พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหา เริ่มนับเมื่อถึงสถานีตำรวจ ไม่ใช่นับแต่เวลาจับกุม
ผู้ต้องหาถูกจับกุมเวลา 23.50 นาฬิกา ของวันที่ 12 กันยายน 2527และถูกนำตัวมาถึงสถานีตำรวจหลังเวลา 00.00 นาฬิกาของวันที่13 กันยายน 2527 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ให้เริ่มนับเวลาควบคุมตั้งแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังต่อศาลในวันที่ 19 กันยายน 2527 จึงยังไม่เกินเจ็ดวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหา: เริ่มเมื่อถึงสถานีตำรวจ ไม่ใช่เวลาจับกุม
ผู้ต้องหาถูกจับกุมเวลา23.50นาฬิกาของวันที่12กันยายน2527และถูกนำตัวมาถึงสถานีตำรวจหลังเวลา00.00นาฬิกาของวันที่13กันยายน2527ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา87ให้เริ่มนับเวลาควบคุมตั้งแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังต่อศาลในวันที่19กันยายน2527จึงยังไม่เกินเจ็ดวัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิค่าเช่าที่ดิน - การยึดทรัพย์ชั่วคราว - การเปลี่ยนแปลงประเด็นในฎีกา
คำร้องของผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่าผู้ร้องมีบุริมสิทธิในค่าเช่านาเป็นข้าวเปลือก7เกวียน45ถังเหนือข้าวเปลือกที่โจทก์นำยึดประเด็นแห่งคดีที่ผู้ร้องตั้งมาจึงมีเพียงประเด็นเดียวว่าผู้ร้องมีบุริมสิทธิเหนือข้าวเปลือกจำนวน7เกวียน45ถังหรือไม่เท่านั้นที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องในฐานะผู้ให้เช่ายังไม่ได้รับชำระข้าวเปลือกเป็นค่าเช่านาไปจากจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแต่ในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามป.วิ.พ.มาตรา249. คำให้การของโจทก์ที่คัดค้านคำร้องของผู้ร้องว่าโจทก์ทราบว่าผู้ร้องได้ตวงข้าวเปลือกทำเป็นค่าเช่านาไปแล้วไม่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงจึงเคลือบคลุม โจทก์เพียงแต่นำยึดข้าวเปลือกของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนคำพิพากษายังไม่ได้ดำเนินการบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์ดังกล่าวแต่อย่างใดดังนั้นหากผู้ร้องมีบุริมสิทธิเหนือข้าวเปลือกที่ยึดไว้อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้นการนำยึดข้าวเปลือกไว้ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาของโจทก์ไม่มีผลทำให้บุริมสิทธิของผู้ร้องเปลี่ยนแปลงไปเมื่อคดีถึงที่สุดหากมีการดำเนินการบังคับคดีกับทรัพย์นั้นผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์ดังกล่าวได้ตามป.วิ.พ.มาตรา287ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิขอคืนข้าวเปลือกที่โจทก์นำยึดไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอ้างบุริมสิทธิค่าเช่านาในคดีบังคับชำระหนี้: ศาลฎีกาเน้นประเด็นที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
คดีปรากฏตามคำร้องว่า ผู้ร้องตั้งประเด็นแห่งคดีเพียงประเด็นเดียวว่า ผู้ร้องมีบุริมสิทธิเหนือข้าวเปลือกพิพาท แม้โจทก์จะให้การว่าโจทก์ทราบว่าผู้ร้องได้ตวงข้าวเปลือกทำเป็นค่าเช่านาไปแล้ว คำให้การของโจทก์ไม่ยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว คำให้การในส่วนนี้จึงเคลือบคลุม และแม้ชั้นไต่สวนคำร้องผู้ร้องจะนำสืบว่าเป็นเรื่องผู้ร้องฝากข้าวเปลือกพิพาทซึ่งเท่ากับค่าเช่านาไว้กับจำเลย ข้าวเปลือกที่โจทก์นำยึดจะเป็นของผู้ร้องก็ตาม ก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ผู้ร้องตั้งมาเปลี่ยนแปลงไปที่ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องในฐานะผู้ให้เช่ายังไม่ได้รับชำระข้าวเปลือกเป็นค่าเช่านาไปจากจำเลย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแต่ในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ในชั้นที่โจทก์เพียงนำยึดข้าวเปลือกของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนคำพิพากษา โจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์ดังกล่าวแต่อย่างใดผู้ร้องอ้างว่ามีบุริมสิทธิเหนือข้าวเปลือกที่ยึดไว้นั้น บุริมสิทธิของผู้ร้องมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น การนำยึดข้าวเปลือกไว้ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาของโจทก์ หาได้มีผลทำให้บุริมสิทธิของผู้ร้องเหนือข้าวเปลือกไว้ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาของโจทก์ หาได้มีผลทำให้บุริมสิทธิของผู้ร้องเหนือข้าวเปลือกเปลี่ยนแปลงไปไม่ หากมีการดำเนินการบังคับคดีกับทรัพย์นั้นในชั้นคดีถึงที่สุด ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ดังนั้นในชั้นนี้ผู้ร้องหามีความจำเป็นจะต้องอ้างบุริมสิทธิตามคำร้องไม่ ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิจะขอคืนข้าวเปลือกพิพาท
ในชั้นที่โจทก์เพียงนำยึดข้าวเปลือกของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนคำพิพากษา โจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์ดังกล่าวแต่อย่างใดผู้ร้องอ้างว่ามีบุริมสิทธิเหนือข้าวเปลือกที่ยึดไว้นั้น บุริมสิทธิของผู้ร้องมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น การนำยึดข้าวเปลือกไว้ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาของโจทก์ หาได้มีผลทำให้บุริมสิทธิของผู้ร้องเหนือข้าวเปลือกไว้ชั่วคราวก่อนคำพิพากษาของโจทก์ หาได้มีผลทำให้บุริมสิทธิของผู้ร้องเหนือข้าวเปลือกเปลี่ยนแปลงไปไม่ หากมีการดำเนินการบังคับคดีกับทรัพย์นั้นในชั้นคดีถึงที่สุด ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ดังนั้นในชั้นนี้ผู้ร้องหามีความจำเป็นจะต้องอ้างบุริมสิทธิตามคำร้องไม่ ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิจะขอคืนข้าวเปลือกพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานประกอบกันฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริง แม้พยานบอกเล่าและคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนจะมีน้ำหนักน้อย
คำเบิกความซัดทอดของผู้มีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับจำเลยเป็นคำพยานที่มีน้ำหนักน้อยโจทก์ต้องมีพยานอื่นประกอบจึงจะฟังลงโทษจำเลยได้ คำให้การของผู้เสียหายและประจักษ์พยานที่ให้ไว้ในชั้นสอบสวนรวมทั้งบันทึกการชี้ตัวจำเลยถือเป็นพยานบอกเล่าเมื่อไม่ได้ตัวผู้เสียหายและประจักษ์พยานมาเบิกความต่อศาลเพราะโจทก์ไม่สามารถติดตามตัวมาได้ย่อมเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อยเช่นกันแต่เมื่อฟังประกอบกับคำเบิกความซัดทอดของผู้มีส่วนร่วมกระทำผิดและคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนที่จำเลยได้ให้ไว้ด้วยความสมัครใจแล้วหากมีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริงก็สามารถรับฟังลงโทษจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าไปในบ้านโดยได้รับเชิญ ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก แม้ผู้เชิญจะเป็นเพียงผู้อาศัย
จำเลยได้มาหาจ. ซึ่งอยู่ที่บ้านผู้เสียหายตอนหัวค่ำเพื่อพูดขอยืมเงินแต่จ. บอกให้จำเลยกลับไปก่อนค่อยมาตอนดึกๆการที่จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายตามเวลานัดจึงไม่ใช่เป็นการเข้าไปบ้านผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องพิจารณาทั้งมูลค่าและที่มาของทรัพย์สิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 20 วรรคสามที่บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินที่คณะกรรมการวินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้น ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลวินิจฉัยสั่งว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่ผู้นั้นจะแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ.........." นั้น เห็นได้ว่าการขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติเป็นของแผ่นดินได้ เฉพาะกรณีที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (คณะกรรมการ ป.ป.ป.) วินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติเท่านั้น และให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยเสียก่อนที่จะมีคำสั่ง มิได้หมายความว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นผิดปกติเป็นที่สุด ศาลจะต้องสั่งให้ ทรัพย์สินของผู้นั้นเป็นของแผ่นดินและวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการแปลกฎหมายห้ามมิให้ศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ป. อันเป็นองค์กรฝ่ายบริหาร ย่อมไม่ชอบ และหากฟังไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขั้นโดยผิดปกติแล้ว ศาลก็ไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดินได้ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นหาต้องพิสูจน์ว่าได้ทรัพย์สินมาในทางที่ชอบไม่
ทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้นหมายถึงทรัพย์สินที่มีจำนวนมากผิดปกติ เมื่อคำนึงถึงฐานะและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าของทรีพย์สินนั้น ซึ่งอาจได้มาในทางที่ชอบและไม่ชอบหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ศาลจะสั่งให้เป็นของแผ่นดินได้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาในทางที่ไม่ชอบ การสั่งว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์ที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติหรือไม่ จึงไม่ใช่พิจารณาจากเหตุที่ทรัพย์สินนั้นได้มาในทางที่ชอบหรือไม่ชอบแต่อย่างใด
พนักงานอัยการผู้ร้องอ้างว่า ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับโอนหุ้นจากบริษัทการยินแอร์ - สยาม จำกัด จำนวน 198,000 หุ้น มีมูลค่าตามที่จดทะเบียนไว้ หุ้นละ 100 บาท ถือว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์สินราคา 19,800,000 บาท อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยขึ้นผิดปกติ ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าขณะที่รับโอนหุ้นมานั้น หุ้นทั้งหมดไม่มีมูลค่า มีราคาไม่เกิน 2 บาท ดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้คัดค้านฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาถึงหุ้นละ 100 บาท ตามมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ แต่จะมีราคาเท่าใด ผู้ร้องไม่นำสืบให้ปรากฏ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวเป็นทรัพน์สินที่ร่ำรวยขึ้นผิดปกติดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ศาลไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นของแผ่นดินได้
ทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้นหมายถึงทรัพย์สินที่มีจำนวนมากผิดปกติ เมื่อคำนึงถึงฐานะและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าของทรีพย์สินนั้น ซึ่งอาจได้มาในทางที่ชอบและไม่ชอบหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ศาลจะสั่งให้เป็นของแผ่นดินได้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาในทางที่ไม่ชอบ การสั่งว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์ที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติหรือไม่ จึงไม่ใช่พิจารณาจากเหตุที่ทรัพย์สินนั้นได้มาในทางที่ชอบหรือไม่ชอบแต่อย่างใด
พนักงานอัยการผู้ร้องอ้างว่า ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับโอนหุ้นจากบริษัทการยินแอร์ - สยาม จำกัด จำนวน 198,000 หุ้น มีมูลค่าตามที่จดทะเบียนไว้ หุ้นละ 100 บาท ถือว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์สินราคา 19,800,000 บาท อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยขึ้นผิดปกติ ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าขณะที่รับโอนหุ้นมานั้น หุ้นทั้งหมดไม่มีมูลค่า มีราคาไม่เกิน 2 บาท ดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้คัดค้านฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาถึงหุ้นละ 100 บาท ตามมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ แต่จะมีราคาเท่าใด ผู้ร้องไม่นำสืบให้ปรากฏ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวเป็นทรัพน์สินที่ร่ำรวยขึ้นผิดปกติดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ศาลไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นของแผ่นดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ทรัพย์สินเป็นของแผ่นดินในคดีร่ำรวยผิดปกติ ต้องพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าสูงกว่าฐานะและรายได้จริง
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการฯ มาตรา 20 วรรคสาม บัญญัติว่าทรัพย์สินที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้น ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินเป็นของแผ่นดิน เห็นได้ว่า หากจะลงโทษทางวินัยคณะกรรมการ ป.ป.ป. จะต้องสอบสวนให้ได้ความว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ร่ำรวยผิดปกติ แต่จะขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินของผู้นั้นเป็นของแผ่นดินได้เฉพาะที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติเท่านั้น หาใช่ว่า เมื่อคณะกรรมการฯลงมติว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดเป็นผู้ร่ำรวยผิดปกติแล้วศาลจะต้องสั่งให้ทรัพย์สินของผู้นั้นเป็นของแผ่นดินไม่การแปลกฎหมายดังนั้นเท่ากับเป็นการห้ามมิให้ศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการฯอันเป็นองค์กรฝ่ายบริหาร ย่อมไม่เป็นการสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย และหากฟังไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติแล้วศาลก็ไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดินได้โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นหาต้องพิสูจน์ว่าได้ทรัพย์สินในทางที่ชอบไม่ ทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้น หมายถึงทรัพย์สินที่มีจำนวนมากผิดปกติเมื่อคำนึงถึงฐานะและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าของทรัพย์สินนั้น ซึ่งอาจได้มาในทางที่ชอบและไม่ชอบหรือทั้งสองอย่างรวมกันศาลจะสั่งให้เป็นของแผ่นดินได้เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาในทางที่ไม่ชอบการสั่งว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์ที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติหรือไม่ จึงมิใช่พิจารณา จากเหตุที่ทรัพย์สินนั้นได้มาในทางที่ชอบ หรือมิชอบแต่อย่างใด ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านได้รับโอนหุ้นของบริษัทการบิน อ.198,000 หุ้น มีมูลค่าตามที่จดทะเบียนไว้หุ้นละ 100 บาทถือว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์สินราคา 19,800,000 บาทอันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติผู้คัดค้านโต้แย้งว่าขณะรับโอนหุ้นมา หุ้นไม่มีมูลค่ามีราคาไม่เกิน 2 บาทดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้คัดค้านฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาตามมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ แต่จะมีราคาเท่าใดผู้ร้องไม่นำสืบให้ปรากฏกรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ศาลไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นของแผ่นดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882-899/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน่วยราชการไม่ต้องรับผิดในสัญญาเช่าซื้อที่จัดสรรโดยคณะกรรมการในนามสวัสดิการ แม้ใช้ชื่อหน่วยงาน
สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจำเลยที่1เป็นนิติบุคคลมีฐานะเท่ากรมในรัฐบาลเป็นหน่วยราชการมีหน้าที่พัฒนาชนบทตามนโยบายรัฐบาลมิได้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรที่ดินให้ประชาชนทั่วไปเช่าซื้อการจัดสรรที่ดินจึงมิใช่ราชการของจำเลยที่1การที่จำเลยที่1ตั้งคณะกรรมการขึ้นดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยคณะกรรมการดังกล่าวดำเนินงานในนามของสวัสดิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทสวัสดิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทดังกล่าวก็มิใช่ส่วนราชการของจำเลยที่1การดำเนินงานของสวัสดิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจึงมิใช่ราชการของจำเลยที่1การประกาศจัดสรรที่ดินก็ดีสัญญาเช่าซื้อที่ดินก็ดีใบเสร็จรับเงินก็ดีล้วนแต่ทำในนามของสวัสดิการของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทมิได้กระทำในนามของจำเลยที่1แม้จำเลยที่1ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นจัดสรรที่ดินก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชนว่าเป็นผู้จัดสรรที่ดินซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมควรก็ตามก็ไม่มีผลให้การจัดสรรที่ดินกลายเป็นราชการของจำเลยที่1จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882-899/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน่วยราชการไม่ต้องรับผิดในสัญญาเช่าซื้อที่ดิน หากการจัดสรรไม่ได้ทำในนามหน่วยงาน แต่ทำโดยสวัสดิการที่ไม่ได้เป็นส่วนราชการ
สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีฐานะเท่ากรมในรัฐบาล เป็นหน่วยราชการ มีหน้าที่พัฒนาชนบทตามนโยบายรัฐบาลมิได้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรที่ดินให้ประชาชนทั่วไปเช่าซื้อ การจัดสรรที่ดินจึงมิใช่ราชการของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ตั้งคณะกรรมการขึ้นดำเนินการจัดสรรที่ดิน โดยคณะกรรมการดังกล่าวดำเนินงานในนามของสวัสดิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท สวัสดิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทดังกล่าวกมิใช่ส่วนราชการของจำเลยที่ 1 การดำเนินงานของสวัสดิการสำนักเร่งรัดพัฒนาชนบทจึงมิใช่ราชการของจำเลยที่ 1 การประกาศจัดสรรที่ดินก็ดี สัญญาเช่าซื้อที่ดินก็ดี ใบเสร็จรับเงินก็ดี ีล้วนแต่ทำในนามของสวัสดิการของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทมิได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นจัดสรรที่ดิน ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชนว่าเป็นผู้จัดสรรที่ดิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมควรก็ตาม ก็ไม่มีผลให้การจัดสรรที่ดินกลายเป็นราชการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว