พบผลลัพธ์ทั้งหมด 944 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติสัญชาติไทย: ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และเงินบำเหน็จ
การที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยนั้นถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแต่นายจ้างไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีดังกล่าว เพราะเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติ มิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582มาใช้บังคับไม่ได้ ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นหนี้เงินที่กฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้ว นายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้างโดยลูกจ้าง มิพักต้องทวงถาม ส่วนเงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระแต่เมื่อใดนายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2868/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันท์สามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสได้ปลูกเรือนพิพาทอาศัยอยู่ด้วยกัน เรือนพิพาทถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่กินด้วยกัน ผู้ร้องกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2868/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ทำมาหากันระหว่างสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ได้ปลูกเรือนพิพาทอาศัยอยู่ด้วยกัน เรือนพิพาทถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างอยู่กินด้วยกัน ผู้ร้องกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับนิติบุคคลและกรรมการผู้จัดการในความผิดตาม พ.ร.บ.แร่ โดยแยกปรับตามรายตัวบุคคล
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 148ซึ่งต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงห้าเท่าของมูลค่าแร่ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่มิได้มีข้อจำกัดว่า ถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนแล้ว ให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่ เมื่อพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำประมวลกฎหมายอาญามาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับทางอาญาสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.แร่: ลงโทษปรับเรียงรายบุคคล แม้เป็นนิติบุคคลและกรรมการผู้จัดการ
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 148 ซึ่งต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงห้าเท่าของมูลค่าแร่ ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ มิได้มีข้อจำกัดว่า ถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนแล้ว ให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่ เมื่อพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำประมวลกฎหมายอาญามาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางในที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของเดิม ไม่ถือเป็นการได้สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความ
ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกในที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่มีมาอยู่แต่เดิมแล้วก่อนที่โจทก์จะใช้เป็นทางผ่านเข้าออก โจทก์เริ่มใช้ทางพิพาทเข้าออกขณะพี่ชายโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินนั้นแทนคณะพ่อค้า และโจทก์เป็นคณะกรรมการดูแลที่ดินคนหนึ่ง จึงเป็นการใช้ทางโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดิน ทั้งตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยการถือวิสาสะมิใช่เป็นการใช้สิทธิปรปักษ์ แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยที่ 1 ติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางโดยอาศัยสิทธิเจ้าของที่ดิน มิใช่การได้มาซึ่งภาระจำยอมตามอายุความ
ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกในที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่มีมาอยู่แต่เดิมแล้วก่อนที่โจทก์จะใช้เป็นทางผ่านเข้าออกโจทก์เริ่มใช้ทางพิพาทเข้าออกขณะพี่ชายโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินนั้นแทนคณะพ่อค้า และโจทก์เป็นคณะกรรมการดูแลที่ดินคนหนึ่ง จึงเป็นการใช้ทางโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดิน ทั้งตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยการถือวิสาสะมิใช่เป็นการใช้สิทธิปรปักษ์ แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยที่ 1 ติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2544/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอรับฟังว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาเห็นพ้อง
โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยานยืนยันว่าจำเลยร่วมกับพวกเป็นคนร้ายที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ที่ผู้เสียหายแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและให้การในชั้นสอบสวนต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยร่วมกับพวกปล้นทรัพย์นั้น ล้วนแต่เป็นเพียงคำบอกเล่ามีน้ำหนักน้อยพยานหลักฐานของโจทก์จึงยังไม่มั่นคงพอที่จะให้ฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2544/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอในการรับฟังว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาเห็นพ้อง
โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยานยืนยันว่าจำเลยร่วมกับพวกเป็นคนร้ายที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ที่ผู้เสียหายแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและให้การในชั้นสอบสวนต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยร่วมกับพวกปล้นทรัพย์นั้น ล้วนแต่เป็นเพียงคำบอกเล่ามีน้ำหนักน้อยพยานหลักฐานของโจทก์จึงยังไม่มั่นคงพอที่จะให้ฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ประเด็นนอกเหนือจากคำให้การเดิม แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ผู้เป็นนายจ้าง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่าคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายเคลือบคลุม และคดีโจทก์ขาดอายุความดังเช่นจำเลยที่ 1 ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ เพราะนอกเหนือจากคำให้การของตน.