พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2146/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลทหาร: ผู้ประกันไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลพลเรือนได้
คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลมณฑลทหารบกที่ 2(ศาลจังหวัดชลบุรี)นั้น เมื่อศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันและสั่งยกคำร้องที่ขอลดค่าปรับจึงเป็นคำสั่งของศาลมณฑลทหารบกที่ 2(ศาลจังหวัดชลบุรี) อันเป็นคำสั่งของศาลทหาร มิใช่คำสั่งของศาลจังหวัดชลบุรีในฐานะศาลพลเรือนเป็นผู้สั่ง ผู้ประกันจะอุทธรณ์คำสั่งของศาลทหารไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นศาลพลเรือนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง และการรับสารภาพที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเดิม
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวงนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องคดีด้วยลายลักษณ์อักษรเพียงแต่มีรายละเอียดพอสมควรให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็เป็นการเพียงพอแล้ว ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 อีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจเข้าทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9ส่วนจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมมีความหมายว่าแต่ละฝ่ายมีพวกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้ร่วมกันกระทำความผิดในการทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะเป็นตัวการซึ่งโจทก์ได้อ้าง ป.อ. มาตรา83 มาด้วยแล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยคนใดชกต่อยหรือทำร้ายจำเลยคนใด ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองฝ่ายต่างทำร้ายซึ่งกันและกันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1,2,4 และ 6 มีบาดแผลดังที่บรรยายรายละเอียดมาในฟ้องแล้ว ทั้งระบุว่าเป็นอันตรายแก่กายด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับยอมรับในข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าบาดแผลดังกล่าวเป็นอันตรายแก่กายจริง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าบาดแผลนั้นยังไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว.
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองฝ่ายต่างทำร้ายซึ่งกันและกันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1,2,4 และ 6 มีบาดแผลดังที่บรรยายรายละเอียดมาในฟ้องแล้ว ทั้งระบุว่าเป็นอันตรายแก่กายด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับยอมรับในข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าบาดแผลดังกล่าวเป็นอันตรายแก่กายจริง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าบาดแผลนั้นยังไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาด้วยวาจาไม่เคลือบคลุม หากรายละเอียดเพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ และการรับสารภาพแล้ว โต้เถียงข้อเท็จจริงไม่ได้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวงนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องคดีด้วย ลายลักษณ์อักษรเพียงแต่มีรายละเอียดพอสมควร ให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5 ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9 อีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจเข้าทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9 ส่วนจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5 ย่อมมีความหมายว่าแต่ละฝ่ายมีพวกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้ร่วมกันกระทำความผิดในการทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะเป็นตัวการ ซึ่งโจทก์ได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 มาด้วยแล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยคนใดชกต่อยหรือทำร้ายจำเลยคนใดก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองฝ่ายต่างทำร้ายซึ่งกันและกันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1, 2, 4 และ 6 มีบาดแผลดังที่บรรยายรายละเอียดมาในฟ้องแล้ว ทั้งระบุว่าเป็นอันตรายแก่กายด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับยอมรับในข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่า บาดแผลดังกล่าวเป็นอันตรายแก่กายจริง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าบาดแผลนั้นยังไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองฝ่ายต่างทำร้ายซึ่งกันและกันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1, 2, 4 และ 6 มีบาดแผลดังที่บรรยายรายละเอียดมาในฟ้องแล้ว ทั้งระบุว่าเป็นอันตรายแก่กายด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับยอมรับในข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่า บาดแผลดังกล่าวเป็นอันตรายแก่กายจริง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าบาดแผลนั้นยังไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องทำร้ายร่างกายร่วมกัน: ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ และการรับสารภาพมีผลอย่างไร
การฟ้องคดีอาญาด้วย วาจาต่อ ศาลแขวงนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องคดีด้วย ลายลักษณ์อักษรเพียงแต่ มีรายละเอียดพอสมควร ให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ ดี ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9 อีกฝ่ายหนึ่ง สมัครใจเข้าทำร้ายร่างกายซึ่ง กันและกัน โดย จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9 ส่วนจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5 ย่อมมีความหมายว่าแต่ละฝ่ายมีพวกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้ ร่วมกันกระทำความผิดในการทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง ในฐานะ เป็นตัวการ ซึ่ง โจทก์ได้ อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 มาด้วย แล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยคนใดชกต่อยหรือทำร้ายจำเลยคนใดก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองฝ่ายต่าง ทำร้ายซึ่ง กันและกันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 124 และ 6 มีบาดแผลดังที่บรรยายรายละเอียดมาในฟ้องแล้ว ทั้งระบุว่าเป็นอันตรายแก่กายด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับยอมรับในข้อเท็จจริงตาม คำฟ้องว่า บาดแผลดังกล่าวเป็นอันตรายแก่กายจริง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าบาดแผลนั้นยังไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดมั่วสุมก่อความวุ่นวายและขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน: พิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
ป.อ. มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ซึ่งเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ดังนั้นมาตรา 216 จึงเป็นความผิดต่างหากอีกบทหนึ่ง ด้วยเหตุนี้หากเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกแล้ว แต่ผู้กระทำไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงานและได้กระทำต่อไปจนเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ผู้กระทำก็ย่อมมีความผิดทั้งมาตรา215 และ 216 อันเป็นกรรมเดียวที่เกิดจากการมั่วสุมและไม่เลิกตามคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจตนาเดียวกัน จึงต้องลงโทษตามมาตรา 216 ซึ่งเป็นบทหนัก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด ม.215-216 ป.อาญา: การมั่วสุมขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจนเกิดความวุ่นวาย ถือเป็นกรรมเดียว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ซึ่งเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นลงมือใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215หากเจ้าพนักงานมีคำสั่งให้เลิกแล้วผู้กระทำไม่ยอมเลิกและได้กระทำการต่อไปจนเป็นความสำเร็จตามมาตรา 215 ผู้กระทำย่อมมีความผิดทั้งมาตรา 215 และ 216 อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวเพราะเป็นเจตนาเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดมั่วสุมและขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน: ลงโทษทั้งความผิดฐานมั่วสุมและขัดคำสั่งได้
ตาม ป.อ. มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ซึ่งการมั่วสุมนั้นยังไม่ถึงขั้นลงมือกระทำการอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 หากต่อมาผู้กระทำยังมั่วสุมต่อและได้กระทำการจนเป็นความสำเร็จตามมาตรา 215 ผู้กระทำย่อมมีความผิดทั้งมาตรา 215 และ 216เป็นการกระทำผิดกรรมเดียวจากเจตนาเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตามมาตรา 215 และ 216 ประมวลกฎหมายอาญา: การมั่วสุมและไม่เลิกตามคำสั่งเจ้าพนักงานเป็นกรรมเดียว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ซึ่งเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ดังนั้น มาตรา 216 จึงเป็นความผิดต่างหากอีกบทหนึ่งหากเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกแล้ว แต่ผู้กระทำไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงานและได้กระทำการต่อไปเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ผู้กระทำก็ย่อมมีความผิดทั้งตามมาตรา 215 และมาตรา 216 อันเป็นกรรมเดียวกัน ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ข้อ (1) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2529เวลากลางวัน จำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและร่วมกันใช้ก้อนอิฐ ก้อนหินและวัตถุของแข็งเป็นอาวุธขว้างปาประทุษร้ายเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต ในขณะที่ทำการห้ามปรามมิให้มีการขว้างปาทำลายศาลาประชาคมกับขว้างปาเผาทำลายโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลินและโรงงานไทยแลนด์แทนทาลั่มอินดัสตรี จำกัดข้อ (2) เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ตสั่งให้จำเลยทั้งสี่กับพวกที่มั่วสุมเพื่อกระทำผิดตามฟ้องข้อ (1) ให้เลิกไป แต่จำเลยกับพวกดังกล่าวไม่ยอมเลิก ดังนี้ ตามคำฟ้องข้อ (1) เป็นการบรรยายฟ้องในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ส่วนฟ้องข้อ (2) เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 ซึ่งตามฟ้อง (2)นี้มีความหมายเพียงว่า เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกในขณะที่จำเลยกับพวกกำลังมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 เท่านั้นข้อความตามฟ้องข้อ (2) มิได้มีความหมายว่าในขณะที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกนั้น จำเลยกับพวกได้ลงมือกระทำการครบถ้วนตามฟ้องข้อ (1) อันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยได้กระทำการต่อไปตามฟ้องข้อ (1) โดยไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 215 อีกบทหนึ่งอันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตามมาตรา 216 ตามฟ้องข้อ (2) และต้องลงโทษตามมาตรา 216 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด ม.215 และ ม.216 ประมวลกฎหมายอาญา: การมั่วสุมและขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเป็นกรรมเดียว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ไม่ยอมเลิกการมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ซึ่งเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขึ้นที่ผู้กระทำได้ลงมือใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายอันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ดังนั้น มาตรา 216 จึงเป็นความผิดต่างหากอีกบทหนึ่งหากเจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกแล้ว แต่ผู้กระทำไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงานและได้กระทำการต่อไปจนเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 ผู้กระทำก็ย่อมมีความผิดทั้งตามมาตรา 215 และมาตรา 216 อันเป็นกรรมเดียวกัน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ข้อ (1) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2529 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและร่วมกันใช้ก้อนอิฐ ก้อนหิน และวัตถุของแข็งเป็นอาวุธขว้างปาประทุษร้ายเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต ในขณะที่ทำการห้ามปรามมิให้มีการขว้างปาทำลายศาลาประชาคมกับขว้างปาเผาทำลายโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน และ โรงงานไทยแลนด์แทนทาลั่ม อินดัสตรี จำกัด ข้อ (2) เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ตสั่งให้จำเลยทั้งสี่กับพวกที่มั่วสุมเพื่อกระทำผิดตามฟ้องข้อ (1) ให้เลิกไป แต่จำเลยกับพวกดังกล่าวไม่ยอมเลิก ดังนี้ ตามฟ้องข้อ (1) เป็นการบรรยายฟ้องในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ส่วนฟ้อง ข้อ 2 เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 ซึ่งตามฟ้องข้อ (2) นี้มีความหมายเพียงว่า เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกในขณะที่จำเลยกับพวกกำลังมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 เท่านั้น ข้อความตามฟ้องข้อ (2) มิได้มีความหมายว่า ในขณะที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกนั้น จำเลยกับพวกได้ลงมือกระทำการครบถ้วนตามฟ้องข้อ (1) อันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยได้กระทำการต่อไปตามฟ้องข้อ (1) โดยไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 215 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตามมาตรา 216 ตามฟ้องข้อ (2) และต้องลงโทษตามมาตรา 216 อันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ข้อ (1) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2529 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและร่วมกันใช้ก้อนอิฐ ก้อนหิน และวัตถุของแข็งเป็นอาวุธขว้างปาประทุษร้ายเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต ในขณะที่ทำการห้ามปรามมิให้มีการขว้างปาทำลายศาลาประชาคมกับขว้างปาเผาทำลายโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน และ โรงงานไทยแลนด์แทนทาลั่ม อินดัสตรี จำกัด ข้อ (2) เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ตสั่งให้จำเลยทั้งสี่กับพวกที่มั่วสุมเพื่อกระทำผิดตามฟ้องข้อ (1) ให้เลิกไป แต่จำเลยกับพวกดังกล่าวไม่ยอมเลิก ดังนี้ ตามฟ้องข้อ (1) เป็นการบรรยายฟ้องในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 ส่วนฟ้อง ข้อ 2 เป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 ซึ่งตามฟ้องข้อ (2) นี้มีความหมายเพียงว่า เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกในขณะที่จำเลยกับพวกกำลังมั่วสุมกันเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 เท่านั้น ข้อความตามฟ้องข้อ (2) มิได้มีความหมายว่า ในขณะที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งให้เลิกนั้น จำเลยกับพวกได้ลงมือกระทำการครบถ้วนตามฟ้องข้อ (1) อันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215 แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยได้กระทำการต่อไปตามฟ้องข้อ (1) โดยไม่เลิกตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 215 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตามมาตรา 216 ตามฟ้องข้อ (2) และต้องลงโทษตามมาตรา 216 อันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันจากการไม่นำตัวจำเลยมาศาลตามกำหนด ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรม
ศาลชั้นต้นออกหมายนัดถึงนายประกันให้ส่งตัวจำเลยไปศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ส่งหมายให้นายประกันมิได้ เพราะนายประกันระบุที่อยู่ในคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไม่ชัดเจนเพียงพอศาลชั้นต้นจึงแจ้งวันนัดโดยปิดประกาศหน้าศาลแทนซึ่งมีผลใช้ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ฉะนั้นเมื่อนายประกันไม่นำตัวจำเลยไปฟังคำพิพากษาตามกำหนด ต้องถือว่านายประกันผิดสัญญาประกัน
การที่นายประกันผิดสัญญาประกันเป็นเหตุให้ศาลต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปและออกหมายจับจำเลย ตลอดจนต้องอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ลับหลังจำเลยไปแล้วประมาณ 3 เดือนนายประกันจึงสามารถนำตัวจำเลยส่งศาลได้ นับว่าเป็นการเสียหายต่อกระบวนพิจารณาของศาล เมื่อศาลอุทธรณ์ลดค่าปรับให้กึ่งหนึ่งแล้วจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดค่าปรับลงไปให้อีกแม้นายประกันจะมิได้เป็นนายประกันอาชีพ และไม่มีความสามารถหาเงินมาชำระค่าปรับได้ก็มิใช่เป็นเหตุผลที่ศาลจะลดค่าปรับให้ เพราะเป็นเรื่องที่นายประกันได้รู้ถึงความผูกพันอยู่แล้วก่อนทำสัญญาประกัน.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่นายประกันผิดสัญญาประกันเป็นเหตุให้ศาลต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปและออกหมายจับจำเลย ตลอดจนต้องอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ลับหลังจำเลยไปแล้วประมาณ 3 เดือนนายประกันจึงสามารถนำตัวจำเลยส่งศาลได้ นับว่าเป็นการเสียหายต่อกระบวนพิจารณาของศาล เมื่อศาลอุทธรณ์ลดค่าปรับให้กึ่งหนึ่งแล้วจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดค่าปรับลงไปให้อีกแม้นายประกันจะมิได้เป็นนายประกันอาชีพ และไม่มีความสามารถหาเงินมาชำระค่าปรับได้ก็มิใช่เป็นเหตุผลที่ศาลจะลดค่าปรับให้ เพราะเป็นเรื่องที่นายประกันได้รู้ถึงความผูกพันอยู่แล้วก่อนทำสัญญาประกัน.(ที่มา-ส่งเสริม)