คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรัตน์ ศรีอนุพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 944 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5636/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล แม้ไม่มีคำขอในฟ้อง ศาลก็มีอำนาจสั่งได้
ตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 65ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาแปดปีนั้น มีความหมายว่า เมื่อศาลพิพากษาลงโทษผู้ใดตามกฎหมายมาตรานี้แล้ว ให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นเสียมีกำหนดแปดปีด้วย แม้โจทก์จะไม่มีคำขอดังกล่าวระบุมาท้ายฟ้องก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษ พ.ร.บ.การพนัน: ต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.เอง ไม่ใช้ประมวลกฎหมายอาญา
พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 14 ทวิ (2) เป็นบทบัญญัติในการเพิ่มโทษเกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. การพนันที่กำหนดไว้เป็นพิเศษต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตราดังกล่าว จะนำหลักเกณฑ์ในเรื่องการเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5412/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์โดยผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอัยการ มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมาย
ผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอัยการลงชื่อรับรองอุทธรณ์ว่า มี เหตุสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย มีผลเท่ากับอธิบดีกรมอัยการ รับรองเอง และการรับรองหาจำต้องรับรองไว้ในตัวคำฟ้องอุทธรณ์ เสมอไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำไม้และมีไม้หวงห้ามในป่าสงวน: การแยกความผิดเป็นกรรมต่างกัน และการใช้บทกฎหมายที่มีโทษหนักสุด
การที่จำเลยทั้งสามทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติและมีไม้สักที่มิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง แม้ไม้สักที่จำเลยทั้งสามทำและมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันซึ่งต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ส่วนการทำไม้สักในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท และโทษตามพ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14,31 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ถือว่าโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73วรรคสอง หนักกว่าโทษตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14,31วรรคสอง จึงลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 11,73วรรคสอง อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้เถียงดุลพินิจศาลอุทธรณ์
แม้จำเลยทั้งสามจะฎีกาอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานหลักฐานผิดไปจากสำนวน และมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยคนใดกระทำความผิด เพราะจำเลยทั้งสามนำสืบปฏิเสธว่าไม่ทราบว่ามีไม้ของกลางบรรทุกบนรถยนต์คันเกิดเหตุนั้น แต่ฎีกาจำเลยทั้งสามล้วนเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลยทั้งสามไม่เกินคนละห้าปี ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4286/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท: สุจริต ป้องกันตนเอง ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีโจทก์ที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว แต่ยังไปได้จำเลยเป็นภริยาอีกจนกระทั่งมีบุตรด้วยกัน 1 คน การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสอง นั้น จึงเป็นการกล่าวโดยสุจริตด้วยความชอบธรรมเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่ใช่กล่าวเพื่อกลั่นแกล้งใส่ความโจทก์ทั้งสอง และไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองด้วย โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า โจทก์ที่ 1 มิได้ทำให้จำเลยมีครรภ์จำเลยมิได้เป็นภริยาโจทก์ที่ 1 และมิได้อยู่กินกับโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ไม่เคยกีดกัน ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวไม่เป็นความจริง จำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งและหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสอง ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น อันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี, ข้อเท็จจริง, ดุลพินิจศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า ส. ภริยาจำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยเอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปจำนำแก่ ค. การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานยักยอกมิใช่ความผิดฐานลักทรัพย์และสัญญายอมใช้ค่าเสียหายระหว่าง จ. บิดาจำเลยกับผู้เสียหายเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปเป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษนั้นก็เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคาร การลงโทษและความผิดหลายกระทง
การก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนตามที่ได้รับอนุญาตเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 อยู่ในตัว เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่จำเลยได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 31 และมีโทษตามมาตรา 65 กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 43 หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งมาตรา 43 วรรคสาม บัญญัติถึงมาตรการที่จะดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสองวรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม การฝ่าฝืนคำสั่งตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่ จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 69 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 65 วรรคสอง ไม่ การที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดกรรมหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างจำเลยฝ่าฝืนโดยยังคงทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสองและมาตรา 42 วรรคหนึ่ง และหากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก การกระทำของจำเลยเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งข้อเท็จจริงหลังรับสารภาพ และการริบของกลางในคดีป่าไม้ ศาลฎีกาตัดสินให้บังคับคดีตามศาลชั้นต้น
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ไม้แปรรูปและเครื่องใช้ของกลางเป็นทรัพย์ที่ได้มาและมีไว้เนื่องจากการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองซื้อไม้แปรรูปจากโรงเลื่อยจักรโดยถูกต้องตามกฎหมายและเครื่องใช้ดังกล่าวก็ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ ฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับการตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ จึงเป็นความผิดร้ายแรงสมควรแก่การกำราบปราบปราม การที่จำเลยมีไม้แปรรูป ปริมาตร 16.68 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 21.590 แผ่น ซึ่งเป็นไม้ที่มีจำนวนมากและสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นโดยผิดกฎหมายไว้ในครอบครองนับได้ว่าจำเลยกระทำความผิดอันมีลักษณะร้ายแรงดังนี้ ไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3271/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: รถยนต์ส่วนบุคคลน้ำหนักไม่เกิน 1.6 ตัน ไม่ต้องขออนุญาตประกอบการขนส่ง
พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5 ซึ่งแก้ไขโดย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 มาตรา 4 กำหนดให้รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ไม่ต้องถูกควบคุมตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ เมื่อรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่จำเลยใช้บรรทุกขนส่งคนโดยสารมีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม จึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ดังกล่าว แม้จำเลยจะนำรถคันนั้นมาประกอบการขนส่งประจำทางบรรทุกคนโดยสารเพื่อสินจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ มาตรา 23 ประกอบด้วยมาตรา 126.
of 95