พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยจากประกาศคณะปฏิวัติ: กรณีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายและอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด จำเลยที่ 1 ออกคำสั่งให้ปลัดเทศบาลเมือง จำเลยที่ 5 จดข้อความลงในทะเบียนบ้านว่า โจทก์ทั้งหกเป็นญวนอพยพ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 1 และปลัดกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนี้ แม้การถอนสัญชาติไทยจะเป็นผลของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มิใช่เป็นการกระทำของจำเลย แต่ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติของโจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพราะจำเลยเพิกถอนสัญชาติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรของนาง ด. คนสัญชาติไทย เกิดกับ อ. คนสัญชาติญวน โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 เกิดกับ ม. คนสัญชาติญวน ส่วนโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 เกิดกับ น.โจทก์ทั้งหกเกิดในราชอาณาจักรไทยและบิดาของโจทก์ทุกคนเป็นบิดาที่มิชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ โจทก์ที่ 1 ไม่ถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เพราะ อ. เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทย โดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าว ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ที่ 1 มารดาของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คนต่างด้าว และ ม. ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 (2) อันจะเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ถูกถอนสัญชาติไทย กรณีเช่นเดียวกับ โจทก์ที่ 3 ถึงโจทก์ที่ 6 ที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดามิได้เป็นคนต่างด้าว จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยเช่นกัน
โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรของนาง ด. คนสัญชาติไทย เกิดกับ อ. คนสัญชาติญวน โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 เกิดกับ ม. คนสัญชาติญวน ส่วนโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 เกิดกับ น.โจทก์ทั้งหกเกิดในราชอาณาจักรไทยและบิดาของโจทก์ทุกคนเป็นบิดาที่มิชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ โจทก์ที่ 1 ไม่ถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เพราะ อ. เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทย โดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าว ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ที่ 1 มารดาของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คนต่างด้าว และ ม. ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 (2) อันจะเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ถูกถอนสัญชาติไทย กรณีเช่นเดียวกับ โจทก์ที่ 3 ถึงโจทก์ที่ 6 ที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดามิได้เป็นคนต่างด้าว จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยโดยประกาศคณะปฏิวัติ บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่กระทบสัญชาติ
โจทก์ฟ้องว่าผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3ออกคำสั่งให้ปลัดเทศบาลจำเลยที่5จดข้อความลงในทะเบียนบ้านว่าโจทก์ทั้งหกเป็นญวนอพยพโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่1และปลัดกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่2ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่3และที่5ต้องรับผิดร่วมด้วยดังนี้แม้การถอนสัญชาติไทยจะเป็นผลของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337มิใช่เป็นการกระทำของจำเลยแต่ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติของโจทก์ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพราะจำเลยเพิกถอนสัญชาติโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่1เป็นบุตรของนางด. คนสัญชาติไทยเกิดกับอ.คนสัญชาติญวนโจทก์ที่2เป็นบุตรของโจทก์ที่1เกิดกับม.คนสัญชาติญวนส่วนโจทก์ที่3ถึงที่6เป็นบุตรของโจทก์ที่1เกิดกับน. โจทก์ทั้งหกเกิดในราชอาณาจักรไทยและบิดาของโจทก์ทุกคนเป็นบิดาที่มิชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้โจทก์ที่1ไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337เพราะอ. เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่1บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยโดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ที่1มารดาของโจทก์ที่2ไม่ใช่คนต่างด้าวและม.ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่2กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ข้อ1(2)อันจะเป็นผลให้โจทก์ที่2ถูกถอนสัญชาติไทยกรณีเช่นเดียวกับโจทก์ที่3ถึงโจทก์ที่6ที่โจทก์ที่1ซึ่งเป็นมารดามิได้เป็นคนต่างด้าวจึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำคู่ความและการพิจารณาคดีใหม่ตามคำสั่งศาลฎีกา การแก้ไขคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป
คำร้องขอแก้ไขฟ้อง คำร้องขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งเป็นการตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ จึงเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (5) เมื่อคู่ความยื่นคำร้องเข้ามาและศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 คำสั่งนี้จึงมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 ซึ่งทำให้ประเด็นที่โจทก์ตั้งขึ้นโดยคำร้องแก้ไขคำฟ้องและคำร้องแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งเสร็จไป โจทก์อุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามมาตรา 228 (3) คำสั่งของศาลที่สั่งยกคำร้องจึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ซึ่งโจทก์ได้ยื่นภายหลังจากที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้โดยศาลฎีกาไม่ได้กำหนดประเด็นและไม่ได้กำหนดหน้าที่นำสืบให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามคำสั่งศาลฎีกา ศาลชั้นต้นดำเนินการตามคำสั่งศาลฎีกา ก็ชอบที่จะปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ทำการชี้สองสถานหรือทำการสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องและขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้ กรณีไม่ใช่ล่วงเลยการชี้สองสถานและวันสืบพยานจนศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นการพิจารณาไปแล้ว เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ถูกคำพิพากษาศาลฎีกายกเสียแล้ว
การขอแก้ไขคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะขอแก้ไขได้แม้เป็นการเพิ่มเติม ข้อเท็จจริงหรือสละข้อเท็จจริงเพื่อให้ข้อหาที่ตั้งไว้เดิมบริบูรณ์ แต่ยังคงให้จำเลยรับผิดตามเดิม ส่วนการขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งแม้จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ย่อมกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 (2)(3)
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ซึ่งโจทก์ได้ยื่นภายหลังจากที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้โดยศาลฎีกาไม่ได้กำหนดประเด็นและไม่ได้กำหนดหน้าที่นำสืบให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามคำสั่งศาลฎีกา ศาลชั้นต้นดำเนินการตามคำสั่งศาลฎีกา ก็ชอบที่จะปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ทำการชี้สองสถานหรือทำการสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องและขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้ กรณีไม่ใช่ล่วงเลยการชี้สองสถานและวันสืบพยานจนศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นการพิจารณาไปแล้ว เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ถูกคำพิพากษาศาลฎีกายกเสียแล้ว
การขอแก้ไขคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะขอแก้ไขได้แม้เป็นการเพิ่มเติม ข้อเท็จจริงหรือสละข้อเท็จจริงเพื่อให้ข้อหาที่ตั้งไว้เดิมบริบูรณ์ แต่ยังคงให้จำเลยรับผิดตามเดิม ส่วนการขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งแม้จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ย่อมกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 (2)(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังศาลฎีกาพิพากษาให้พิจารณาใหม่ และการไม่ถือว่าเป็นการล่วงเลยการพิจารณา
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง คำร้องขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งเป็นการตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ จึงเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) เมื่อคู่ความยื่นคำร้องและศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องตามมาตรา 180คำสั่งนี้จึงมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18ซึ่งทำให้ประเด็นที่โจทก์ตั้งขึ้นโดยคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งเสร็จไป โจทก์อุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามมาตรา 228(3) เพราะไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นงดสืบพยาน แล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ทำการชี้สองสถานหรือทำการสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องและขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้กรณีไม่ใช่ล่วงเลยการชี้สองสถานและวันสืบพยานจนศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นการพิจารณาไปแล้ว เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ถูกคำพิพากษาศาลฎีกายกเสียแล้ว การขอแก้ไขคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะขอแก้ไขได้แม้เป็นการเพิ่มเติม ข้อเท็จจริงหรือสละข้อเท็จจริงเพื่อให้ข้อหาที่ตั้ง ไว้เดิม แต่ยังคงให้จำเลยรับผิดตามเดิม ส่วนการขอแก้ไขคำให้การ แก้ฟ้องแย้ง แม้จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ ย่อมกระทำได้ ตามมาตรา 179(2)(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยผิดตัวในคดีเช็ค ศาลไม่ถือว่าเป็นการพิจารณาคดีโดยไม่ชอบ
เดิมโจทก์ระบุในคำฟ้องทั้งสองสำนวนว่า นายพรเทพ คันตะปุระ เป็นจำเลยแล้ว โจทก์ขอแก้ชื่อจำเลย 2 ครั้ง ครั้งแรกขอแก้จาก "นายพรเทพ" เป็น "นายพลเทพ" ครั้งที่สองขอแก้เป็น "นายพรเทพหรือนายพลเทพ" โดยอ้างว่า จำเลยใช้ชื่อดังกล่าวทั้งสองชื่อ ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้แก้ทั้งสองครั้ง แล้วศาลชั้นต้นก็ได้สืบพยานโจทก์ต่อหน้าจำเลยคนนี้ตลอดมา ซึ่งจำเลยก็เป็นนายพรเทพตัวจริง ตามที่โจทก์ฟ้อง มิใช่ผู้อื่นมาสมอ้างว่าเป็นนายพรเทพแต่อย่างใดไม่ จึงถือไม่ได้ว่า ศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาคดีต่อหน้าจำเลยอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดพลาด
โจทก์ยอมรับว่าโจทก์ฟ้องจำเลยผิดตัว เท่ากับยอมรับว่า จำเลยมิใช่ผู้กระทำผิด ต้องยกฟ้อง
โจทก์ยอมรับว่าโจทก์ฟ้องจำเลยผิดตัว เท่ากับยอมรับว่า จำเลยมิใช่ผู้กระทำผิด ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361-1372/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถต้องรับผิดต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ แม้จะทำสัญญาประกันภัย และอายุความไม่ตัดสิทธิผู้รับประกันภัย
จำเลยที่1มีชื่อเป็นคู่สัญญาซื้อรถบรรทุกคันเกิดเหตุและมีชื่อเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์นั้นไว้กับจำเลยร่วมเมื่อเกิดเหตุรถชนกันขึ้นอ. บุตรชายของจำเลยที่2และเป็นผู้มีส่วนในการดำเนินกิจการของจำเลยที่1อยู่ด้วยได้ให้ถ้อยคำกับพนักงานสอบสวนว่ารถเป็นของจำเลยที่1ส. เป็นคนขับรถของจำเลยที่1โดยในวันเกิดเหตุอ. ได้สั่งให้ส. ขับรถเอามันเส้นของจำเลยที่1ไปส่งที่อำเภอบางประกง นอกจากนี้จำเลยที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ได้มอบอำนาจให้อ. ไปรับรถคืนจากพนักงานสอบสวนโดยอ้างว่าเป็นรถของจำเลยที่1พยานหลักฐานต่างๆเหล่านี้รับฟังได้ว่ารถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเป็นของจำเลยที่1และส. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่1ได้ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่1 เมื่อโจทก์นำสืบให้ปรากฏแล้วว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์แม้โจทก์จะไม่นำสืบหรือนำสืบไม่ได้ว่าค่าเสียหายเป็นจำนวนเท่าใดศาลก็อาจกำหนดให้ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด แม้จำเลยที่1ที่2จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเป็นเวลาเกิน1ปีนับแต่วันละเมิดแต่ได้เรียกเข้ามาในฐานะเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่1ที่2จำเลยร่วมจึงไม่อาจยกอายุความละเมิดขึ้นต่อสู้ให้ยกฟ้องคดีโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ต้องเป็นไปตามกฎหมายและมีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ
จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ในระหว่าง เวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ใช้บังคับ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ออกมาใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 แล้ว อำนาจของโจทก์ที่สั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ ก็เฉพาะแต่กรณีตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 9 เท่านั้น ฯ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารหาได้ไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบังคับท้องถิ่น โจทก์ก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ กรณีของจำเลยต้องด้วย มาตรา 43 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯ ที่อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องได้ แม้จำเลยจะเคยยื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคารและไม่ได้รับอนุญาต เพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่า ความสูงของอาคารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้ได้ก็ตาม แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างต่อเติมฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเติมอาคารให้โจทก์พิจารณาในเหตุอื่นได้อีก
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ ก็เฉพาะแต่กรณีตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 9 เท่านั้น ฯ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารหาได้ไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบังคับท้องถิ่น โจทก์ก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ กรณีของจำเลยต้องด้วย มาตรา 43 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯ ที่อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องได้ แม้จำเลยจะเคยยื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคารและไม่ได้รับอนุญาต เพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่า ความสูงของอาคารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้ได้ก็ตาม แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างต่อเติมฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเติมอาคารให้โจทก์พิจารณาในเหตุอื่นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้ออาคารต้องเป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคาร หากไม่ผิดกฎหมายหรือแก้ไขได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจสั่งรื้อ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา โดยมีบทบัญญัติให้ลงโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืนในบางกรณีด้วย แต่โจทก์หาได้ฟ้องขอให้ลงโทษทางอาญาไม่ คงฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคาร ซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่งเท่านั้นโจทก์จึงฟ้องและดำเนินคดีที่ศาลแพ่งได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่มีการก่อสร้าง หรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างหรือต่อเติมนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นซึ่งระบุไว้ใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 42เท่านั้น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้าง หรือต่อเติมนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย หากการก่อสร้างหรือต่อเติมนั้นไม่ผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือผิดแต่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานจะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารหาได้ไม่ เมื่อการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารของจำเลยไม่ผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น โจทก์ก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ กรณีของจำเลยต้องด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 43 ที่อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องได้ แม้จำเลยจะเคยยื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคารชั้นที่ 5และไม่ได้รับอนุญาต เพราะโจทก์อ้างว่าความสูงของอาคารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้ได้เมื่อจำเลยมิได้ก่อสร้างต่อเติมฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเติมอาคารให้โจทก์พิจารณาในเหตุอื่นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดิน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษ
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 นายอำเภอมีอำนาจแต่งตั้งผู้ที่ได้รับการอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ออกไปพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดินได้และให้เจ้าหน้าที่นั้นเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ป.เป็นลูกจ้างซึ่งนายอำเภอนางรองมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนสิทธิและการทำประโยชน์เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศ ป.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่พนักงานตามที่กฎหมายบัญญัติ
ที่ดินของจำเลยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่แล้ว ต่อมาจำเลยขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศสำหรับที่ดินแปลงนั้นให้แก่จำเลยอีก โดยจำเลยแจ้งต่อ ป.เจ้าหน้าที่พิสูจน์สอบสวนที่นายอำเภอแต่งตั้งดังกล่าวข้างต้นว่าที่ดินแปลงดังกล่าวยังไม่เคยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาก่อน ทางราชการจึงออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แม้ภายหลังผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์จะสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเพราะเหตุจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ก็เห็นได้ว่าเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
ป.เป็นลูกจ้างซึ่งนายอำเภอนางรองมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนสิทธิและการทำประโยชน์เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศ ป.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่พนักงานตามที่กฎหมายบัญญัติ
ที่ดินของจำเลยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่แล้ว ต่อมาจำเลยขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศสำหรับที่ดินแปลงนั้นให้แก่จำเลยอีก โดยจำเลยแจ้งต่อ ป.เจ้าหน้าที่พิสูจน์สอบสวนที่นายอำเภอแต่งตั้งดังกล่าวข้างต้นว่าที่ดินแปลงดังกล่าวยังไม่เคยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาก่อน ทางราชการจึงออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แม้ภายหลังผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์จะสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเพราะเหตุจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ก็เห็นได้ว่าเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานเพื่อออก น.ส.3ก. แม้จะเคยเป็นข้าราชการและรู้กฎหมาย การกระทำเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
กรมที่ดินจ้าง ป.เป็นลูกจ้างชั่วคราว และนายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้ง ป.ให้ปฏิบัติหน้าที่พิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดิน ป.จึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 จำเลยซื้อที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) อยู่แล้วจำเลยได้ไปขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก)โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศสำหรับที่ดินนั้นอีก โดยแจ้งต่อป. เจ้าหน้าที่พิสูจน์สอบสวนว่าที่ดินดังกล่าวยังไม่เคยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาก่อน จนทางราชการออก น.ส.3 ก. ให้จำเลย แต่ในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งเพิกถอนเพราะเหตุจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังนี้ เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137