พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย: ศาลต้องพิจารณาจากเหตุผลที่จำเลยขอเลื่อนจริง และโจทก์ไม่ได้โต้แย้ง
วันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุพยานไม่มาศาล พร้อมกับแถลงว่าในนัดหน้าจะสืบพยานเท่าที่มาให้เสร็จในนัดเดียว ไม่ติดใจสืบพยานที่ไม่มาและจะไม่ขอเลื่อนคดีอีก ศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีไป ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยไม่มาศาล แต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุทนายจำเลยป่วยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง โดยไม่ได้อ้างว่าพยานจำเลยป่วย โจทก์คัดค้านเพียงว่าในนัดที่แล้วจำเลยแถลงว่าไม่ติดใจสืบพยานหากไม่มีพยานมาศาล ไม่ได้คัดค้านโดยตรงว่าทนายจำเลยไม่ป่วย หรือคำร้องของทนายจำเลยไม่เป็นความจริงจึงน่าเชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริง นับได้ว่ากรณีมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขาย: การตกลงกันใหม่เรื่องสถานที่ชำระเงินไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า การชำระเงินค่าที่ดินแต่ละงวด โจทก์จะต้องนำไปชำระที่บ้านของจำเลยทุกครั้ง ถ้าไม่ปฏิบัติตามถือว่าโจทก์ผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ทุกงวด งวดประจำเดือนกันยายน 2524 จำเลยไม่ไปเก็บเงินจากโจทก์ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ และได้ปฏิบัติกันตลอดมาเช่นนี้ แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอาข้อกำหนดเรื่องสถานที่ชำระเงินค่าที่ดินว่าจะต้องให้โจทก์นำไปชำระที่บ้านของจำเลยโดยเคร่งครัดดังที่ระบุไว้ในสัญญา ดังนั้นในข้อที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยไปเก็บเงินค่าที่ดินจากโจทก์นี้ โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงปฏิบัติต่อกันใหม่แตกต่างจากข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขาย และการนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อตกลงใหม่ที่แตกต่างจากสัญญาเดิม
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า การชำระเงินค่าที่ดินแต่ละงวด โจทก์จะต้องนำไปชำระที่บ้านของจำเลยทุกครั้ง ถ้า ไม่ปฏิบัติตามถือว่าโจทก์ผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ทุกงวด งวดประจำเดือนกันยายน2524 จำเลยไม่ไปเก็บเงินจากโจทก์ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ไปเก็บเงินจากโจทก์ และได้ปฏิบัติกันตลอดมาเช่นนี้แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอาข้อกำหนดเรื่องสถานที่ชำระเงินค่าที่ดินว่าจะต้องให้โจทก์นำไปชำระที่บ้านของจำเลยโดยเคร่งครัดดัง ที่ระบุไว้ในสัญญา ดังนั้นในข้อที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยไปเก็บเงินค่าที่ดินจากโจทก์นี้ โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงปฏิบัติต่อกันใหม่แตก ต่างจากข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้จัดการมรดกยังคงมีอยู่จนกว่าการจัดการมรดกจะเสร็จสิ้น แม้จะโอนทรัพย์สินให้ทายาทแล้ว
พินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก กำหนดให้โจทก์ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกให้ทายาทผู้ตายโดยให้มีถนนเข้าสู่ที่ดินทุกแปลง เมื่อโจทก์เพียงแต่โอนที่ดินใส่ชื่อทายาทของผู้ตายลงในโฉนด แต่ยังมิได้จัดการแบ่งแยกที่ดินและทำถนนการจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้น โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินอันเป็นมรดกของผู้ตายได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินนั้นติดต่อกันมาเกิน 10 ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.
เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินนั้นติดต่อกันมาเกิน 10 ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกฟ้องขับไล่และการไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์
พินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก กำหนดให้โจทก์ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกให้ทายาทผู้ตายโดยให้มีถนนเข้าสู่ที่ดินทุกแปลง เมื่อโจทก์เพียงแต่โอนที่ดินใส่ชื่อทายาทของผู้ตายลงในโฉนด แต่ยังมิได้จัดการแบ่งแยกที่ดินและทำถนนการจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้น โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินอันเป็นมรดกของผู้ตายได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินนั้นติดต่อกันมาเกิน 10 ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.
เมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินนั้นติดต่อกันมาเกิน 10 ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2865/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี การถอนฟ้องทำให้จำเลยที่ 2 พ้นสภาพ
ก่อนโจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโจทก์ได้ขอถอน ฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นอนุญาตและให้จำหน่ายคดีเฉพาะ จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 จึงมิได้เป็นคู่ความในคดีอีกต่อไปสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 2 กระทำกับโจทก์ถือไม่ได้ว่าได้กระทำในฐานะคู่ความแห่งคดี คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง ศาลจะออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 หาได้ไม่ และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2865/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันจำเลยที่ถูกจำหน่ายคดีแล้ว
โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 แล้ว ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน สัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำในฐานะคู่ความแห่งคดี คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสองศาลจะออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 หาได้ไม่
ปัญหาว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
ปัญหาว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2865/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันจำเลยที่ถูกจำหน่ายคดีแล้ว
โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 แล้ว ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน สัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำในฐานะคู่ความแห่งคดี คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสองศาลจะออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 หาได้ไม่
ปัญหาว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
ปัญหาว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนองต่อดอกเบี้ยทบต้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้ต่อธนาคารโจทก์ในวงเงิน 400,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยถือเอารายการบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองไว้เป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มีจำนวนเกิน 400,000 บาท ในวันที่ 30 กันยายน 2525 จำเลยที่ 2 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้: การเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อยอดหนี้ถึงวงเงินจำนอง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้ต่อธนาคารโจทก์ในวงเงิน 400,000บาท โดยจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยถือเอารายการบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองไว้เป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มีจำนวนเกิน400,000 บาทในวันที่ 30 กันยายน 2525 จำเลยที่ 2 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน.