คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ม. 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและมีไว้ในครอบครองซากสัตว์ป่า: การพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำว่า "ล่า" ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 4 หมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ ฉะนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันล่าปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ Scleractinia และ Stylasterina ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมหมายถึงปะการังนั้นไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ โจทก์หาต้องบรรยายถ้อยคำดังกล่าวไว้ในคำฟ้องอีกไม่ส่วนรายละเอียดที่บรรยายฟ้องต่อมาถึงวิธีการล่าโดยการเก็บ หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใดก็น่าจะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครอง มีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จเมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ส่วนการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าดังกล่าวแยกต่างหากจากการเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ความผิดทั้งสองฐานนี้จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่าปะการังและการครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครอง: การพิจารณาความผิดหลายกรรม
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันล่าปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ Scleractinia และ Stylasterina ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งคำว่า "ล่า" นั้นตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คำนิยามไว้ว่า หมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันล่าปะการังแข็งซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองย่อมหมายความถึงปะการังนั้น ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระโดยหาต้องบรรยายถ้อยคำดังกล่าวไว้ในคำฟ้องอีก คำฟ้องโจทก์หาได้เคลือบคลุมไม่
การจะพิจารณาว่า การกระทำใดเป็นความผิดหลายกรรมหรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำเป็นสำคัญ ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง และความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์คุ้มครองมีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกัน จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จ เมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครองและการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบตามฟ้อง ย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบ แยกต่างหากจากการเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ถือได้ว่าความผิดทั้งสองฐานเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: การพิจารณาจากแนวเขตแผนที่ แม้ไม่ได้ระบุชื่อตำบลโดยตรง
แม้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าพนมดงรัก ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2521 มาตรา 3 จะกำหนดให้บริเวณ ที่ดินป่าพนมดงรักเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉพาะในท้องที่ตำบลโนนสูงตำบลบักดอกอำเภอขุนหาญ และตำบลละลา ตำบลบึงมะลูอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมิได้ระบุชื่อตำบลรุงอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษไว้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในแนวเขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ต้องถือว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินแผ้วถางทำลายต้นไม้พฤกษชาติอื่นและปลูกกระท่อมพักอาศัยโดยจำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดตามโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การบุกรุกพื้นที่ป่า และความผิดตามกฎหมาย
แม้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่านพมดงรักฯ ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตรว์ป่า พ.ศ.2521 มาตรา 3 จะกำหนดให้บริเวณที่ดินป่าพนมดงรักเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉพาะในท้องที่ตำบลโนนสูง ตำบลบักดอก อำเภอขุนหาญ และตำบลละลายตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมิได้ระบุชื่อตำบลรุง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษไว้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในแนวเขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ต้องถือว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินแผ้วถางทำลายต้นไม้พฤกษชาติอื่นและปลูกกระท่อมพักอาศัยโดยจำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดตามโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของผู้ไม่รู้เห็นเป็นใจในความผิดตามกฎหมายอุทยานและสัตว์ป่า ศาลวินิจฉัยว่าต้องไม่ริบหากเจ้าของมิได้รู้เห็น
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 29 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 47ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ข้อ 18 บัญญัติในทำนองเดียวกันว่า "บรรดาอาวุธเครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นโดยมิต้องคำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือไม่" นั้น แม้จะบัญญัติให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ด้วยก็ตาม แต่มิได้บัญญัติมีข้อความระบุถึงกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จะตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วยหาได้ไม่ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงมีสิทธิร้องขออาวุธปืนของกลางคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของผู้ที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดตามกฎหมายอุทยานและสัตว์ป่า
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 29 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 47ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ข้อ 18 บัญญัติในทำนองเดียวกันว่า"บรรดาอาวุธเครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยมิต้องคำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือไม่" นั้น แม้จะบัญญัติให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ด้วยก็ตาม แต่มิได้บัญญัติมีข้อความระบุถึงกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จะตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วยหาได้ไม่ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงมีสิทธิร้องขออาวุธปืนของกลางคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของผู้อื่นที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ศาลมีสิทธิคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
แม้พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 29 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 47 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ข้อ 18 จะบัญญัติไว้ทำนองเดียวกันว่าบรรดาอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำผิดฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษฯ หรือไม่ก็ตามก็มิได้บัญญัติมีข้อความระบุถึง กรณีที่เจ้าของทรัพย์สินมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จะตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าว มีความมุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดไม่ได้กรณีต้องตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 คือผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงมีสิทธิร้องขออาวุธปืนของกลางคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และการริบอาวุธที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรได้ออกประกาศห้ามล่าสัตว์ป่าคุ้มครองประเภท 2 บางชนิด.ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ และเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคมทุกปีโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ทราบทั่วกัน. จำเลยได้ทราบประกาศแล้วบังอาจใช้ปืนมีทะเบียนของ บ. ยิงวัวแดง 1 ตัว โดยมิได้รับอนุญาต จำเลยให้การปฏิเสธ แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบว่าจำเลยได้ทราบประกาศกระทรวงเกษตรดังกล่าว ก็ไม่ถือว่าเป็นการสืบไม่สมฟ้อง เพราะประกาศนั้นได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไป รวมทั้งจำเลยด้วย โจทก์จึงมิต้องนำสืบอีก
ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบปืนที่จำเลยใช้ล่าวัวแดง อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 9 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ได้ตามมาตรา 47 ที่จำเลยอ้างว่าเป็นปืนมีทะเบียน และเจ้าของปืนยังไม่ได้ร่วมในการกระทำผิดนั้น เรื่องเจ้าของปืนร่วมกระทำผิดหรือไม่ มิได้มีประเด็นที่จะนำสืบกันในคดีนี้