พบผลลัพธ์ทั้งหมด 944 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ไม่มีสิทธิขอคืน
เมื่อคดีเดิม ซึ่งศาลสั่งริบเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางเพราะเห็นว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา การที่ผู้ร้องมาร้องขอคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางจึงไม่มีข้อที่จะวินิจฉัยได้อีกว่าเครื่องรับโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพนันหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่อาจมาร้องขอคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง และการฟังข้อเท็จจริงใหม่ที่จำเลยร่วมเป็นผู้เอาประกันภัย
โจทก์สองคนฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน 60,619 บาท โดยโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่ถูกชนเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ กับค่าที่รถยนต์เสื่อมราคารวมเป็นเงิน 27,500 บาท และโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยเรียกร้องเงินที่ได้ชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์และค่าลากจูงรถยนต์คันเกิดเหตุไปทำการซ่อมรวมเป็นเงิน 30,809 บาทดังนี้ไม่ใช่เป็นหนี้ร่วมที่ไม่อาจจะแบ่งแยกได้ โจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทและศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยร่วมแม้จะปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่แรกว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์และจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยอ้างว่าปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ภายหลังว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันนี้และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามคำร้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยร่วม จึงไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องและคำให้การ.
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยร่วมแม้จะปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่แรกว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์และจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยอ้างว่าปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ภายหลังว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันนี้และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามคำร้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยร่วม จึงไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องและคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และการรับประกันภัยรถยนต์จากผู้ครอบครองรถ
โจทก์สองคนฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน60,619 บาท โดยโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่ถูกชนเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ กับค่าที่รถยนต์เสื่อมราคารวมเป็นเงิน 27,500 บาทและโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยเรียกร้องเงินที่ได้ชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์และค่าลากจูงรถยนต์คันเกิดเหตุไปทำการซ่อมรวมเป็นเงิน 30,809 บาทดังนี้ไม่ใช่เป็นหนี้ร่วมที่ไม่อาจจะแบ่งแยกได้ โจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยร่วมแม้จะปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่แรกว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์และจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยอ้างว่าปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ภายหลังว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันนี้และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามคำร้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยร่วม จึงไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องและคำให้การ.
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยร่วมแม้จะปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่แรกว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์และจำเลยที่ 3 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยอ้างว่าปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ภายหลังว่า จำเลยร่วมเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันนี้และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามคำร้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยร่วม จึงไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องและคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503-3507/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง กรณีรถโดยสารร่วมและการพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 นำรถยนต์โดยสารไปเข้าร่วมวิ่งกับบริษัทจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 ภายในรถยนต์โดยสารมีประกาศของบริษัทจำเลยที่ 3 ติดอยู่และตั๋วโดยสารก็เป็นตั๋วของบริษัทจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าคนขับรถโดยสารคันดังกล่าวเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 3 เมื่อลูกจ้างขับรถยนต์โดยสารโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายมีผู้บาดเจ็บและตายอันเป็นการทำละเมิดในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 ที่ 3 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503-3507/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดในทางการที่จ้าง กรณีรถโดยสารร่วมเส้นทาง ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 นำรถยนต์โดยสารไปเข้าร่วมวิ่งกับบริษัทจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 ภายในรถยนต์โดยสารมีประกาศของบริษัทจำเลยที่ 3 ติดอยู่และตั๋วโดยสารก็เป็นตั๋วของบริษัทจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าคนขับรถโดยสารคันดังกล่าวเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 3 เมื่อลูกจ้างขับรถยนต์โดยสารโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายมีผู้บาดเจ็บและตายอันเป็นการทำละเมิดในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 ที่ 3 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433-3434/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปิดงานบางส่วนของนายจ้างในข้อพิพาทแรงงาน การแจ้งปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อแจ้งสหภาพแรงงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 และมาตรา 22 วรรคสามมิได้จำกัดสิทธิของนายจ้างว่าเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว นายจ้างจะต้องใช้สิทธิปิดงานทั้งหมดเท่านั้น ฉะนั้นนายจ้างย่อมมีสิทธิปิดงานบางส่วนเฉพาะลูกจ้างที่มีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้นั้นได้
การแจ้งถึงการปิดงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ให้นายจ้างแจ้งให้ฝ่ายลูกจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้ง มิได้กำหนดให้แจ้งแก่ลูกจ้างเป็นรายบุคคล เมื่อนายจ้างแจ้งการปิดงานเป็นหนังสือให้สหภาพแรงงานผู้แจ้งข้อเรียกร้องที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกทราบแล้ว การแจ้งการปิดงานจึงชอบด้วยกฎหมาย.
การแจ้งถึงการปิดงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ให้นายจ้างแจ้งให้ฝ่ายลูกจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้ง มิได้กำหนดให้แจ้งแก่ลูกจ้างเป็นรายบุคคล เมื่อนายจ้างแจ้งการปิดงานเป็นหนังสือให้สหภาพแรงงานผู้แจ้งข้อเรียกร้องที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกทราบแล้ว การแจ้งการปิดงานจึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังเกษียณและการจ่ายเงินบำเหน็จ กรณีลูกจ้างปฏิบัติงานโดยทุจริต
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2527 ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2527 ดังนี้ เมื่อโจทก์อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามข้อบังคับของจำเลยและไม่ปรากฏว่ามีระเบียบข้อบังคับใดห้ามผู้อำนวยการของจำเลยมิให้มีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานหลังจากเกษียณอายุไปแล้วทั้งคำสั่งให้เลื่อนเงินเดือนโจทก์ได้ระบุให้มีผลย้อนหลังไปก่อนเวลาที่โจทก์เกษียณอายุด้วย เช่นนี้ คำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์ดังกล่าวจึงชอบแล้ว หาเป็นการขัดต่อมาตรา21 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป พ.ศ.2498ไม่
ก่อนที่โจทก์จะถูกให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตก็ตาม แต่จำเลยก็มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุไปก่อนแล้ว ไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยทราบเรื่องดังกล่าวจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุเป็นไล่ออกแต่อย่างใดและกรณีดังกล่าวโจทก์มิใช่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์.
ก่อนที่โจทก์จะถูกให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตก็ตาม แต่จำเลยก็มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุไปก่อนแล้ว ไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยทราบเรื่องดังกล่าวจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุเป็นไล่ออกแต่อย่างใดและกรณีดังกล่าวโจทก์มิใช่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังเกษียณอายุชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิการรับเงินบำเหน็จไม่ตัดสิทธิเนื่องจากเกษียณอายุ
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2527 ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2527 ดังนี้ เมื่อโจทก์อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามข้อบังคับของจำเลยและไม่ปรากฏว่ามีระเบียบข้อบังคับใดห้ามผู้อำนวยการของจำเลยมิให้มีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานหลังจากเกษียณอายุไปแล้วทั้งคำสั่งให้เลื่อนเงินเดือนโจทก์ได้ระบุให้มีผลย้อนหลังไปก่อนเวลาที่โจทก์เกษียณอายุด้วย เช่นนี้ คำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์ดังกล่าวจึงชอบแล้ว หาเป็นการขัดต่อมาตรา 21 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป พ.ศ.2498 ไม่
ก่อนที่โจทก์จะถูกให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตก็ตาม แต่จำเลยก็มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุไปก่อนแล้ว ไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยทราบเรื่องดังกล่าวจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุเป็นไล่ออกแต่อย่างใดและกรณีดังกล่าวโจทก์มิใช่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์.
ก่อนที่โจทก์จะถูกให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตก็ตาม แต่จำเลยก็มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุไปก่อนแล้ว ไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยทราบเรื่องดังกล่าวจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุเป็นไล่ออกแต่อย่างใดและกรณีดังกล่าวโจทก์มิใช่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ ก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบและถือว่าข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับข้อหานี้อีก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าหรือไม่: การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าจากพฤติการณ์และบาดแผล
จำเลยไม่พอใจโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ใช้ให้บุตรจำเลยทำงานในหน้าที่คนงานเป็นเหตุ ให้บุตรจำเลยลาออกจากงาน วันเกิดเหตุจำเลยมาหาโจทก์ร่วมแสดงอาการไม่พอใจ โดยพูดจาต่อว่าโจทก์ร่วม ภริยาจำเลยได้พาจำเลยกลับไป ต่อมาจำเลยกลับมาหาโจทก์ร่วมอีกแล้วใช้เหล็กมีคมปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยตั้งใจแทงโจทก์ร่วมที่ใดอันเป็นอวัยวะสำคัญ เพียงแต่ปรากฏบาดแผลที่ปลายแขนซ้ายลึกประมาณ 2 นิ้ว รักษาเพียง 14 วันก็หาย ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 เท่านั้น