คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ รัตนากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ารถยนต์ vs. บริการขนส่ง: การพิจารณาประเภทสัญญาและภาระภาษี
การที่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆตามที่ตกลงกันกับบริษัท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทนอาจเกิดจากสัญญาเช่ารถยนต์สัญญาจ้างหรือสัญญาอื่นก็ได้ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและข้อเท็จจริงที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันกรณีที่จะเป้นสัญญาเช่านั้นตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา537,546และ552ต้องปรากฏว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ตามความพอใจเท่าที่ไม่ขัดกับสัญญาและประเพณีนิยมซึ่งในชั่วระยะเวลานั้นคู่สัญญาฝ่ายที่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น โจทก์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆตามที่ตกลงกันกับบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทนแต่โจทก์มิได้มอบการครอบครองรถให้คู่สัญญานำไปใช้ตามลำพังและคู่สัญญาจะเอารถเลยไปยังสถานที่แห่งอื่นไม่ได้โจทก์ให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไปมีคนประจำรถของโจทก์ไปด้วยคู่สัญญาของโจทก์ไม่มีอำนาจควบคุมการใช้รถหรืออาจออกคำสั่งให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไปในเส้นทางใดตามความประสงค์ของตนได้ดังนี้สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาเช่าแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้บริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าได้ใช้บริการในการขนส่งของโจทก์โดยโจทก์ได้ค่าตอบแทนมากกว่า เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าไม่เป็นสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วแม้จะมีการเรียกสัญญานั้นว่าเป็นสัญญาเช่าและเรียกค่าตอบแทนตามสัญญาว่าเป็นค่าเช่าหรือโจทก์ยอมรับกับเจ้าพนักงานประเมินว่าเป็นสัญญาเช่าก็หามีผลให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเพราะประกอบการค้าประเภทการให้เช่าทรัพย์สินแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสัญญาและการเสียภาษี: กรณีบริการขนส่งไม่ใช่สัญญาเช่า
การที่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ตกลงกันกับบริษัท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทนอาจเกิดจากสัญญาเช่ารถยนต์ สัญญาจ้างหรือสัญญาอื่นก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและข้อเท็จจริงที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกัน กรณีที่จะเป็นสัญญาเช่านั้นตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537, 546 และ 552 ต้องปรากฏว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ตามความพอใจเท่าที่ไม่ขัดกับสัญญาและประเพณีนิยม ซึ่งในชั่วระยะเวลานั้นคู่สัญญาฝ่ายที่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น
โจทก์นำรถยนต์ไปรับคนโดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปยังที่ต่าง ๆ ตามที่ตกลงกันกับบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าโดยได้ค่าตอบแทน แต่โจทก์มิได้มอบการครอบครองรถให้คู่สัญญานำไปใช้ตามลำพัง และคู่สัญญาจะเอารถเลยไปยังสถานที่แห่งอื่นไม่ได้ โจทก์ให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไป มีคนประจำรถของโจทก์ไปด้วย คู่สัญญาของโจทก์ไม่มีอำนาจควบคุมการใช้รถ หรืออาจออกคำสั่งให้คนขับรถของโจทก์ขับรถไปในเส้นทางใดตามความประสงค์ของตนได้ ดังนี้สัญญาดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาเช่า แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้บริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าได้ใช้บริการในการขนส่งของโจทก์ โดยโจทก์ได้ค่าตอบแทนมากกว่า
เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์และบริษัทท่องเที่ยวหรือร้านค้าไม่เป็นสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว แม้จะมีการเรียกสัญญานั้นว่าเป็นสัญญาเช่า และเรียกค่าตอบแทนตามสัญญาว่าเป็นค่าเช่า หรือโจทก์ยอมรับกับเจ้าพนักงานประเมินว่าเป็นสัญญาเช่าก็หามีผลให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเพราะประกอบการค้าประเภทการให้เช่าทรัพย์สินแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ขับขี่จากอุบัติเหตุทางถนน, การขาดไร้อุปการะ, และข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่2และที่ 3จำเลยที่2เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่3เป็นกรรมการจำเลยที่1กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่2และที่3ขับรถยนต์ด้วยความประมาทล้อรถยนต์หลุดไปชนนางล.ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2ให้การว่าจำเลยที่2ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่1ขับรถไปในที่เกิดเหตุจำเลยที่1ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยร่วมให้การว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่2ที่3ดังนี้ข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่2ให้บริษัทก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุและข้อที่จำเลยที่2ฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่2กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่2นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตามเมื่อได้ความว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป100เมตรนางล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันทีและได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้วแต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษาเหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ดังนี้ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่1มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด การที่นางล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านางล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง กรมธรรม์ประกันภัยจำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้25,000บาทต่อหนึ่งคนและ100,000บาทต่อหนึ่งครั้งเมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคนจำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง25,000บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า100,000บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน100,000บาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากรถยนต์, การจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย, และค่าขาดไร้อุปการะ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท ล้อรถยนต์หลุดไปชนนาง ล. ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่ 1 ขับรถไปในที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยร่วมให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ให้บริษัท ก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุ และข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป 100 เมตร นาง ล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันที และได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้ว แต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา เหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่นาง ล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านาง ล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง
กรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคน จำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ขับขี่ในเหตุละเมิด, ค่าขาดไร้อุปการะ, และข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการจำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท ล้อรถยนต์หลุดไปชนนาง ล. ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่ 1 ขับรถไปในที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยร่วม ให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ให้บริษัท ก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุ และข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป 100 เมตร นาง ล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันที และได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้ว แต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา เหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่นาง ล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า นาง ล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง
กรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การสูญหายของเอกสาร และความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
กรณีที่จำเลยจะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ที่ 1ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วน หากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนจำเลยย่อมไม่มีอำนาจประเมินภาษีแก่โจทก์ที่ 1ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71(1)
เจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายโดยคำนวณให้โจทก์ที่ 1 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของจำนวนเงินเดือนที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปตามที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุนมิได้ทำการประเมินตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรการประเมินภาษีของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้หักภาษีเงินได้ส่วนนี้ไว้และมิได้นำส่งจำเลย จำเลยก็หาอาจเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ที่ 1โดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่
โจทก์ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหลังจากที่ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่ 1 เสียชีวิต แม้โจทก์ที่2ซึ่งเป็นภรรยา ส.และเป็นผู้จัดการมรดกส. จะได้เข้าไปดำเนินกิจการของโจทก์ที่ 1 ก็หามีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องกลายเป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดในหนี้ของโจทก์ที่ 1 ไม่ ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์ที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอันจะมีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การสูญหายของเอกสาร และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
กรณีที่จำเลยจะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ที่ 1 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วน หากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนจำเลยย่อมไม่มีอำนาจประเมินภาษีแก่โจทก์ที่ 1 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายโดยคำนวณให้โจทก์ที่ 1 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของจำนวนเงินเดือนที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปตามที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุน มิได้ทำการประเมินตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรการประเมินภาษีของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้หักภาษีเงินได้ส่วนนี้ไว้และมิได้นำส่งจำเลย จำเลยก็หาอาจเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ที่ 1 โดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่
โจทก์ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหลังจากที่ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่ 1 เสียชีวิต แม้โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยา ส. และเป็นผู้จัดการมรดก ส. จะได้เข้าไปดำเนินกิจการของโจทก์ที่ 1 ก็หามีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องกลายเป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดในหนี้ของโจทก์ที่ 1 ไม่ ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์ที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอันจะมีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด, การสูญหายของเอกสารหลักฐาน
กรณีที่จำเลยจะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ที่1ตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)นั้นต้องเป็นกรณีที่โจทก์ที่1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนหากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนจำเลยย่อมไม่มีอำนาจประเมินภาษีแก่โจทก์ที่1ตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1) เจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายโดยคำนวณให้โจทก์ที่1เสียภาษีในอัตราร้อยละ3ของจำนวนเงินเดือนที่โจทก์ที่1ได้จ่ายไปตามที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุนมิได้ทำการประเมินตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรการประเมินภาษีของจำเลยจึงไม่ชอบแม้โจทก์ที่1จะมิได้หักภาษีเงินได้ส่วนนี้ไว้และมิได้นำส่งจำเลยจำเลยก็หาอาจเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ที่1โดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่ โจทก์ที่1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหลังจากที่ส.หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่1เสียชีวิตแม้โจทก์ที่2ซึ่งเป็นภรรยาส.และเป็นผู้จัดการมรดกส.จะได้เข้าไปดำเนินกิจการของโจทก์ที่1ก็หามีผลให้โจทก์ที่2ต้องกลายเป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดในหนี้ของโจทก์ที่1ไม่ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์ที่1สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอันจะมีผลให้โจทก์ที่2ต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเทศบาลในการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อวินิจฉัยสมาชิกสภาเทศบาลขาดคุณสมบัติ
พระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา7วรรคสองบัญญัติให้เทศบาลเป็นทบวงการเมืองมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและกฎหมายอื่นเทศบาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงที่จะต้องดูแลว่าสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดขาดจากสมาชิกสภาพหรือไม่เทศบาลจึงมีอำนาจหน้าที่ที่จะยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาเทศบาลขาดจากสมาชิกภาพของสภาเทศบาลการยื่นคำร้องไม่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของหน้าที่เทศบาลและเทศบาลมีอำนาจยื่นคำร้องได้เองโดยไม่ต้องให้นายกเทศมนตรีทำการแทนในนามของนายกเทศมนตรี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกสภาเทศบาลขาดสมาชิกภาพหลังอุปสมบท และอำนาจการยื่นคำร้องของเทศบาล
พ.ร.บ.เทศบาลพ.ศ.2496มาตรา7วรรคสองบัญญัติให้เทศบาลเป็นทบวงการเมืองมีอำนาจหน้าที่ตามพ.ร.บ.ดังกล่าวและกฎหมายอื่นเทศบาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงที่จะต้องดูแลว่าสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดขาดจากสมาชิกภาพหรือไม่เทศบาลจึงมีอำนาจหน้าที่ที่จะยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาเทศบาลขาดจากสมาชิกภาพของสภาเทศบาลการยื่นคำร้องไม่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของหน้าที่เทศบาลและเทศบาลมีอำนาจยื่นคำร้องได้เองโดยไม่ต้องให้นายกเทศมนตรีทำการแทนในนามของนายกเทศมนตรี เมื่อการเป็นพระภิกษุเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งลาไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุเพียงชั่วคราวหลังวันเลือกตั้งจึงมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามความหมายของพ.ร.บ.เทศบาลพ.ศ.2496มาตรา19(4)เป็นผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลผู้นั้นสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่อุปสมบทโดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นการอุปสมบทเพียงชั่วคราวและได้ลาอุปสมบทแล้วหรือไม่.
of 49