คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ รัตนากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้พื้นที่โรงเรือนเพื่อธุรกิจ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือน แม้ใช้เป็นสำนักงานหรือส่วนประกอบอื่น
โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต์เพื่อจำหน่ายการที่โจทก์ใช้อาคารพิพาทเป็นสำนักงานของโจทก์เอง หรือใช้เป็นโรงอาหาร โรงจอดรถ หรือเป็นห้องเครื่องทำความเย็น ก็ล้วนแต่เป็นการใช้อาคารเพื่อธุรกิจของโจทก์ หาใช่เป็นการอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบอุตสาหกรรม อันจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมแล้วแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับชำระหนี้จากเงินฝากประกันหนี้ ต้องเป็นสิทธิอื่นที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิ
สิทธิอื่น ๆ ตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สิน ของลูกหนี้ และจะต้องเป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย ผู้ร้องได้ส่งเงินตามอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วต่อมาผู้ร้องขอรับเงินที่ส่งตามอายัดคืนโดยอ้างว่า เงินฝากในบัญชี ของจำเลยที่ส่งให้นั้นนอกจากค้ำประกันเงินกู้ของลูกค้าจำเลยแล้ว ยังค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยอีกด้วย จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องอยู่ ผู้ร้องมีสิทธินำเงินจำนวนที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัดไปหักหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้ก่อนอยู่แล้วจึงขอให้คืนเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ดังนี้ผู้ร้องมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็นสิทธิอื่น ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอก
อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่ง มาตรา 287 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเงินที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัดคืนและไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการหักหนี้จากเงินฝากอายัด: สิทธิประเภทใดที่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 287 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
สิทธิอื่นๆ ตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สิน ของลูกหนี้ และจะต้องเป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็น สิทธิประเภทแรกด้วยผู้ร้องได้ส่งเงินตามอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วต่อมาผู้ร้องขอรับเงินที่ส่งตามอายัดคืนโดยอ้างว่าเงินฝากในบัญชี ของจำเลยที่ส่งให้นั้นนอกจากค้ำประกันเงินกู้ของลูกค้าจำเลยแล้ว ยังค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยอีกด้วย จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องอยู่ ผู้ร้องมีสิทธินำ เงินจำนวนที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัด ไปหักหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้ก่อนอยู่แล้วจึงขอให้คืนเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ดังนี้ผู้ร้องมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดาจึงไม่อาจถือได้ว่า สิทธิของผู้ร้องเป็นสิทธิอื่นซึ่ง เจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอก อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่ง มาตรา 287ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิ ขอเงินที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัดคืนและไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3243/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางการจับกุมและช่วยเหลือผู้ถูกคุมขัง: การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ขณะที่ร้อยตำรวจตรี พ. ควบคุมตัว ส. ผู้ต้องหา ใน ข้อหาไม่ยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งเป็นความผิดมีโทษตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 จะนำขึ้นรถยนต์ไปสถานีตำรวจเพื่อดำเนินคดีจำเลยได้เข้าโอบกอดจับตัว ร้อยตำรวจตรี พ. ไว้ และพวกของจำเลยอีกสองคนได้ช่วยกันยื้อแย่งเอาตัว ส. ขึ้นรถยนต์หลบหนีไปถือว่า ส. ถูกคุมขังอยู่ตามอำนาจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (12), 191 แล้วการกระทำของ จำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 138, 140, 191

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3243/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและช่วยเหลือผู้ถูกคุมขังหลบหนี ถือเป็นความผิดอาญา
ขณะที่ร้อยตำรวจตรี พ.ควบคุมตัวส. ผู้ต้องหา ในข้อหาไม่ยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งเป็นความผิดมีโทษตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 จะนำขึ้นรถยนต์ไปสถานีตำรวจเพื่อดำเนินคดีจำเลยได้เข้าโอบกอดจับตัวร้อยตำรวจตรีพ.ไว้ และพวกของจำเลยอีกสองคนได้ช่วยกันยื้อแย่งเอาตัว ส. ขึ้นรถยนต์หลบหนีไปถือว่า ส.ถูกคุมขังอยู่ตามอำนาจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(12),191 แล้วการกระทำของ จำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 138,140,191

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3204/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนยังไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.350
โจทก์มีข้อตกลงอยู่กับจำเลยที่ 1ในลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระหนี้ 40,000 บาท ที่เหลือแก่จำเลยที่ 1สิทธิเรียกร้องที่จะให้จำเลยที่ 1 โอนตึกและที่ดินพิพาทตามข้อตกลงยังมิอาจบังคับกันได้ โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละประเด็นข้อกฎหมายในชั้นศาล และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กะประเด็นข้อนี้ไว้จำเลยมิได้โต้แย้ง ถือได้ว่าจำเลยได้สละประเด็นข้อนี้แล้วเท่ากับไม่ได้มีการว่ากล่าวประเด็นนี้ใน ศาลชั้นต้น แม้จำเลยอาจยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ได้โดยถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นเมื่อเห็นสมควรศาลอุทธรณ์ก็อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเช่นกัน หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อกฎหมายดังกล่าวไม่สมควรได้รับการวินิจฉัยแล้วแม้จำเลยจะได้อุทธรณ์ขึ้นมาด้วย ก็ไม่มีเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้อีกฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่มีเหตุสมควรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวของจำเลยจึงหาเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 134 ซึ่งห้ามมิให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมตัดสินคดี โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายหรือกฎหมายเคลือบคลุมไม่บริบูรณ์แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องในชั้นชี้สองสถาน และดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กะประเด็นข้อนี้ไว้จำเลยมิได้โต้แย้ง ถือได้ว่าจำเลยได้สละประเด็นข้อนี้แล้ว เท่ากับไม่ได้มีการว่ากล่าวประเด็นนี้ใน ศาลชั้นต้น แม้จำเลยอาจยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ได้โดยถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นเมื่อเห็นสมควรศาลอุทธรณ์ก็อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเช่นกัน หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อกฎหมายดังกล่าวไม่สมควรได้รับการวินิจฉัยแล้ว แม้จำเลยจะได้อุทธรณ์ขึ้นมาด้วย ก็ไม่มีเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้อีก ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่มีเหตุสมควรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวของจำเลยจึงหาเป็นการไม่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 134 ซึ่งห้ามมิให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมตัดสินคดี โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายหรือกฎหมายเคลือบคลุมไม่บริบูรณ์แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยจากประกาศ คปช. 337 กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมารดาเป็นคนต่างด้าว
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1แม้บิดามารดาของโจทก์จะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง มีผลให้โจทก์กลายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1547 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์กลับได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กับกรณีทั่วๆไปอีกไม่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ได้กำหนดเรื่องการถอนสัญชาติไทยและการได้สัญชาติไทยของบุคคลบางประเภทไว้เป็นพิเศษยิ่งกว่าการเสียสัญชาติไทยและการกลับคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 และในข้อ 3ของประกาศนั้นยังระบุไว้อีกด้วยว่า ถ้ามีบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ก็ให้ใช้ประกาศนี้แทนแสดงให้เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลบังคับเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติโดยทั่วๆ ไปทั้งนี้เพราะการได้สัญชาติก่อให้เกิดสิทธิบางประการแก่ผู้ได้รับสัญชาติแต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐต่อผู้ได้รับสัญชาติด้วยจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จะให้สัญชาติแก่ผู้ใดตามเงื่อนไขที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายเหตุการณ์บ้านเมืองและความจำเป็นของแต่ละประเทศเมื่อปรากฏว่าโจทก์ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้มีคำสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่นโจทก์ก็ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ด้วยเหตุผลพิเศษตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะปฏิวัตินั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฯ กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมารดาเป็นคนต่างด้าว
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 แม้บิดามารดาของโจทก์จะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง มีผลให้โจทก์กลายเป็นบุตร โดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์กลับได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กับกรณีทั่ว ๆ ไปอีกไม่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ได้กำหนดเรื่องการถอนสัญชาติไทยและการได้สัญชาติไทยของบุคคลบางประเภทไว้เป็นพิเศษ ยิ่งกว่าการเสียสัญชาติไทย และการกลับคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และในข้อ 3 ของประกาศนั้นยังระบุไว้อีกด้วยว่า ถ้ามีบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ก็ให้ใช้ประกาศนี้แทนแสดงให้เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลบังคับเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติโดยทั่ว ๆ ไปทั้งนี้เพราะการได้สัญชาติก่อให้เกิดสิทธิบางประการแก่ผู้ได้รับสัญชาติแต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐต่อผู้ได้รับสัญชาติด้วยจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จะให้สัญชาติแก่ผู้ใดตามเงื่อนไขที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายเหตุการณ์บ้านเมืองและความจำเป็นของแต่ละประเทศเมื่อปรากฏว่าโจทก์ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้มีคำสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่นโจทก์ก็ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ด้วยเหตุผลพิเศษตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะปฏิวัตินั้น
of 49