คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พจน์ บุญเลี้ยง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณลดโทษทางอาญา: การลดมาตราส่วนโทษและเหตุบรรเทาโทษต้องถูกต้องตามกฎหมาย
ฎีกาที่ว่า ศาลอุทธรณ์คำนวณการลดโทษให้จำเลยไม่ถูกต้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าตามสัญญาเช่าที่จดทะเบียนเมื่อมีการขายทรัพย์สิน ผู้รับโอนต้องรับสิทธิและหน้าที่เดิม
ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดหรือร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 288 หากแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งเปิดกุญแจตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าไว้ ให้ผู้ร้องได้ใช้สิทธิตามปกติ เพราะมีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้จดทะเบียนสิทธิไว้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280(2) ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลคุ้มครองสิทธิของตนได้ตามกฎหมาย สัญญาเช่ามีว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าก็ดี หรือผู้ให้เช่า ขายทรัพย์สินก็ดี หรือผู้เช่าผิดสัญญาก็ดี ผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่า เมื่อการเช่าตึกแถวพิพาทได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนดเวลาเช่า 17 ปีเศษ แม้สัญญาเช่าจะมีข้อสัญญาว่าหากผู้ให้เช่าขายทรัพย์ที่เช่าก่อนครบกำหนดสัญญา ผู้เช่าต้องออกจากที่เช่า ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการขัดกับเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา แม้ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นเจ้าของเดิมขายทรัพย์สินที่เช่าไปแล้ว ผู้รับโอนทรัพย์ที่เช่าต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569เมื่อสัญญายังไม่ครบกำหนด ต้องถือว่าสัญญาเช่ายังมีผลบังคับอยู่โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3625/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยที่ 1 โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย โอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลยที่ 1 หากไม่สามารถทำได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหายซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อปรากฏว่า ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3625/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามกฎหมายล้มละลาย
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยที่ 1 โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย โอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลยที่ 1 หากไม่สามารถทำได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหายซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อปรากฏว่า ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ: คดีอาญาที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องแล้ว ห้ามฟ้องคดีเดิมอีก
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามมาครั้งหนึ่งแล้วอันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไปร้องทุกข์ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกห้องแถวของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันควบคุมตัวโจทก์ไว้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไป โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยทั้งสามในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตรา ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือข้อหาที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: แม้คำฟ้องต่างกัน หากมูลเหตุเดิม ศาลสั่งห้ามฟ้องซ้ำตามมาตรา 36
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามมาครั้งหนึ่งแล้วอันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไปร้องทุกข์ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกห้องแถวของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันควบคุมตัวโจทก์ไว้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไป โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยทั้งสามในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตราก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือข้อหาที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอปล่อยทรัพย์ที่ยึดจำกัดเฉพาะกรณีจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ผู้ร้องไม่มีสิทธิหากเป็นเจ้าของร่วม
การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ยึด หากจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ยึดร่วมกับ ผู้ร้อง ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ศาลชั้นต้นชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยให้งดสืบพยานของคู่ความแล้วพิพากษาให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาเพียงขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามลำดับไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดีหรือขอให้ปล่อย ทรัพย์ที่ยึด เป็น คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2 ข. ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินที่ยึดทั้งแปลง โดย อ้างว่าผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของรวมครึ่งหนึ่ง ผู้ร้อง ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์จากราคาที่ดินทั้ง แปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยทรัพย์ที่ยึด: เจ้าของร่วมไม่มีสิทธิขอปล่อยทรัพย์ตาม ม.288 ว.พ.พ.
การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ยึด หากจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ยึดร่วมกับผู้ร้อง ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
ศาลชั้นต้นชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยให้งดสืบพยานของคู่ความแล้วพิพากษาให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาเพียงขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามลำดับ ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดีหรือขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2 ข.
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินที่ยึดทั้งแปลง โดยอ้างว่าผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของรวมครึ่งหนึ่ง ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์จากราคาที่ดินทั้งแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจำนอง: การตีความสัญญาประกันหนี้ที่ยังมิได้เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงเจตนาของคู่สัญญาและหลักประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ขณะจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เฉพาะหนี้ตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ส่วนหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค ยังไม่เกิดขึ้น เพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งทำสัญญาขายลดเช็ค กับโจทก์ในภายหลัง อีกทั้งข้อความตามสัญญาต่อท้าย สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันมีข้อความว่า ประกันเงินที่ เบิกไปจากผู้รับจำนองเกินกว่ายอดเงินในบัญชีหรือเงินที่ เป็นหนี้อยู่ในเวลานี้หรือเป็นต่อไปในภายหน้า ย่อมมี ความหมายถึงหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยตรงหาใช่หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือหนี้อื่นที่ยังมิได้ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ และตามหนังสือสัญญาจำนองก็ ระบุถึงหนี้ที่รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือเวลาใดต่อไป ภายหน้า ก็หมายถึงกำหนดเวลา มิได้หมายถึงลักษณะของหนี้ ไม่มีข้อความที่ระบุให้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือ หนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดมีขึ้นภายหน้า การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้อง เสียในมูลหนี้นั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 การที่ตีความถึงเจตนา ให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสีย ในมูลหนี้จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นต้องฟัง ว่าสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อ ท้ายสัญญาจำนองที่ดินไม่ได้ ประกันถึงหนี้ที่เกิดจากสัญญาขายลดเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสัญญาจำนอง: การคุ้มครองหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง และหลักการตีความสัญญาที่เป็นคุณแก่ผู้เสีย
ขณะจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เฉพาะหนี้ตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ส่วนหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คยังไม่เกิดขึ้น เพราะจำเลยที่ 1เพิ่งทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ในภายหลัง อีกทั้งข้อความตามสัญญาต่อท้าย สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันมีข้อความว่าประกันเงินที่เบิกไปจากผู้รับจำนองเกินกว่ายอดเงินในบัญชีหรือเงินที่ เป็นหนี้อยู่ในเวลานี้หรือเป็นต่อไปในภายหน้า ย่อมมี ความหมายถึงหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยตรง หาใช่หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือหนี้อื่นที่ยังมิได้ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ และตามหนังสือสัญญาจำนองก็ระบุถึงหนี้ที่รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือเวลาใดต่อไป ภายหน้า ก็หมายถึงกำหนดเวลา มิได้หมายถึงลักษณะของหนี้ ไม่มีข้อความที่ระบุให้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือ หนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดมีขึ้นภายหน้า การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้นั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 การที่ตีความถึงเจตนา ให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นต้องฟัง ว่าสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินไม่ได้ ประกันถึงหนี้ที่เกิดจากสัญญาขายลดเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์
of 25