พบผลลัพธ์ทั้งหมด 944 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลลงโทษฐานรับของโจร แม้ฟ้องฐานปล้นทรัพย์ - ข้อเท็จจริงไม่แตกต่างในสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่ กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญอันเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากปล้นทรัพย์เป็นรับของโจร และการลงโทษเกินอัตราโทษตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญอันเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองของผู้รับช่วงสิทธิจากการชำระหนี้ค้ำประกัน: การเฉลี่ยหนี้และการบังคับจำนอง
ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ส่วนหนึ่งตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์โดยมีการจำนองที่ดินเป็นประกันแม้ว่าผู้ร้องจะชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไปแล้วและได้รับช่วงสิทธิจำนองจากโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าว แต่ยังมีหนี้ส่วนอื่นที่จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ โจทก์ย่อมจะขอให้บังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ได้เพราะจำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์ซึ่งจำนองหมดทุกสิ่ง แม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าเฉลี่ยหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ผู้จำนองในฐานะเจ้าหนี้จำนองในลำดับชั้นเดียวกันกับโจทก์ผู้รับจำนอง ผู้ร้องมีสิทธิเข้าเฉลี่ยหนี้ได้ภายหลังจากโจทก์ผู้รับจำนองได้รับชำระหนี้จำนองครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนอง: การรับช่วงสิทธิจำนองเฉพาะส่วน และลำดับสิทธิเมื่อมีหนี้คงเหลือ
ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ส่วนหนึ่งตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์โดยมีการจำนองที่ดินเป็นประกันแม้ว่าผู้ร้องจะชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไปแล้วและได้รับช่วงสิทธิจำนองจากโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าว แต่ยังมีหนี้ส่วนอื่นที่จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ โจทก์ย่อมจะขอให้บังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ได้เพราะจำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์ซึ่งจำนองหมดทุกสิ่ง แม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าเฉลี่ยหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ผู้จำนองในฐานะเจ้าหนี้จำนองในลำดับชั้นเดียวกันกับโจทก์ผู้รับจำนอง ผู้ร้องมีสิทธิเข้าเฉลี่ยหนี้ได้ภายหลังจากโจทก์ผู้รับจำนองได้รับชำระหนี้จำนองครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4213-4214/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงพนักงานส่งเสริมการขายถือเป็นค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและดอกเบี้ย
โจทก์เป็นพนักงานส่งเสริมการขาย ต้องออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดทุกเดือน เดือนละประมาณ 19 วันในการออกปฏิบัติหน้าที่ในต่างจังหวัดจำเลยจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงอันได้แก่ค่าโรงแรมและค่าอาหารให้แก่โจทก์ วันละ 240 บาท ซึ่งเป็นจำนวนแน่นอนและเป็นการเหมาจ่าย ดังนี้ เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2530 ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่ค้างชำระแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2525 ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 5 ปี จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แล้ว
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2530 ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่ค้างชำระแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2525 ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 5 ปี จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานเมื่อข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์บ้านไม่ได้เป็นคดีแรงงาน
โจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องขับไล่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างออกจากห้องพักคนงาน ซึ่งโจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยอันเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาทในชั้นบังคับคดีผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทโดยเป็นผู้ก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างในที่ดินริมคูสาธารณะจึงมีสิทธิในบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ เมื่อผู้ร้องกับโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้างกัน กรณีของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานอันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องในคดีแรงงานของผู้ที่อ้างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับคดี
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างอยู่อาศัยเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องพิพาทศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน ในระหว่างการปิดคำบังคับ ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทโดยเป็นผู้ก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างในที่ดินริมคูสาธารณะ จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านพิพาทซึ่งเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทกับโจทก์โดยตรง เมื่อผู้ร้องกับโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้างกันจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 อันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท: สิทธิของผู้ก่อสร้าง vs. สิทธิของลูกจ้างที่ได้รับสวัสดิการ
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างอยู่อาศัยเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องพิพาทศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน ในระหว่างการปิดคำบังคับ ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทโดยเป็นผู้ก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างในที่ดินริมคูสาธารณะ จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านพิพาทซึ่งเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทกับโจทก์โดยตรง เมื่อผู้ร้องกับโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้างกันจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 อันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างกำหนดผลงานขั้นต่ำ แม้ไม่ทำตามก็ยังต้องจ่ายเงินเดือน หากไม่ได้ยกเลิกสัญญา
สัญญาจ้างข้อ 5 กำหนดเงินเดือนโจทก์ไว้เป็นจำนวนแน่นอนข้อ 6 กำหนดเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องทำผลงานขั้นต่ำขายเครื่องรับโทรทัศน์ให้ได้ 5 เครื่องต่อเดือน และข้อ 9 กำหนดว่าถ้าไม่สามารถทำผลงานได้ตามเงื่อนไขสัญญาจ้างถือเป็นการยกเลิกโดยอัตโนมัติ ดังนี้แม้สัญญาข้อ 6 จะมีเงื่อนไขการทำผลงานไว้แต่ก็มิได้กำหนดว่าหากเดือนใดโจทก์ทำไม่ได้ตามเงื่อนไข จำเลยจะไม่จ่ายเงินเดือนสำหรับเดือนนั้นแก่โจทก์ส่วนความในข้อ 9 นั้น มีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์เท่านั้น มิได้หมายความว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ฉะนั้นแม้โจทก์ทำผลงานไม่ได้ตามสัญญา จำเลยก็ยังต้องจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้าง: แม้มีเงื่อนไขผลงาน แต่จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างตามสัญญา หากไม่ได้ยกเลิกจ้าง
สัญญาจ้างข้อ 5 กำหนดเงินเดือนโจทก์ไว้เป็นจำนวนแน่นอนข้อ6 กำหนดเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องทำผลงานขั้นต่ำขายเครื่องรับโทรทัศน์ให้ได้ 5 เครื่องต่อเดือน และข้อ 9 กำหนดว่าถ้าไม่สามารถทำผลงานได้ตามเงื่อนไขสัญญาจ้างถือเป็นการยกเลิกโดยอัตโนมัติ ดังนี้แม้สัญญาข้อ 6 จะมีเงื่อนไขการทำผลงานไว้แต่ก็มิได้กำหนดว่าหากเดือนใดโจทก์ทำไม่ได้ตามเงื่อนไข จำเลยจะไม่จ่ายเงินเดือนสำหรับเดือนนั้นแก่โจทก์ส่วนความในข้อ 9 นั้น มีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์เท่านั้น มิได้หมายความว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ฉะนั้นแม้โจทก์ทำผลงานไม่ได้ตามสัญญา จำเลยก็ยังต้องจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์