พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกิน 3 ปี สัญญาเป็นโมฆะ แม้ต่อมาผู้เยาว์ยินยอม
การที่บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทของโจทก์ในขณะที่โจทก์ทั้งสี่ยังเป็นผู้เยาว์ โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมให้เช่าได้เพียงไม่เกิน 3 ปีเท่านั้นคดีได้ความว่าจำเลยเช่ามาเกิน 3 ปีแล้ว ฉะนั้น การให้เช่าอาคารพิพาทต่อไปเกินจาก 3 ปี จึงกระทำมิได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(2) ถึงแม้บิดาโจทก์จะได้ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทไปจนตลอดชีวิตจำเลยก็ตามก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานดังที่จำเลยฎีกามา
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้บรรลุนิติภาวะแล้วโจทก์ทั้งสองได้แสดงเจตนายินยอมให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อไปการกระทำของโจทก์ทั้งสองจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1550 นั้น เห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นว่ามาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จึงเป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้บรรลุนิติภาวะแล้วโจทก์ทั้งสองได้แสดงเจตนายินยอมให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อไปการกระทำของโจทก์ทั้งสองจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1550 นั้น เห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นว่ามาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จึงเป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากเกิน 3 ปี เป็นโมฆะ
การที่บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทของโจทก์ในขณะที่โจทก์ทั้งสี่ยังเป็นผู้เยาว์ โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมให้เช่าได้เพียงไม่เกิน 3 ปีเท่านั้นคดีได้ความว่าจำเลยเช่ามาเกิน 3 ปีแล้ว ฉะนั้น การให้เช่าอาคารพิพาทต่อไปเกินจาก 3 ปี จึงกระทำมิได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(2) ถึงแม้บิดาโจทก์จะได้ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทไปจนตลอดชีวิตจำเลยก็ตาม ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานดังที่จำเลยฎีกามา
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้บรรลุนิติภาวะแล้วโจทก์ทั้งสองได้แสดงเจตนายินยอมให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อไปการกระทำของโจทก์ทั้งสองจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1550 นั้น เห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นว่ามาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จึงเป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้บรรลุนิติภาวะแล้วโจทก์ทั้งสองได้แสดงเจตนายินยอมให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อไปการกระทำของโจทก์ทั้งสองจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1550 นั้น เห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นว่ามาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จึงเป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์เกิน 3 ปี ไม่ผูกพันผู้เยาว์ แม้ต่อมาจะให้สัตยาบัน
สัญญาให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกินกว่าสามปี ที่บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ทำแทนผู้เยาว์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นไม่มีผลบังคับผูกพันผู้เยาว์ตั้งแต่การเช่าครบ 3 ปีแล้วตลอดมา และไม่เป็นโมฆียะอันจะพึงบอกล้างได้ จึงไม่เป็นกรณีที่ผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1550
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตศาล มีผลบังคับหรือไม่ และการให้สัตยาบัน
สัญญาให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกินกว่าสามปีที่บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ทำแทนผู้เยาว์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นไม่มีผลบังคับผูกพันผู้เยาว์ตั้งแต่การเช่าครบ 3 ปีแล้วตลอดมา และไม่เป็นโมฆียะอันจะพึงบอกล้างได้จึงไม่เป็นกรณีที่ผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วจะให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1550