พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง: การชำระเงินค่าจ้างและคืนเงินประกันเมื่องานแล้วเสร็จและไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น
จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารโรงงานและบ้านพักข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้ก่อสร้างครบถ้วนตามสัญญาแล้วโจทก์จึงมิใช่ฝ่ายผิดสัญญาที่จำเลยฎีกาอ้างว่าปริมาณงานในงวดสุดท้ายยังมีงานที่หลงเหลือมาจากงวดอื่นๆรวมทั้งงานเก็บกวาดทำความสะอาดและบริเวณก่อสร้างโจทก์จึงยังมิได้ดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จครบถ้วนตามสัญญานั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้เพิ่งหยิบยกข้ออ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยอ้างว่าตามสัญญาโจทก์จะต้องส่งงานงวดสุดท้ายและจัดหาให้ธนาคารพาณิชย์ค้ำประกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการก่อสร้างภายใน1ปีนับแต่จำเลยได้รับมอบงานจำเลยจึงจะคืนเงินประกันให้โจทก์เมื่อโจทก์ยังไม่จัดหาให้ธนาคารพาณิชย์ค้ำประกันความเสียหายจำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินประกันข้อเท็จจริงปรากฏว่านับแต่โจทก์ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วก็ไม่ปรากฏความเสียหายใดๆหลังจากการส่งมอบงานดังนั้นความจำเป็นที่โจทก์จะต้องนำธนาคารมาค้ำประกันความเสียหายจึงหมดไปจำเลยจึงไม่อาจยกเป็นเหตุไม่ยอมคืนเงินประกันความเสียหายแก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษในคดีอาญา: การพิจารณาโทษเดิมที่พ้นโทษแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์จำคุกคนละ10ปีเพิ่มโทษจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา92หนึ่งในสามเป็นจำคุก13ปี4เดือนเพิ่มโทษจำเลยที่2ตามมาตรา93กึ่งหนึ่งเป็นจำคุก15ปีจำเลยที่2ให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา78คงจำคุกจำเลยที่2มีกำหนด7ปี6เดือนจำเลยที่1อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยที่1ฎีกาปรากฏว่าจำเลยทั้งสองพ้นโทษในคดีก่อนที่เป็นเหตุเพิ่มโทษก่อนวันที่6เมษายน2525ไปแล้วจึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์200ปีพ.ศ.2526ถือว่าจำเลยที่1ไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อนและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีมีผลไปถึงจำเลยที่2ที่ไม่มีฝ่ายใดฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213จึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จาก พรบ.ล้างมลทิน ส่งผลต่อการเพิ่มโทษจำเลยในคดีชิงทรัพย์ แม้เคยต้องโทษมาก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์ จำคุกคนละ10 ปี เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 หนึ่งในสามเป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 93 กึ่งหนึ่งเป็นจำคุก 15 ปีจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 7 ปี 6 เดือนจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกาปรากฏว่าจำเลยทั้งสองพ้นโทษในคดีก่อนที่เป็นเหตุเพิ่มโทษก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 ไปแล้ว จึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2526 ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน และเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่มีฝ่ายใดฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 จึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จาก พรบ.ล้างมลทิน ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษเพิ่มจากประวัติอาชญากรรมเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์ จำคุกคนละ10 ปี เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 หนึ่งในสามเป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 93กึ่งหนึ่งเป็นจำคุก 15 ปีจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2มีกำหนด 7 ปี 6 เดือนจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกาปรากฏว่าจำเลยทั้งสองพ้นโทษในคดีก่อนที่เป็นเหตุเพิ่มโทษก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525ไปแล้วจึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์200ปีพ.ศ.2526 ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อนและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่มีฝ่ายใดฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 จึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องใช้เกณฑ์เงินสด ไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี2515ถึง2517หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในปี2527นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ทั้งนี้เพราะประมวลรัษฎากรมาตรา65กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา39ให้หมายถึงเงินทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ(อ้างฎีกาที่580/2506และ793/2523).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร ปี 2527
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี2515ถึง2517หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากรในปี2527นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ทั้งนี้เพราะป.รัษฎากรมาตรา65กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา39ให้หมายถึงเงินทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนปี 2527 แม้จะมีสิทธิเรียกร้องยังไม่ได้รับเงิน
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2515 ถึง 2517 หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากรในปี 2527 นั้น ต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ ทั้งนี้ เพราะป.รัษฎากร มาตรา 65 กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา 39 ให้หมายถึง เงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชี มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชี ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนมีการแก้ไขประมวลรัษฎากรปี 2527
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2515 ถึง 2517 หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในปี 2527 นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ ทั้งนี้ เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 65 กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี และเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา 39 ให้หมายถึง เงินทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชี มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ (อ้างฎีกาที่ 580/2506 และ 793/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัดในการถอดถอนผู้จัดการห้างหุ้นส่วน: ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องแยกสิทธิผู้ถือหุ้นไม่จำกัดความรับผิด
คดีนี้โจทก์จำเลยท้ากันให้ศาลชี้ข้อกฎหมายประเด็นเดียวว่าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะมีสิทธิร่วมประชุมถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการหรือไม่เท่ากับโจทก์จำเลยยอมสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว โจทก์จะยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1032 ขึ้นตั้งเป็นประเด็นใหม่อีกหาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อโต้แย้งของโจทก์ข้อนี้อยู่นอกคำท้า ไม่รับวินิจฉัยให้นั้น ชอบแล้ว
ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หาไดมีสิทธิและความรับผิดเท่าเทียมกันไม่การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น หากห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวผู้นั้นก็เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโดยลำพัง หากมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหลายคน ต่างคนต่างก็มีสิทธิเข้าจัดการห้างหุ้นส่วนหรืออาจตกลงระหว่างกันเองให้ใครเป็นผู้จัดการก็ได้ และเมื่อจะถอดถอนผู้จัดการก็จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอน ทำนองเดียวกับกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนี้มีสิทธิและความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนั่นเอง ส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดหาได้มีสิทธิและความรับผิดอย่างผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการ ซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนำมาตรา 1036 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองของห้างหุ้นส่วนสามัญใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงต้องใช้เฉพาะกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น และที่มาตรา 1088 วรรคสอง มิให้ถือว่าการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดออกความเห็นแนะนำหรือออกเสียงลงคะแนนในการตั้งและถอดถอนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของหุ้นส่วนนั้น ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาหุ้นส่วนเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อยกเว้นหาใช่กรณีทั่วไปไม่.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หาไดมีสิทธิและความรับผิดเท่าเทียมกันไม่การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้น หากห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวผู้นั้นก็เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโดยลำพัง หากมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหลายคน ต่างคนต่างก็มีสิทธิเข้าจัดการห้างหุ้นส่วนหรืออาจตกลงระหว่างกันเองให้ใครเป็นผู้จัดการก็ได้ และเมื่อจะถอดถอนผู้จัดการก็จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอน ทำนองเดียวกับกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนี้มีสิทธิและความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนั่นเอง ส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดหาได้มีสิทธิและความรับผิดอย่างผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการ ซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนำมาตรา 1036 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองของห้างหุ้นส่วนสามัญใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงต้องใช้เฉพาะกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น และที่มาตรา 1088 วรรคสอง มิให้ถือว่าการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดออกความเห็นแนะนำหรือออกเสียงลงคะแนนในการตั้งและถอดถอนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของหุ้นส่วนนั้น ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาหุ้นส่วนเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อยกเว้นหาใช่กรณีทั่วไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการถอดถอนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด: หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีสิทธิโดยตรง
คดีนี้โจทก์จำเลยท้ากันให้ศาลชี้ข้อกฎหมายประเด็นเดียวว่าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะมีสิทธิร่วมประชุมถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการหรือไม่เท่ากับโจทก์จำเลยยอมสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้วโจทก์จะยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1032ขึ้นตั้งเป็นประเด็นใหม่อีกหาได้ไม่ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อโต้แย้งของโจทก์ข้อนี้อยู่นอกคำท้าไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาไดมีสิทธิและความรับผิดเท่าเทียมกันไม่การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดฉะนั้นหากห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียวผู้นั้นก็เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโดยลำพังหากมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหลายคนต่างคนต่างก็มีสิทธิเข้าจัดการห้างหุ้นส่วนหรืออาจตกลงระหว่างกันเองให้ใครเป็นผู้จัดการก็ได้และเมื่อจะถอดถอนผู้จัดการก็จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอนทำนองเดียวกับกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนี้มีสิทธิและความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนั่นเองส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดหาได้มีสิทธิและความรับผิดอย่างผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นการนำมาตรา1036ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองของห้างหุ้นส่วนสามัญใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องใช้เฉพาะกับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้นและที่มาตรา1088วรรคสองมิให้ถือว่าการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดออกความเห็นแนะนำหรือออกเสียงลงคะแนนในการตั้งและถอดถอนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของหุ้นส่วนนั้นก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กำหนดไว้ในสัญญาหุ้นส่วนเท่านั้นซึ่งเป็นข้อยกเว้นหาใช่กรณีทั่วไปไม่.