คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ รัตนากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซื้อขายไม่เคลือบคลุม - สำเนาเอกสารใช้แทนต้นฉบับได้ - หนี้ร่วมจากการค้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้ซื้อลูกไก่อาหารไก่และ อาหารหมู ไปจากโจทก์รวม 26 ครั้ง เป็นเงิน 115,835 บาท จำเลยทั้งสองได้รับ สินค้าไปตามสำเนาภาพถ่ายใบรับฝากสินค้าท้ายฟ้อง จำเลยค้างชำระ ค่าสินค้าเป็นเงิน 51,930 บาท เป็นคำฟ้อง ที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนข้อที่ว่าใครเป็นผู้ซื้อ ผู้รับสินค้าและเป็นสินค้าชนิดใดนั้นเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ผู้ขายได้มอบต้นฉบับใบรับฝากสินค้าให้แก่จำเลยผู้ซื้อไป คงเก็บไว้แต่สำเนา ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ ศาลรับฟังสำเนาแทนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นสามีของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองประกอบการค้า ร่วมกันในสถานที่เดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในหนี้สิน ที่ทำการค้าร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าอาวาสสั่งขับไล่พระที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและการมีอำนาจฟ้องของวัด
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 38 (2) เจ้าอาวาสมีอำนาจสั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส ออกไปเสียจากวัดได้ดังนั้นเมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับนิคหกรรมเพราะการกระทำล่วงละเมิด พระธรรมวินัย ซึ่งต้องดำเนินการตามหมวด 4 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่พระออกจากวัดอิง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ กรณีไม่อยู่ในโอวาทเจ้าอาวาส ไม่ใช่การฟ้องละเมิด
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 38(2) เจ้าอาวาสมีอำนาจสั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส ออกไปเสียจากวัดได้ดังนั้นเมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาท ของเจ้าอาวาส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับนิคหกรรมเพราะการกระทำล่วงละเมิด พระธรรมวินัยซึ่งต้องดำเนินการตามหมวด 4 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม - ทนายแก้ต่าง - จำเลยเรียงคำแก้อุทธรณ์เอง - โจทก์ต้องรับผิดค่าทนาย
จำเลยเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ด้วยตนเอง ทนายจำเลยได้ยื่น คำแก้อุทธรณ์ด้วย แต่จำเลยได้เลือกเอาฉบับที่จำเลยลงชื่อถือได้ว่า ทนายความได้ปฏิบัติหน้าที่แก้ต่างแล้ว โจทก์ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความ ชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งหน้าที่ทนายแก้ต่างและการรับผิดค่าทนายในชั้นอุทธรณ์
จำเลยเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ด้วยตนเอง ทนายจำเลยได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ด้วย แต่จำเลยได้เลือกเอาฉบับที่จำเลยลงชื่อถือได้ว่าทนายความได้ปฏิบัติหน้าที่แก้ต่างแล้ว โจทก์ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีเครื่องหมายการค้าก่อนจำเลยให้การ ไม่ถือเป็นการสละสิทธิฟ้องคดีใหม่ และการฟ้องโดยไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในไทย
ในคดีก่อนนั้นโจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคแรกโจทก์เพียงแต่ ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนคำฟ้องต่อศาล และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ โดยมิต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยินยอมหรือไม่อย่างใดการที่ โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปนั้น ก็มีความหมายแต่เพียงว่า ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับ คดีนั้นเท่านั้นหาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีก ตามสิทธิของโจทก์ซึ่งตามมาตรา 176 บัญญัติรับรองไว้แต่อย่างใดไม่ ทั้งมิใช่กรณีที่มีการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความกัน หรือเทียบได้กับกรณีประนีประนอมยอมความกันฟ้องของโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย เพราะได้ใช้มาก่อนตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41(1) โจทก์หาได้ ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใน ประเทศไทยแล้วและขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวตามมาตรา27หรือฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหาย ในการล่วงสิทธิ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของตนในประเทศไทย
จำเลยฎีกาโดยถือตามอุทธรณ์ของจำเลย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความซึ่งเป็นข้อที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาครั้งก่อนแล้วอีกหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อน และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ถอนฟ้องก่อนจำเลยให้การ ไม่สละสิทธิฟ้องใหม่, สิทธิเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ
ในคดีก่อนนั้นโจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคแรก โจทก์เพียงแต่ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนคำฟ้องต่อศาล และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องได้โดยมิต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยินยอมหรือไม่อย่างใด การที่โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปนั้น ก็มีความหมายแต่เพียงว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีกตามสิทธิของโจทก์ซึ่งตามมาตรา 176 บัญญัติรับรองไว้แต่อย่างใดไม่ ทั้งมิใช่กรณีที่มีการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความกันหรือเทียบได้กับกรณีประนีประนอมยอมความกัน ฟ้องของโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย เพราะได้ใช้มาก่อนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใน ประเทศไทยแล้ว และขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 27 หรือฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย
จำเลยฎีกาโดยถือตามอุทธรณ์ของจำเลย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความซึ่งเป็นข้อที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาครั้งก่อนแล้วอีกหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อน และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาให้จำเลย
โจทก์ยื่นฎีกาศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกา ภายใน5วันถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 5 วัน เจ้าพนักงานศาลส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยไม่ได้ (โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ ได้นำส่ง) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอฟังโจทก์แถลงโจทก์มิได้แถลง ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดคงปล่อยทิ้งไว้จนถึงวันเจ้าพนักงานศาลรายงานเป็นเวลานานถึง4เดือนเศษเป็นการเนิ่นนาน เกินสมควร พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วย มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาให้จำเลย
โจทก์ยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกา ให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกา ภายใน 5 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 5 วัน เจ้าพนักงานศาลส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยไม่ได้ (โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำส่ง) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอฟังโจทก์แถลงโจทก์มิได้แถลงภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คงปล่อยทิ้งไว้จนถึงวันเจ้าพนักงานศาลรายงานเป็นเวลานานถึง 4 เดือนเศษ เป็นการเนิ่นนาน เกินสมควร พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วย มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเว้นภาษีโรงเรือน: การใช้พื้นที่เพื่อธุรกิจ vs. การอยู่อาศัยหรือรักษาความปลอดภัย
โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต์เพื่อจำหน่ายการที่โจทก์ใช้อาคารพิพาทเป็นสำนักงานของโจทก์เองหรือใช้เป็นโรงอาหาร โรงจอดรถ หรือเป็นห้องเครื่องทำความเย็นก็ล้วนแต่เป็นการใช้อาคารเพื่อธุรกิจของโจทก์ หาใช่เป็นการอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาและซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือ ประกอบอุตสาหกรรม อันจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน ตามมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมแล้วแต่อย่างใดไม่
of 49