทั้งหมดนั้นเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ชำระสินจ้างให้ตรงตามเวลาที่กำหนด ไว้ ถือเป็นเบี้ยปรับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ประกอบด้วย มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมี อำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม มาตรา 383 เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างอาคารตามสัญญาแล้วเสร็จและจำเลยรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้วไม่ชำระค่าจ้างเหมาแก่โจทก์และโจทก์บอกเลิก สัญญามาฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากอาคารที่ สร้างขึ้นนั้นโดยถือว่ากรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของโจทก์ ตามข้อสัญญา และให้จำเลยส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ใน สภาพเรียบร้อย หากส่งไม่ได้ให้ใช้เงินแทนดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาลดเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ เป็นเงินแก่โจทก์เท่านั้นโดยให้ยกคำขออื่นเสียได้ หมายเหตุ วรรคสองหารือในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2528
of 25