คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ รัตนากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2111-2112/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาก่อนเช็คถึงกำหนด สิทธิเรียกร้องเช็คสิ้นสุด โจทก์รับโอนเช็คโดยไม่สุจริต
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับส.โดยส.มิได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นและได้ออกเช็คพิพาททั้งสามฉบับลงวันที่ล่วงหน้ามอบให้ส.เพื่อเป็นการชำระราคาส่วนหนึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นก่อนเช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงินจำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือแก่ส.ส.จึงมีหนังสือทวงให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาทั้งหมดหากไม่ชำระภายในกำหนดจะถือว่าสละสิทธิตามสัญญาทั้งหมดหลังจากนั้นได้มีการตกลงกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่สัญญาต่อมาฝ่ายจำเลยมีหนังสือทวงเช็คพิพาทคืนโดยอ้างถึงหนังสือของส.ว่าได้มีการยกเลิกสัญญาจะซื้อขายแล้วส.จึงมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายมาเป็นครั้งที่สองและขอให้จำเลยนำเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับไปชำระให้ดังนี้เห็นได้ว่าทั้งส.และจำเลยต่างได้ตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวกันแล้วจึงทำให้สัญญาจะซื้อขายเลิกกันและคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนที่จะมีการทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391ส.จึงต้องคืนเช็คพิพาททั้งสามฉบับให้แก่จำเลยจะยึดถือเช็คไว้หรือเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ดังนั้นเมื่อส.โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยกรรมการผู้จัดการของโจทก์เข้าไปเกี่ยวข้องและรับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินระหว่างส.กับจำเลยมาโดยตลอดเป็นลำดับจนกระทั่งมีการตกลงเลิกสัญญากันทำให้เช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้และส.ต้องคืนให้จำเลยดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากส.โดยไม่สุจริตและการโอนเช็คระหว่างส.กับโจทก์มีขึ้นโดยคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คจำเลยไม่ต้องรับผิดตามเช็คนั้นต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2111-2112/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อขายที่ดินก่อนเช็คถึงกำหนด สิทธิเรียกร้องเช็คเป็นอันสิ้นสุด โจทก์รับโอนเช็คโดยไม่สุจริต
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ ส.โดยส.มิได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น และได้ออกเช็คพิพาททั้งสามฉบับลงวันที่ล่วงหน้ามอบให้ ส.เพื่อเป็นการชำระราคาส่วนหนึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นก่อนเช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงิน จำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือแก่ ส.ส.จึงมีหนังสือทวงให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาทั้งหมดหากไม่ชำระภายในกำหนดจะถือว่าสละสิทธิตามสัญญาทั้งหมดหลังจากนั้นได้มีการตกลงกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่สัญญาต่อมาฝ่ายจำเลยมีหนังสือทวงเช็คพิพาทคืนโดยอ้างถึงหนังสือของส.ว่าได้มีการยกเลิกสัญญาจะซื้อขายแล้ว ส. จึงมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายมาเป็นครั้งที่สองและขอให้จำเลยนำเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับไปชำระให้ดังนี้เห็นได้ว่าทั้งส.และจำเลยต่างได้ตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวกันแล้ว จึงทำให้สัญญาจะซื้อขายเลิกกัน และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนที่จะมีการทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ส. จึงต้องคืนเช็คพิพาททั้งสามฉบับให้แก่จำเลย จะยึดถือเช็คไว้หรือเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ดังนั้นเมื่อ ส. โอนเช็คพิพาทให้โจทก์ โดยกรรมการผู้จัดการของโจทก์เข้าไปเกี่ยวข้องและรับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินระหว่างส.กับจำเลยมาโดยตลอดเป็นลำดับจนกระทั่งมีการตกลงเลิกสัญญากันทำให้เช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้และ ส.ต้องคืนให้จำเลยดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากส.โดยไม่สุจริตและการโอนเช็คระหว่างส. กับโจทก์มีขึ้นโดยคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำเลยไม่ต้องรับผิดตามเช็คนั้นต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารดัดแปลง: โจทก์ต้องพิสูจน์การดัดแปลงหลังวันที่กฎหมายควบคุมอาคารมีผลบังคับใช้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522แต่นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดัดแปลงต่อเติมอาคารหลังจากวันที่31ตุลาคม2522แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าหลังจากจำเลยได้รับคำสั่งจากโจทก์ให้ระงับการก่อสร้างและให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมแล้วจำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวรวมทั้งจำเลยได้ให้การรับสารภาพเมื่อถูกฟ้องที่ศาลแขวงพระนครเหนือจนศาลพิพากษาปรับจำเลยเป็นเงิน500บาทก็หาทำให้ข้อเท็จจริงผูกพันจำเลยว่าจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารหลังจากวันที่31ตุลาคม2522ไม่โจทก์จึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522กรณีไม่ต้องวินิจฉัยปรับบทกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479เพราะพยานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ดัดแปลงต่อเติมอาคารในระหว่างที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับอยู่. ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าการชี้ขาดคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามส่วนอาญานั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ไม่ได้รับอนุญาต จำเป็นต้องพิสูจน์การกระทำหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522แต่นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดัดแปลงต่อเติมอาคารหลังจากวันที่31ตุลาคม2522แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าหลังจากจำเลยได้รับคำสั่งจากโจทก์ให้ระงับการก่อสร้างและให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมแล้วจำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวรวมทั้งจำเลยได้ให้การรับสารภาพเมื่อถูกฟ้องที่ศาลแขวงพระนครเหนือ จนศาลพิพากษาปรับจำเลยเป็นเงิน500บาทก็หาทำให้ข้อเท็จจริงผูกพันจำเลยว่าจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารหลังจากวันที่31ตุลาคม2522ไม่โจทก์จึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522กรณีไม่ต้องวินิจฉัยปรับบทกฎหมายตามพ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479เพราะพยานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ดัดแปลงต่อเติมอาคารในระหว่างที่พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับอยู่ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าการชี้ขาดคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามส่วนอาญานั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ และอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสถานะบุคคล
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้สั่งการให้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านเนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่จะมีอำนาจถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านได้แสดงชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดนั้นมาด้วยแม้จะเป็นตำแหน่งที่ไม่มีในกฎหมาย ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไป และการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นทราบว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และสั่งให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการตามระเบียบ จำเลยที่ 2 จึงได้ดำเนินการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้าน ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 เช่นนี้แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ไปไม่.
โจทก์ทั้งสองมีมารดาเป็นคนญวนอพยพ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวโจทก์ที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2501 และโจทก์ที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2503 ในขณะที่โจทก์ทั้งสองเกิดไปปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย มารดาของโจทก์ทั้งสองเพิ่งจดทะเบียนสมรสกับ ส.ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยและโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาของโจทก์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2504 ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุมารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราว และไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แล้ว แม้ภายหลังที่โจทก์ทั้งสองเกิด โจทก์ทั้งสองจะมีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ส.ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่ และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 เมื่อโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนราษฎร์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ และอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้สั่งการให้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านเนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่จะมีอำนาจถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านได้แสดงชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่1ในฐานะเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดนั้นมาด้วยแม้จะเป็นตำแหน่งที่ไม่มีในกฎหมายก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไปและการที่จำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่2ในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นทราบว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และสั่งให้จำเลยที่2ดำเนินการตามระเบียบจำเลยที่2จึงได้ดำเนินการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านตามคำสั่งของจำเลยที่1เช่นนี้แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วแม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ไปไม่. โจทก์ทั้งสองมีมารดาเป็นคนญวนอพยพซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวโจทก์ที่1เกิดเมื่อวันที่13ธันวาคม2501และโจทก์ที่2เกิดเมื่อวันที่15กรกฎาคม2503ในขณะที่โจทก์ทั้งสองเกิดไปปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมารดาของโจทก์ทั้งสองเพิ่งจดทะเบียนสมรสกับส.ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยและโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาของโจทก์เมื่อวันที่16มีนาคม2504ดังนั้นในขณะเกิดเหตุมารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวและไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แล้วแม้ภายหลังที่โจทก์ทั้งสองเกิดโจทก์ทั้งสองจะมีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายคือส.ก็ตามก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142เมื่อโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนราษฎร์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337: ผลกระทบต่อสถานะบุคคลและการฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดแม้จะกล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่1ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดด้วยก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไป การที่จำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่2ปลัดเทศบาลในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นว่าโจทก์และบุตรทุกคนของส. ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ให้จำเลยที่2ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านและจำเลยที่2ได้ดำเนินการตามคำสั่งจำเลยที่1แล้วถือว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ตามโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์มีมารดาเป็นคนญวนอพยพขณะโจทก์เกิดไม่ปรากฏว่าโจทก์มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหลังจากโจทก์เกิดแล้วมารดาโจทก์จึงจดทะเบียนสมรสกับส. คนสัญชาติไทยดังนั้นในขณะโจทก์เกิดมารดาโจทก์จึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวและไม่ปรากฏบิดาว่าด้วยกฎหมายโจทก์ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในอาณาจักรไทยจึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แม้ภายหลังที่โจทก์เกิดแล้วบิดามารดาได้สมรสกันอันเป็นผลให้โจทก์มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายก็หาทำให้โจทก์เกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิ่มชื่อโจทก์ลงในทะเบียนราษฎร์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสข้ามสัญชาติ: หน้าที่การพิสูจน์ความสามารถและเงื่อนไขการสมรส
การที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลสัญชาติญวนร้องขอต่อศาลให้สั่งนายอำเภอในฐานะนายทะเบียนครอบครัวจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ร้องทั้งสองนั้นแม้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 มาตรา 10 และมาตรา 19 จะบัญญัติว่าความสามารถของบุคคลและเงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น ๆ ก็ตาม แต่ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวผู้ร้องก็หาได้มีหน้าที่พิสูจน์ถึงความสามารถและเงื่อนไขดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่และเมื่อไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่าตามกฎหมายสัญชาติของผู้ร้องในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองมีเงื่อนไขที่จะทำการสมรสได้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว นายอำเภอก็ไม่ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนสมรสให้ผู้ร้องทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติ: การบังคับใช้กฎหมายภายในเมื่อไม่สามารถพิสูจน์กฎหมายต่างประเทศ
การที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลสัญชาติญวนร้องขอต่อศาลให้สั่งนายอำเภอในฐานะนายทะเบียนครอบครัวจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ร้องทั้งสองนั้นแม้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481มาตรา10และมาตรา19จะบัญญัติว่าความสามารถของบุคคลและเงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นๆก็ตามแต่ตามมาตรา8แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวผู้ร้องก็หาได้มีหน้าที่พิสูจน์ถึงความสามารถและเงื่อนไขดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่และเมื่อไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่าตามกฎหมายสัญชาติของผู้ร้องในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไรจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองมีเงื่อนไขที่จะทำการสมรสได้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วนายอำเภอก็ไม่ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนสมรสให้ผู้ร้องทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่น พยานหลักฐานประกอบกันฟังได้ถึงความผิดแม้ไม่มีพยานตรง
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดคงมีคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของ บ. และ จ. ที่กล่าวอ้างว่าจำเลยได้ร่วมกระทำผิดด้วยซึ่งเป็นเพียงคำพยานบอกเล่า แต่โจทก์ก็มีพยานหลักฐานอื่นประกอบให้เห็นว่าคำให้การชั้นสอบสวนของคนทั้งสองเป็นความจริง และมีพยานยืนยันว่าจำเลยเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับการกระทำผิดคดีนี้ด้วย พยานหลักฐานของโจทก์ประกอบกันฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมกระทำผิดกับ บ. และ จ.
of 49