คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 20

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินที่ได้รับอนุญาตใช้ร่วมกับผู้อื่น และผลของการตกลงแบ่งสิทธิในที่ดินนั้นตามสัญญาหย่า
ถึงแม้ที่ดินที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ใช้ตามหนังสืออนุญาตจะมีข้อความระบุว่าผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ.2515) ข้อ 12 โดยเคร่งครัด คือ ฯลฯ ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นตามประเภทของกิจการด้วยตนเอง ฯลฯ แต่ระเบียบข้อ 13 ก็ระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับผ่อนผันให้เข้าอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ปฏิบัติตามข้อ 12 ไม่ว่าจะเป็นกรณีหนึ่งกรณีใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้มีหนังสือแจ้งให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง และถ้าเห็นว่าไม่สมควรจะให้อยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นต่อไปแล้วให้นำความในข้อ 5 ข้อ 2 ข้อ 7ข้อ 8 และ ข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" เมื่อปรากฏว่าที่ดินนี้มีผู้อื่นร่วมใช้ประโยชน์อยู่ด้วย และหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินนี้มีการอนุญาตต่อเนื่องกันมาหลายฉบับหลายปีต่อเนื่องกัน โดยไม่ปรากฏว่ามีปัญหาโต้แย้งในเรื่องที่มีผู้อื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินแต่อย่างใดแสดงว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินนี้ไม่จำต้องใช้ด้วยตัวจำเลยเองก็ได้ กรณีจึงมิใช่เรื่องเฉพาะตัว ข้อตกลงตามสัญญาหย่าที่ตกลงแบ่งสิทธิตามหนังสืออนุญาตดังกล่าว ซึ่งจำเลยได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ ย่อมเป็นสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิอยู่ด้วย การตกลงจึงหาได้มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสจากสิทธิการใช้ที่ดินที่ได้รับอนุญาต สัญญาไม่ขัดกฎหมาย
ถึงแม้ที่ดินที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ใช้ตามหนังสืออนุญาตจะมีข้อความระบุว่าผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515)ข้อ 12 โดยเคร่งครัด คือ ฯลฯ ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นตามประเภทของกิจการด้วยตนเอง ฯลฯ แต่ระเบียบข้อ 13 ก็ระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับผ่อนผันให้เข้าอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ปฏิบัติตามข้อ 12 ไม่ว่าจะเป็นกรณีหนึ่งกรณีใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้มีหนังสือแจ้งให้ปฏิบัติให้ถูกต้องและถ้าเห็นว่าไม่สมควรจะให้อยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นต่อไปแล้วให้นำความในข้อ 5 ข้อ 2 ข้อ 7 ข้อ 8 และ ข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" เมื่อปรากฏว่าที่ดินนี้มีผู้อื่นร่วมใช้ประโยชน์อยู่ด้วย และหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินนี้มีการอนุญาตต่อเนื่องกันมาหลายฉบับหลายปีต่อเนื่องกัน โดยไม่ปรากฏว่ามีปัญหาโต้แย้งในเรื่องที่มีผู้อื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินแต่อย่างใดแสดงว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินนี้ไม่จำต้องใช้ด้วยตัวจำเลยเองก็ได้ กรณีจึงมิใช่เรื่องเฉพาะตัว ข้อตกลงตามสัญญาหย่าที่ตกลงแบ่งสิทธิตามหนังสืออนุญาตดังกล่าว ซึ่งจำเลยได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ย่อมเป็นสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิอยู่ด้วย การตกลงจึงหาได้มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649-2660/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ: การครอบครองก่อน/หลังประมวลกฎหมายที่ดิน และการขอออก น.ส.3ก.
ที่พิพาทเป็นที่ดินของรัฐ อันบุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน โจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้ว จึงมิใช่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ และการยึดถือครอบครองของโจทก์ก็มิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นการยึดถือครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์จะแย่งการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยเกินกว่า 1 ปีแล้ว และคงอยู่ตลอดมาจนถึงวันฟ้องก็เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและหามีสิทธิที่จะขอห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินและขอให้จำเลยถอนคำขอที่ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออก น.ส.3 ก ได้ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ เนื่องจากถือได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้จำเลยครอบครองที่พิพาทได้แล้ว เพียงแต่อยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อออกหลักฐานเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินให้จำเลยเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649-2660/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ: การเข้าครอบครองหลัง พ.ร.บ.ที่ดินใช้บังคับ และการครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ที่พิพาทเป็นที่ดินของรัฐ อันบุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน โจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้ว จึงมิใช่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่พิพาทก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ และการยึดถือครอบครองของโจทก์ก็มิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นการยึดถือครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์จะแย่งการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยเกินกว่า 1 ปีแล้ว และคงอยู่ตลอดมาจนถึงวันฟ้องก็ เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและหามีสิทธิที่จะขอห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินและขอให้จำเลยถอนคำขอที่ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออก น.ส.3 ก ได้ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ เนื่องจากถือได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้จำเลยครอบครองที่พิพาทได้แล้ว เพียงแต่อยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อออกหลักฐานเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินให้จำเลยเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318-329/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินไม่มีโฉนด: การครอบครองก่อน/หลัง พ.ร.บ.ที่ดิน และผลของการยึดถือที่ดินของรัฐ
ที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์และจำเลยจึงอาจมีได้แต่สิทธิครอบครองที่ดิน เมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้วจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ส่วนจำเลยแม้จะครอบครองที่พิพาทมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แต่จำเลยก็หาได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาตามที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ฯ มาตรา 5 บัญญัติไว้ไม่ โจทก์และจำเลยจึงต่างไม่มีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่พิพาทโดยชอบดังนั้น แม้โจทก์จะแย่งการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว ก็เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ คงมีอำนาจฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท จำเลยต่อสู้ว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้ออกหลักฐานสิทธิครอบครองที่พิพาทแก่จำเลย หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ จำเลยอาจมีสิทธิครอบครองที่พิพาทดีกว่าโจทก์โดยการที่รัฐจัดที่ดิน ให้แก่จำเลยตามกฎหมาย จึงชอบที่จะฟังข้อเท็จจริงไปก่อนหาควรด่วนงดสืบพยานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318-329/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินไม่มีโฉนด การครอบครองก่อน/หลัง พ.ร.บ.ที่ดิน และการแย่งการครอบครองที่ดินของรัฐ
ที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์โจทก์และจำเลยจึงอาจมีได้แต่สิทธิครอบครองที่ดินเมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้ว จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ส่วนจำเลยแม้จะครอบครองที่พิพาทมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แต่ จำเลยก็หาได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาตามที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ฯ มาตรา 5 บัญญัติไว้ไม่ โจทก์และจำเลยจึงต่างไม่มีกรรมสิทธิ์และ สิทธิครอบครองในที่พิพาทโดยชอบดังนั้น แม้โจทก์จะแย่ง การครอบครองที่พิพาทจากจำเลยเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว ก็ เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับ อนุญาต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ คงมีอำนาจฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทจำเลยต่อสู้ว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้ออกหลักฐานสิทธิครอบครองที่พิพาทแก่จำเลย หาก ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ จำเลยอาจมี สิทธิครอบครองที่พิพาทดีกว่าโจทก์โดยการที่รัฐจัดที่ดิน ให้แก่จำเลยตามกฎหมาย จึงชอบที่จะฟังข้อเท็จจริงไป ก่อนหาควรด่วนงดสืบพยานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินรัฐจัดสรร: สิทธิไม่สมบูรณ์, โอนขายไม่ได้, ฟ้องบุกรุกไม่ได้
ที่ดินของรัฐซึ่งเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(1) แม้ทางราชการจะนำมาจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกินจ. เป็นผู้จับสลากได้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20(6), 27, 33 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแต่จะยังมิได้รับใบจอง เพียงแต่นำหลักไปปักเป็นเขตไว้โดยมิได้ทำประโยชน์อะไร จ. หาได้ที่ดินเป็นสิทธิของตนโดยสมบูรณ์ไม่ ที่ดินแปลงนี้ยังเป็นที่ดินของรัฐและอธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งให้ จ. ออกจากที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 32 ได้ จ. ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ได้รับโอนไว้และครอบครองมาโจทก์ก็หาเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินรัฐจัดสรรยังไม่เป็นสิทธิสมบูรณ์ โจทก์ซื้อต่อไม่มีสิทธิฟ้องบุกรุก
ที่ดินของรัฐซึ่งเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(1) แม้ทางราชการจะนำมาจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกินจ. เป็นผู้จับสลากได้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20(6),27,33 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแต่จะยังมิได้รับใบจอง เพียงแต่นำหลักไปปักเป็นเขตไว้โดยมิได้ทำประโยชน์อะไร จ. หาได้ที่ดินเป็นสิทธิของตนโดยสมบูรณ์ไม่ ที่ดินแปลงนี้ยังเป็นที่ดินของรัฐและอธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งให้ จ. ออกจากที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 32 ได้ จ. ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ได้รับโอนไว้และครอบครองมาโจทก์ก็หาเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินนิคมสร้างตนเอง: การสงวนที่ดินโดยคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติโดยไม่ต้องมี พ.ร.ฎ. และสิทธิของกรมประชาสงเคราะห์
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 20(4) คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสงวนที่ดินตามความต้องการของกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อจัดตั้งนิคมสร้างตนเองได้ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินตามความในมาตรา 4,5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478 เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯนั้นแล้ว การที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีมติมอบอำนาจให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดินกรมประชาสงเคราะห์จึงมีหน้าที่จัดการที่ดินดังกล่าวนั้นตามมติคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติได้ ถึงแม้ในขณะนั้นจะยังมิได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองก็ตาม
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่ กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องสอดของหน่วยงานรัฐในการปกป้องที่ดินนิคมสร้างตนเอง แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 20(4) คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสงวนที่ดินตามความต้องการของกรมประชาสงเคราะห์เพื่อจัดตั้งนิคมสร้างตนเองได้ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินตามความในมาตรา 4, 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯนั้นแล้วการที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีมติมอบอำนาจให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดิน กรมประชาสงเคราะห์จึงมีหน้าที่จัดการที่ดินดังกล่าวนั้นตามมติคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติได้ ถึงแม้ในขณะนั้นจะยังมิได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองก็ตาม
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้
of 6