พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4583/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับนายทะเบียนจดทะเบียนสมรส และการปฏิเสธการจดทะเบียนโดยอ้างคุณสมบัติไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายทะเบียนอำเภอคลองใหญ่และจำเลยที่ 2 กระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 รับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ทั้งสองเห็นว่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่รับจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ตรงข้ามกลับได้ความว่าจำเลยที่ 1เท่านั้นที่เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับจดทะเบียนสมรส ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนสมรสให้แก่โจทก์ทั้งสองได้
ข้อที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ทั้งสองนั้น ได้ความว่าโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อจำเลยที่ 1 นายชุมพลเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้บันทึกถ้อยคำของโจทก์ที่ 2ไว้แต่ไม่ปรากฏว่าได้บันทึกสอบถามเรื่องคุณสมบัติของโจทก์ที่ 2 อันเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งมาแต่ประการใด กลับมีบันทึกสั่งการในตอนท้ายว่าให้สอบเพิ่มเติมว่า โจทก์ที่ 2 เข้ามาในอำเภอคลองใหญ่เพราะสาเหตุอันใด และโจทก์ที่ 2 มีอาชีพอะไร มีรายได้เท่าใด เมื่อเริ่มอพยพเข้ามาครั้งแรกรู้จักใครบ้างข้อความเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นได้ชัดถึงเหตุผลในการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ทั้งสองของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น เพราะแม้แต่ในฎีกาของจำเลยเองก็ยังอ้างว่าโจทก์ที่ 2 มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนที่จะรับจดทะเบียนสมรสให้ได้ ซึ่งแสดงถึงการปฏิเสธของจำเลยที่ 1 อยู่ในตัวเอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับจดทะเบียนสมรสของโจทก์ทั้งสองได้
ข้อที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ทั้งสองนั้น ได้ความว่าโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อจำเลยที่ 1 นายชุมพลเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้บันทึกถ้อยคำของโจทก์ที่ 2ไว้แต่ไม่ปรากฏว่าได้บันทึกสอบถามเรื่องคุณสมบัติของโจทก์ที่ 2 อันเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งมาแต่ประการใด กลับมีบันทึกสั่งการในตอนท้ายว่าให้สอบเพิ่มเติมว่า โจทก์ที่ 2 เข้ามาในอำเภอคลองใหญ่เพราะสาเหตุอันใด และโจทก์ที่ 2 มีอาชีพอะไร มีรายได้เท่าใด เมื่อเริ่มอพยพเข้ามาครั้งแรกรู้จักใครบ้างข้อความเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นได้ชัดถึงเหตุผลในการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสให้โจทก์ทั้งสองของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น เพราะแม้แต่ในฎีกาของจำเลยเองก็ยังอ้างว่าโจทก์ที่ 2 มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนที่จะรับจดทะเบียนสมรสให้ได้ ซึ่งแสดงถึงการปฏิเสธของจำเลยที่ 1 อยู่ในตัวเอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับจดทะเบียนสมรสของโจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4502/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉุดกระชากพาไปเพื่อการอนาจาร ความร่วมมือในการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันฉุดโจทก์ร่วมที่ 3 จากรถยนต์ที่โจทก์ร่วมที่ 3 โดยสารอยู่ พาไปขึ้นรถยนต์ปิคอัพซึ่งเตรียมไว้ไปเพื่อการอนาจาร การกระทำผิดของจำเลยที่ 1หาได้สำเร็จเด็ดขาดเพียงพาโจทก์ร่วมที่ 3 ขึ้นรถยนต์ปิคอัพไม่แต่การพาโจทก์ร่วมที่ 3 ไปดังกล่าว ยังคงเป็นความผิดตลอดเวลาที่พาไป จำเลยที่ 2 ได้วิ่งออกมาจากบ้านพักยามชลประทานใกล้ที่เกิดเหตุ แล้วกระโดดขึ้นรถยนต์ปิคอัพไปกับจำเลยที่ 1 พาโจทก์ร่วมที่ 3 ไปที่บ้าน ม. น้องเขยจำเลยที่ 2 ระหว่างอยู่ที่บ้านม. จำเลยที่ 2 ร่วมเฝ้าโจทก์ร่วมที่ 3 มิให้ออกไปไหน เป็นการแบ่งหน้าที่กับจำเลยที่ 1 ทำตลอดเวลาที่พาโจทก์ร่วมที่ 3 ไปจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 284,83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4458/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากกำไรจากการขายหุ้น พิจารณาเจตนาในการได้มาซึ่งหุ้น และขอบเขตอำนาจประเมินภาษี
บริษัทย่อมมีวัตถุประสงค์ในการหากำไรมาแบ่งปันกัน ในระหว่างผู้ถือหุ้น การได้หุ้นมาย่อมถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร รายได้จากการขายหุ้นจึงเป็นเงินได้พึงประเมินในการเสียภาษีเงินได้ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ว่า หุ้นนั้นได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรโดยแท้จริง จึงจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลกฎหมาย รัษฎากร มาตรา 42(9) เมื่อโจทก์ได้หุ้นมาตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัทเนื่องจาก การรับมรดก มิใช่รับโอนหรือซื้อจากผู้ใด แม้หุ้นดังกล่าวจะไม่ใช่มรดก แต่เป็นการได้มาเนื่องจากการแบ่งมรดก หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้มา โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากการจำหน่ายหุ้นจำนวนนี้ตาม มาตรา 42(9)
การเอาที่ดินซึ่งเป็นมรดกโอนให้บริษัท ช. แล้วบริษัทออกหุ้นให้แทน แม้บริษัทจะมีข้อจำกัดในการโอนหุ้นเพื่อสงวนหุ้นไว้กับผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นคนในตระกูลของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่จะสงวนผลประโยชน์ที่เกิดจากกิจการของบริษัท ไว้ให้แก่บุคคลในตระกูลของโจทก์มากกว่าเป็นการรักษาทรัพย์สิน ของตระกูลไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของการค้าหากำไรนั้นเอง เมื่อโจทก์ รับโอนหุ้นจำนวนนี้มา จึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตาม มาตรา 42(9) การที่จะพิจารณาว่าสังหาริมทรัพย์ใดได้มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตาม มาตรา 42(9) ต้องพิจารณา ในตอนที่ได้มาว่าเป็นการได้มาเพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือ หากำไรหรือไม่ หุ้นของบริษัท ช.ที่ส. ภริยาโจทก์โอนให้โจทก์เพื่อให้โจทก์ ฟ้องคดีเลิกบริษัท ช.นั้นต้องถือว่าส.ยังเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงอยู่ เมื่อ ส. รับโอนหุ้นมาจากผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง และไม่ปรากฏว่า ได้หุ้นมา โดยมิได้มุ่งในทางการหรือหากำไร จึงต้องถือว่า เป็นการได้มาโดยมุ่ง ในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อมีการ ขายหุ้นดังกล่าวจึงต้องเสีย ภาษีเงินได้โดยไม่ได้รับการยกเว้น ตาม มาตรา42(9) เมื่อโจทก์เป็น สามีโดยชอบด้วยกฎหมาย ของเจ้าของหุ้น โจทก์ก็ต้องรับผิด ในการชำระภาษีตาม มาตรา 57ตรี
แม้ ป. รัษฎากร มาตรา 19 ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่น อันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ พ้นกำหนดนี้แล้วเจ้าพนักงานประเมินจะไม่มีอำนาจออกหมายเรียก หรือคำสั่งดังกล่าวก็ตาม แต่ก็หาได้มีบทบัญญัติกำหนดว่า เจ้าพนักงานประเมินต้องทำการประเมินภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการไม่
การเอาที่ดินซึ่งเป็นมรดกโอนให้บริษัท ช. แล้วบริษัทออกหุ้นให้แทน แม้บริษัทจะมีข้อจำกัดในการโอนหุ้นเพื่อสงวนหุ้นไว้กับผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นคนในตระกูลของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่จะสงวนผลประโยชน์ที่เกิดจากกิจการของบริษัท ไว้ให้แก่บุคคลในตระกูลของโจทก์มากกว่าเป็นการรักษาทรัพย์สิน ของตระกูลไว้ ซึ่งเป็นเรื่องของการค้าหากำไรนั้นเอง เมื่อโจทก์ รับโอนหุ้นจำนวนนี้มา จึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตาม มาตรา 42(9) การที่จะพิจารณาว่าสังหาริมทรัพย์ใดได้มาโดย มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตาม มาตรา 42(9) ต้องพิจารณา ในตอนที่ได้มาว่าเป็นการได้มาเพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือ หากำไรหรือไม่ หุ้นของบริษัท ช.ที่ส. ภริยาโจทก์โอนให้โจทก์เพื่อให้โจทก์ ฟ้องคดีเลิกบริษัท ช.นั้นต้องถือว่าส.ยังเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงอยู่ เมื่อ ส. รับโอนหุ้นมาจากผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง และไม่ปรากฏว่า ได้หุ้นมา โดยมิได้มุ่งในทางการหรือหากำไร จึงต้องถือว่า เป็นการได้มาโดยมุ่ง ในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อมีการ ขายหุ้นดังกล่าวจึงต้องเสีย ภาษีเงินได้โดยไม่ได้รับการยกเว้น ตาม มาตรา42(9) เมื่อโจทก์เป็น สามีโดยชอบด้วยกฎหมาย ของเจ้าของหุ้น โจทก์ก็ต้องรับผิด ในการชำระภาษีตาม มาตรา 57ตรี
แม้ ป. รัษฎากร มาตรา 19 ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่น อันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ พ้นกำหนดนี้แล้วเจ้าพนักงานประเมินจะไม่มีอำนาจออกหมายเรียก หรือคำสั่งดังกล่าวก็ตาม แต่ก็หาได้มีบทบัญญัติกำหนดว่า เจ้าพนักงานประเมินต้องทำการประเมินภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446-4449/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประเมินความผิดและขอบเขตความรับผิดของแต่ละฝ่าย
รถของโจทก์ที่ 1 ชนกับรถของจำเลยที่ 2 แม้ ส. คนขับรถ ของโจทก์ที่ 1 จะขับรถโดยประมาทเลินเล่อด้วย แต่โจทก์ที่ 4 เป็นเพียงนั่งโดยสารมากับรถของโจทก์ที่ 1 คันเกิดเหตุมิได้มีส่วน ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วย จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 4 เต็มจำนวนโดยไม่อาจแบ่ง ความรับผิดให้แก่โจทก์ที่ 4 ได้ และปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ที่ 4 จะไม่ได้ยกขึ้นอ้างศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 4 ได้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารถของโจทก์ที่ 1 ชนกับรถของจำเลยที่ 2 เพราะ ส. ซึ่งเป็นคนขับรถของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น คนขับรถของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยประมาทเลินเล่อด้วยกันทั้งสองฝ่ายแต่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อมากกว่ากรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดมากกว่าก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายของจำเลยที่ 2 ได้ ปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารถของโจทก์ที่ 1 ชนกับรถของจำเลยที่ 2 เพราะ ส. ซึ่งเป็นคนขับรถของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น คนขับรถของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยประมาทเลินเล่อด้วยกันทั้งสองฝ่ายแต่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อมากกว่ากรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดมากกว่าก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายของจำเลยที่ 2 ได้ ปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446-4449/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประเมินความประมาท, การแบ่งความรับผิด และข้อยกเว้นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย
รถของโจทก์ที่ 1 ชนกับรถของจำเลยที่ 2 แม้ส.คนขับรถ ของโจทก์ที่ 1 จะขับรถโดยประมาทเลินเล่อด้วยแต่โจทก์ที่ 4 เป็นเพียงนั่งโดยสารมากับรถของโจทก์ที่1 คันเกิดเหตุมิได้มีส่วน ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วยจำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 4 เต็มจำนวนโดยไม่อาจแบ่ง ความรับผิดให้แก่โจทก์ที่ 4 ได้ และปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ที่ 4 จะไม่ได้ยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 4ได้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารถของโจทก์ที่ 1 ชนกับรถของจำเลยที่ 2 เพราะส. ซึ่งเป็นคนขับรถของโจทก์ที่ 1และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น คนขับรถของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยประมาทเลินเล่อด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่จำเลยที่ 1เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อมากกว่ากรณีเช่นนี้ จำเลยที่2 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดมากกว่าก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็น ฝ่ายผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายของจำเลยที่ 2 ได้ ปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่ง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารถของโจทก์ที่ 1 ชนกับรถของจำเลยที่ 2 เพราะส. ซึ่งเป็นคนขับรถของโจทก์ที่ 1และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น คนขับรถของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยประมาทเลินเล่อด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่จำเลยที่ 1เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อมากกว่ากรณีเช่นนี้ จำเลยที่2 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดมากกว่าก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็น ฝ่ายผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายของจำเลยที่ 2 ได้ ปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่ง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4403/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานที่ดินเอื้อประโยชน์ภริยาซื้อขายที่ดินให้กรมทางหลวง เสียผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่
จำเลยเป็นพนักงานที่ดินอำเภอ มีหน้าที่ออกหนังสือสำคัญ สำหรับที่ดินและการรังวัดเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อกรมทางหลวงจะสร้างศูนย์เครื่องมือกลในอำเภอ การที่ภริยาจำเลย รับโอนที่ดินจากราษฎรแล้วนำไปขายต่อให้กรมทางหลวงก่อสร้าง ศูนย์เครื่องมือกล จึงเป็นการได้ผลประโยชน์มาโดยมิชอบ เนื่องมาจาก การที่จำเลยได้ดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินและ โอนขายที่ดิน ซึ่งเป็นการกระทำในตำแหน่งหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและการฟ้องคดีอาญา: การส่งสำนวนระหว่างพนักงานสอบสวนและการสอบสวนเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและพระราชบัญญัติศุลกากร เดิมพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้สอบสวน ต่อมากรมตำรวจได้แต่งตั้งให้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้แต่ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอรับสำนวนการสอบสวน จากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถรับสำนวนการสอบสวนมาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดากลับส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอสำนวนการสอบสวนคืนจากพนักงานอัยการ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง จำเลยที่ 1 พนักงานอัยการได้คืนสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้แก่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนต่อไป โดยสอบ บุคคลอื่นเป็นผู้ต้องหาอีกหลายคนซึ่งมีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วยภายหลังพนักงานอัยการได้แนะนำให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามคืนสำนวนการสอบสวน และต่อมามีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามสอบสวนเพิ่มเติมทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้น กรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยังมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้อยู่การสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าว หาขัดกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139ถึง มาตรา 143 ไม่ การสอบสวนของ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงชอบด้วยกฎหมาย และพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 และที่ 2 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและการฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนเพิ่มเติมโดยพนักงานสอบสวนกองปราบปรามหลังพนักงานอัยการยังมิได้สั่งฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและพระราชบัญญัติศุลกากร เดิมพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้สอบสวน ต่อมากรมตำรวจได้แต่งตั้งให้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้แต่ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอรับสำนวนการสอบสวน จากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถรับสำนวนการสอบสวนมาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดากลับส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอสำนวนการสอบสวนคืนจากพนักงานอัยการ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง จำเลยที่ 1 พนักงานอัยการได้คืนสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้แก่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนต่อไป โดยสอบบุคคลอื่นเป็นผู้ต้องหาอีกหลายคนซึ่งมีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วยภายหลังพนักงานอัยการได้แนะนำให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามคืนสำนวนการสอบสวน และต่อมามีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามสอบสวนเพิ่มเติมทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้น กรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยังมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้อยู่การสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าว หาขัดกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139 ถึง มาตรา 143 ไม่ การสอบสวนของ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงชอบด้วยกฎหมาย และ พนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4316/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติของผู้เกิดในไทยที่มีชื่อในทะเบียนคนญวนอพยพ การใช้สิทธิทางศาลภายใต้ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง
ผู้ร้องเป็นบุตรของหญิงสัญชาติไทยกับชายญวนอพยพ ซึ่งเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องเกิดในประเทศไทยและต่อมาถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่337 ดังนี้ ผู้ร้องไม่ใช่ ผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ไม่มีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับการเข้าเมือง จะมาใช้สิทธิทางศาลร้องขอพิสูจน์สัญชาติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 57 ไม่ได้ หากเห็นว่า การถูกเพิกถอนสัญชาติเป็นไปโดยมิชอบประการใด ก็ชอบที่จะฟ้อง ผู้ที่โต้แย้งสิทธิเป็นคดีมีข้อพิพาทต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4316/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติสำหรับผู้เกิดในไทยและถูกเพิกถอนสัญชาติ: สิทธิการฟ้องคดีมีข้อพิพาท
ผู้ร้องเป็นบุตรของหญิงสัญชาติไทยกับชายญวนอพยพ ซึ่งเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องเกิดในประเทศไทยและต่อมาถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ดังนี้ ผู้ร้องไม่ใช่ ผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ไม่มีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับการเข้าเมือง จะมาใช้สิทธิทางศาลร้องขอพิสูจน์สัญชาติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ไม่ได้ หากเห็นว่า การถูกเพิกถอนสัญชาติเป็นไปโดยมิชอบประการใด ก็ชอบที่จะฟ้อง ผู้ที่โต้แย้งสิทธิเป็นคดีมีข้อพิพาทต่อศาล