พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชดใช้เงินทดรองของตัวแทนซื้อขายหุ้น, การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่เป็นโมฆะหากไม่ปฏิบัติตามแบบ
โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ฯ จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมชดใช้เงินทดรองให้โจทก์ได้ก็เฉพาะเมื่อเงินทดรองนั้นมิใช่เป็นการจำเป็น หรือจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินทดรองนั้นด้วยเหตุประการอื่นทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ซื้อขายหุ้นแทนจำเลยโดยไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 นั้นเป็นการผิดหน้าที่ของตัวแทน หรือทำให้จำเลยเสียผลประโยชน์ ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินทดรองที่โจทก์ได้ออกไปก่อนรวมทั้งดอกเบี้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ฯ ตามปกติแม้จะมีการเก็งกำไรกัน และมีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชคอยู่บ้าง ก็หาใช่เป็นการพนันขันต่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 853 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 2523/2527).
ความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสองที่บัญญัติว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอน กับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้น เป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว ยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ยังไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้นแต่หาถึงกับทำให้การซื้อขายหุ้นเป็นโมฆะไปด้วยไม่
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ฯ ตามปกติแม้จะมีการเก็งกำไรกัน และมีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชคอยู่บ้าง ก็หาใช่เป็นการพนันขันต่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 853 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 2523/2527).
ความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสองที่บัญญัติว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอน กับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้น เป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว ยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ยังไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้นแต่หาถึงกับทำให้การซื้อขายหุ้นเป็นโมฆะไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันเปลี่ยนแปลงเมื่อเปลี่ยนตำแหน่ง: โจทก์ยินยอมให้ผู้ค้ำประกันใหม่มาแทนที่ ทำให้ผู้ค้ำประกันเดิมหลุดพ้นความรับผิด
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือรับรองจะชดใช้ความเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายตอนที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งคนการ ต่อมาโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ไปทำงานในตำแหน่งพนักงานเก็บเงินในห้องอาหารและได้ให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกันเพิ่มเติมจากหนังสือรับรองของจำเลยที่ 3 และไม่ปรากฏในทางปฏิบัติของโจทก์ว่าลูกจ้างโจทก์ต้องมีหนังสือรับรองตอนเข้าทำงานและต้องทำหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 3 ต้องผูกพันตามหนังสือรับรองโดยให้จำเลยที่ 4 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แทน จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ในกรณีจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินจากห้องอาหารโจทก์
ฎีกาในปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
ฎีกาในปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการค้ำประกันและความรับผิดในสัญญา
จำเลยที่3ได้ทำหนังสือรับรองต่อโจทก์ว่าในการที่จำเลยที่1เข้าทำงานในตำแหน่งคนงานกับโจทก์นั้นหากจำเลยที่1ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายจำเลยที่3จะชดใช้ความเสียหายให้ต่อมาโจทก์ได้ให้จำเลยที่1ไปทำงานตำแหน่งพนักงานเก็บเงินในห้องอาหารและได้ให้จำเลยที่4เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1แสดงว่าเป็นการค้ำประกันเพราะจำเลยที่1เปลี่ยนตำแหน่งการปฏิบัติระหว่างโจทก์และจำเลยที่1ที่3และที่4ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่3ต้องผูกพันตามหนังสือรับรองต่อไปเมื่อจำเลยที่1ยักยอกเงินของโจทก์ไปจำเลยที่3ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ประเด็นยังไม่วินิจฉัย-ราคาที่ดิน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงราคา
ในคดีก่อนศาลฎีกายกฟ้องโจทก์เพราะศาลไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอท้ายฟ้องได้ โดยศาลฎีกายังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้ดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้จำเลยชำระราคาที่ดินให้โจทก์ จึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยแล้ว อันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยอีก ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การกำหนดราคาที่ดินที่จำเลยจะต้องชดใช้แก่โจทก์ ต้องถือตามราคาในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ไม่ถือตามที่โจทก์เคยตีราคาในการเสียค่าขึ้นศาลในคดีก่อน
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การกำหนดราคาที่ดินที่จำเลยจะต้องชดใช้แก่โจทก์ ต้องถือตามราคาในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ไม่ถือตามที่โจทก์เคยตีราคาในการเสียค่าขึ้นศาลในคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648-1649/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการประเมินค่ารายปีเพื่อคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องพิจารณาจากค่าเช่าที่สมควรและมีเหตุผลสนับสนุน
กรณีที่จะเป็นการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ชำระหนี้รับช่วงสิทธิของผู้รับชำระหนี้มาฟ้องร้องเอาจากผู้ที่ตนชำระหนี้แทน แต่กรณีของคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องจำเลยผู้รับชำระหนี้เสียเอง จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3)
การที่ผู้เช่าชำระหนี้ค่าภาษีแทนผู้ให้เช่าในนามของผู้ให้เช่าตามความผูกพันในสัญญาเช่า ระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่า และพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยอมรับชำระหนี้จากผู้เช่าแล้ว ถือได้ว่าผู้เช่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ เมื่อปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษีเกินไป ผู้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินนั้นคืนได้ ถ้าหากได้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 8 กำหนดให้คิดค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ใช้ค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปี แต่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินแก้หรือคำนวณค่ารายปีใหม่ได้เมื่อมีเหตุให้เห็นว่าค่าเช่าระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรและมีข้อเท็จจริงว่าปรากฏเหตุเช่นนั้น หากค่าเช่าไม่ได้น้อยจนเกินสมควรหรือไม่มีเหตุที่น่าจะเห็นได้ว่าผู้ให้เช่าและผู้เช่าสมยอมกันแล้ว เจ้าพนักงานประเมินก็ต้องประเมินค่ารายปีเพื่อเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามจำนวนค่าเช่าที่ผู้เช่าชำระให้แก่ผู้ให้เช่า
การที่ผู้เช่าชำระหนี้ค่าภาษีแทนผู้ให้เช่าในนามของผู้ให้เช่าตามความผูกพันในสัญญาเช่า ระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่า และพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยอมรับชำระหนี้จากผู้เช่าแล้ว ถือได้ว่าผู้เช่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระหนี้ เมื่อปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษีเกินไป ผู้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีส่วนที่อ้างว่าชำระเกินนั้นคืนได้ ถ้าหากได้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 8 กำหนดให้คิดค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ใช้ค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปี แต่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินแก้หรือคำนวณค่ารายปีใหม่ได้เมื่อมีเหตุให้เห็นว่าค่าเช่าระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรและมีข้อเท็จจริงว่าปรากฏเหตุเช่นนั้น หากค่าเช่าไม่ได้น้อยจนเกินสมควรหรือไม่มีเหตุที่น่าจะเห็นได้ว่าผู้ให้เช่าและผู้เช่าสมยอมกันแล้ว เจ้าพนักงานประเมินก็ต้องประเมินค่ารายปีเพื่อเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามจำนวนค่าเช่าที่ผู้เช่าชำระให้แก่ผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลกรณีเรือล่มจากคลื่น: เหตุสุดวิสัยต้องพิสูจน์ความร้ายแรงผิดปกติ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายหรือบุบสลาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อปรากฏว่าเรือลำเลียงที่จำเลยที่ 1 ใช้ขนส่งจอดอยู่ที่ท่ากำลังบรรทุกสินค้า มีคลื่นจากเรืออื่นมาทำให้เรือลำเลียงนั้นโคลงและล่มลง เมื่อไม่ปรากฏว่าคลื่นนั้นมีความร้ายแรงผิดปกติ จนไม่อาจคาดหมายหรือไม่อาจป้องกันมิให้เรือลำเลียงล่มได้ จำเลยที่ 1 ย่อมคาดหมายได้ว่าจะมีคลื่นมากระทบเรือลำเลียง และอาจมีการระมัดระวังมิให้เรือลำเลียงล่มเพราะถูกคลื่นกระทบได้การที่เรือล่มจึงไม่ใช่ผลบังคับที่ไม่อาจป้องกันได้ และมิใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันของเจ้าหนี้ทำให้ตัวแทนหลุดพ้นความรับผิด แต่เจ้าหนี้ต้องไม่ละเลยการบังคับชำระหนี้
การที่ตัวการให้สัตยาบันต่อการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทนต่อบุคคลภายนอกอันมีผลทำให้นิติกรรมซึ่งไม่ผูกพันตัวการกลับเป็นผูกพันตัวการโดยตรงและทำให้ตัวแทนหลุดพ้นความรับผิดที่มีต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823นั้นไม่ทำให้ตัวแทนหลุดพ้นจากความรับผิดต่อตัวการในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกิจการที่ตนกระทำนอกเหนือขอบอำนาจนั้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา812 จำเลยที่1เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันบ.เป็นลูกค้าได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับสาขาธนาคารโจทก์โดยมีส.เป็นผู้ค้ำประกันก่อนที่จำเลยที่1จะรับหน้าที่เป็นผู้จัดการเมื่อจำเลยที่1เข้ารับหน้าที่ผู้จัดการได้ให้บ.เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินที่ทำสัญญาไว้มากเป็นการเกินขอบอำนาจของผู้จัดการสาขาต่อมาบ.ถึงแก่กรรมธนาคารโจทก์ทราบแล้วไม่ได้ดำเนินการเรียกร้องหรือฟ้องเรียกหนี้จากกองมรดกของบ.ลูกหนี้หรือจากส.ผู้ค้ำประกันทั้งๆที่มีโอกาสจะทำได้จนโจทก์หมดสิทธิฟ้องเพราะขาดอายุความมรดกเมื่อบ.มีทรัพย์สินและโจทก์มีโอกาสจะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงหากดำเนินการฟ้องร้องหนี้นั้นดังนี้การที่โจทก์ไม่ฟ้องร้องย่อมเป็นการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายถือเป็นเหตุที่เจ้าหนี้มีส่วนทำความผิดให้เกิดความเสียหายหรือนัยหนึ่งความเสียหายเกิดจากการละเว้นการกระทำของโจทก์ที่ไม่ยอมบำบัดปัดป้องไม่ให้ความเสียหายเกิดขึ้นจำเลยที่1ซึ่งเป็นตัวแทนผู้กระทำการนอกเหนือขอบอำนาจจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย.(ที่มา-เนติฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบสินค้าบกพร่องและการคิดค่าปรับ สัญญาซื้อขายกำหนดให้สินค้าต้องใช้งานได้จริง
ตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์จะต้องส่งมอบเครื่องสูบน้ำรายการที่ 2 จำนวน 24 เครื่องให้จำเลยภายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2521 โจทก์ส่งมอบในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2521 จำนวน 12 เครื่อง ส่วนอีก 12 เครื่อง โจทก์จำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ว่า ส่งในวันที่ 3 หรือวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2521 ปรากฏว่าเครื่องสูบน้ำทำงานไม่ได้ เนื่องจากการต่อท่อไม่ถูกต้อง โจทก์จึงขอรับเครื่องสูบน้ำทั้ง 24 เครื่องไปแก้ไขใหม่แล้วส่งกลับมาให้จำเลยเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2522 กรรมการของจำเลยได้ตรวจรับเรียบร้อยเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2522 สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยได้กำหนดไว้ในข้อ ซี 16 ว่า ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ภายในกำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากผู้ขายได้ เป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 5 ของราคาสินค้าที่ยังไม่ได้ส่งมอบ เมื่อโจทก์ส่งของเกินกำหนดเวลาดังกล่าวก็ต้องถือว่าส่งมอบล่าช้าแล้ว และเมื่อปรากฏว่าเครื่องสูบน้ำที่โจทก์ส่งใช้งานไม่ได้จนโจทก์ต้องรับคืนไปแก้ไข และส่งมาให้จำเลยในวันที่ 16 ตุลาคม 2522 นั้นเอง ความล่าช้าเกิดขึ้นเพราะสินค้าของโจทก์บกพร่องใช้งานไม่ได้ โจทก์จึงต้องรับผิดในความล่าช้านั้น จะถือว่าโจทก์ส่งมอบเครื่องสูบน้ำแล้ว ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2521 ไม่ได้ เพราะการส่งมอบเครื่องสูบน้ำของโจทก์ก็คือ การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายนั่นเอง ตามสัญญานั้นโจทก์จะต้องส่งเครื่องสูบน้ำที่มีอุปกรณ์ครบถ้วนและต้องเป็นเครื่องสูบน้ำที่อยู่ในสภาพใช้งานได้ เมื่อเครื่องสูบน้ำขาดอุปกรณ์บางชิ้นและใช้งานไม่ได้ ดังนี้จำเลยย่อมมีสิทธิจะปฏิเสธไม่รับเครื่องสูบน้ำนั้นได้ โจทก์จะบังคับให้จำเลยรับเครื่องสูบน้ำดังกล่าวไว้หาได้ไม่ และจำเลยก็ไม่ยอมรับเครื่องสูบน้ำนั้นจนกระทั่งโจทก์ได้แก้ไขจนใช้งานได้แล้ว การที่โจทก์ส่งเครื่องสูบน้ำมาให้จำเลยในตอนแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2521 จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งมอบอันเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ต้องถือว่าโจทก์เพิ่งส่งมอบเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2522 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ส่งเครื่องสูบน้ำที่อยู่ในสภาพใช้งานได้ แม้สัญญาซื้อขายจะไม่ได้ระบุว่า การส่งมอบจะต้องทำอย่างไร จึงจะถือว่าสมบูรณ์ แต่การตีความว่า โจทก์มีสิทธิส่งเครื่องสูบน้ำที่ใช้งานไม่ได้นั้น ย่อมไม่เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตแต่อย่างไรก็ดี จำเลยมีส่วนทำให้การส่งมอบล่าช้าอยู่เหมือนกัน โจทก์ส่งเครื่องสูบน้ำให้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2521 จำเลยเพิ่งตรวจสอบเมื่อเดือนสิงหาคม 2521 จึงทราบว่าเครื่องสูบน้ำขาดอุปกรณ์และต่อมาจึงทราบว่าใช้งานไม่ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเสียหายอะไรเป็นพิเศษจากการส่งมอบล่าช้า จึงเห็นสมควรลดค่าปรับลงจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้อีกซึ่งศาลมีอำนาจลดได้เองตามบทบัญญัติ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในศาลล่างแล้ว ข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยก็ไม่มีกฎหมายสนับสนุนอีกด้วย จึงฟังไม่ขึ้น
ข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในศาลล่างแล้ว ข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยก็ไม่มีกฎหมายสนับสนุนอีกด้วย จึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้สัญญาซื้อขาย: การส่งมอบสินค้าบกพร่องและการคิดดอกเบี้ยค่าปรับ
ตามสัญญาซื้อขายโจทก์จะต้องส่งมอบเครื่องสูบน้ำให้จำเลยภายในวันที่3กุมภาพันธ์2521โจทก์ส่งเครื่องสูบน้ำให้จำเลยตอนแรกในเดือนกุมภาพันธ์2521แต่เครื่องสูบน้ำใช้การไม่ได้โจทก์ต้องรับคืนไปแก้ไขและมาส่งให้จำเลยในวันที่16ตุลาคม2521ดังนี้การส่งมอบเครื่องสูบน้ำของโจทก์คือการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายตามสัญญานั้นโจทก์จะต้องส่งมอบเครื่องสูบน้ำที่มีอุปกรณ์ครบถ้วนและต้องเป็นเครื่องสูบน้ำที่อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เมื่อเครื่องสูบน้ำใช้งานไม่ได้โจทก์จะบังคับให้จำเลยรับไว้ไม่ได้การที่โจทก์ส่งเครื่องสูบน้ำมาให้จำเลยในตอนแรกยังถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งมอบอันเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายต้องถือว่าโจทก์ส่งมอบเมื่อวันที่16ตุลาคม2522เป็นการส่งมอบล่าช้าจำเลยเรียกเบี้ยปรับได้ เบี้ยปรับนั้นศาลมีอำนาจลดได้เองตามป.พ.พ.มาตรา383 เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันใดแล้วจำเลยมิได้โต้แย้งศาลฎีกาก็ให้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวการแจ้งขอหักกลบลบหนี้นั้นไม่มีบทกฎหมายสนับสนุนว่าจะไม่ต้องชำระดอกเบี้ย ภาษีหักณ ที่จ่ายตามป.รัษฎากรมาตรา69นั้นจำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินมีอำนาจดำเนินการได้เองอยู่แล้วศาลไม่จำต้องพิพากษาให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526-1527/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าจากการทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธมีคม
จำเลยที่3พูดขู่จะเอาเงินจากพ. เมื่อไม่ได้ดังที่ตนขู่จำเลยที่1ที่3กับพวกก็ได้ร่วมกันทำร้ายพ. ทันทีดังนี้การกระทำของจำเลยที่1ที่3กับพวกเป็นความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์แล้ว จำเลยที่1ที่3ช่วยกันรุมทำร้ายพ. เมื่อพ. เรียกให้คนมาช่วยผู้เสียหายกับพวกจะมาช่วย พ. แต่ไม่ทันที่จะเข้ามาช่วยก็ถูกจำเลยที่3กับพวกอีกเกือบ20คนใช้ดาบแทงฟันและใช้แป๊บน้ำตีทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บทุกคนดังนี้ถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยที่1ที่3กับพวกร่วมกันทำร้ายพ. และพวกที่มาช่วยนั้นมีลักษณะเป็นการชุลมุน มีดดาบซึ่งเป็นอาวุธที่ใช้เป็นมีดดาบปลายแหลมยาวประมาณ1แขนและผลของการกระทำของจำเลยเป็นผลให้ผู้ถูกทำร้ายบางคนได้รับบาดเจ็บถึงกระดูกซี่โครงหักบางคนถูกแทงถึงไส้ทะลักบางคนถึงกับเอ็นของนิ้วกลางนิ้วนางและนิ้วก้อยขวาฉีกขาดเพราะยกมือขึ้นรับดาบเห็นได้ว่าจำเลยที่1ที่3มีเจตนาฆ่าการกระทำของจำเลยที่1ที่3จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเพราะการกระทำของจำเลยที่1ที่3กับพวกในตอนหลังนี้ก็เพื่อปกปิดการกระทำผิดหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นความผิดที่ตนกับพวกกระทำไปแล้วการกระทำของจำเลยที่1ที่3จึงเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา289(7)ประกอบด้วยมาตรา80.