พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์: การลงโทษจำเลยที่ใช้และไม่ได้ใช้อาวุธปืน
ในการปล้นทรัพย์จำเลยที่ 1 ที่ 4 ไม่ได้มีหรือใช้อาวุธปืน จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ แต่ลงโทษมาตรา 340 ตรี ไม่ได้ จำเลยที่ 2,3 ใช้ปืนจี้ลงโทษตามมาตรา340วรรคสี่ และ มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน จำเลยไม่มีอาวุธ ศาลฎีกาแก้โทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องอีก 4 คนร่วมกันมีปืนเป็นอาวุธทำการปล้นทรัพย์ ได้ความว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีอาวุธอะไรเลย และจำเลยที่ 1 มีเพียงมีดปลายแหลมอย่างเดียวเท่านั้น คนร้ายที่มีปืนคือพวกที่ยังจับตัวไม่ได้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี,83 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14,15 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามบทมาตราดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 15 ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี.
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี,83 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14,15 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามบทมาตราดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 15 ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์ที่ได้จากการขายของกลางปล้น ไม่ใช่ทรัพย์สินผู้เสียหาย ศาลไม่คืนได้
เงินที่จำเลยได้มาจากการนำทองรูปพรรณของผู้เสียหายซึ่งปล้นมาได้ไปขายมิใช่ทรัพย์สินของผู้เสียหายที่ถูกปล้นเอาไป ศาลจะสั่งคืนให้ผู้เสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยมีอาวุธปืน: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยกับพวกอีก 1 คนชิงทรัพย์ พวกของจำเลยถือปืนยิงจำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรค2 ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 14ไม่ ผิด มาตรา340 ตรี ประกาศคณะปฏิวัติ ข้อ 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: เฉพาะผู้ใช้เท่านั้นที่รับโทษหนักขึ้น
ปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ลงโทษหนักขึ้นเฉพาะตัวผู้มีหรือใช้อาวุธปืนเท่านั้นผู้อื่นที่ร่วมปล้นไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นด้วย ศาลลงโทษตาม มาตรา 340 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาในอดีตและปัจจุบัน กรณีโทษเบากว่าเดิม คดีปล้นทรัพย์
ขณะที่จำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง ยังไม่มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับ การกระทำอันมีองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีฯลฯ นั้น ยังไม่มีกฎหมายกำหนดโทษให้หนักขึ้นในขณะจำเลยกระทำผิดโจทก์ย่อมขอให้ศาลใช้มาตรา 340 ตรี เป็นบทลงโทษหรือนำไปประกอบมาตรา 340 วรรค 4 เพื่อให้โทษหนักขึ้นมิได้ คงได้แต่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิด แต่เมื่อปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับ ข้อ 14 ประกาศนี้แก้ไขโทษของมาตรา 340 วรรค 4 เดิมให้เบาลงก็ต้องใช้มาตรา 340 วรรค 4 ตามที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14 บังคับแก่คดีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 โจทก์จะอ้างว่าโทษตามมาตรา 340 วรรค 4 ที่แก้ไขใหม่โดยประกาศข้อ 14 ให้เพิ่มขึ้นกึ่งหนึ่งตามมาตรา 340 ตรี. ที่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นโดยข้อ 15 คำนวณโทษแล้วมีอัตราหนักกว่ามาตรา 340 วรรค 4 เดิม มาตรา 340 วรรค 4 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี ที่แก้ไขใหม่นั้นไม่เป็นคุณแก่จำเลย จะต้องวางโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 4 เดิม ดังนี้ หาถูกต้องไม่