คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสรี แสงศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 535 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากทำร้ายร่างกายเป็นอันตรายสาหัส และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริงเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา295 จำคุก 8 เดือนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายสาหัสตามมาตรา 297 จำคุก 2 ปี ดังนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ข้อหาพยายามฆ่าโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงฐานพยายามฆ่า.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายทรัพย์สินโดยจำเลยที่ 1 แม้โจทก์ยังไม่ได้พิพากษาถึงการรับผิดชำระหนี้ ไม่ถือเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 นำยึดบ้านและทรัพย์สินโดยอ้างว่าเป็นของมารดาโจทก์ ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ โจทก์ยื่นคำร้องขัดทรัพย์อ้างว่าทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 นำยึดเป็นของโจทก์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกเป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด โดยศาลยังมิได้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้สัญญากู้ไม่ขีดฆ่าแสตมป์ แต่การรับสภาพหนี้โดยจำเลย ยังคงใช้เป็นหลักฐานได้
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 นอกจากให้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนแล้ว จะต้องขีดฆ่าแสตมป์แล้วด้วย จึงจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แม้สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องไม่ได้ขีดฆ่าแสตมป์อันจะใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การรับว่าจำเลย ได้เขียนสัญญากู้มอบให้โจทก์ไว้ ก็ย่อมฟังได้ว่าจำเลยกู้เงิน โจทก์โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ โดยไม่ต้องอาศัยฟังจากเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1345/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานช่วยซ่อนเร้นของหนีภาษี, การคำนวณค่าปรับ, และอำนาจศาลในการแก้ไขโทษ
ขณะถูกจับกุมพร้อมของหนีภาษี จำเลยที่ 3 นั่งรถยนต์ไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถ ของหนีภาษีที่บรรทุกรถยนต์มามีเป็นจำนวนมากและเป็นสินค้าที่นำมาจากต่างประเทศ ของหนีภาษีบรรทุกรถยนต์มามีเป็นจำนวนมากและเป็นสินค้าที่นำมาจากต่างประเทศ ของบางส่วนเอาไว้ที่เบาะที่นั่งตอนหลังเห็นได้ชัดเจน เช่นนี้นับได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ช่วยซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสีย หรือรับเอาไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรตาม พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา27 ทวิ แล้ว
พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27 ทวิ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ค่าปรับตามบทมาตราดังกล่าวหาได้หมายความรวมถึงภาษีการค้า ภาษีเทศบาลอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ การคิดคำนวนค่าปรับโดยนำภาษีการค้า ภาษีเทศบาล มารวมคำนวณด้วยจึงไม่ชอบ และศาลต้องปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดด้วยกันทุกคนไม่เกินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยทุกคนเรียงตามรายตัวบุคคลจึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่โจทก์พอใจมิได้อุทธรณ์โต้แย้งปัญหานี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 รวมกันย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันได้รับโทษหนักขึ้น เป็นการต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา212 เนื่องจากปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุที่อยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยใหม่ให้จำเลยทุกคนได้รับโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลรวมกันแล้วไม่เกินโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดมีหน้าที่ชำระราคาแม้มีการอุทธรณ์คำสั่งขาย แต่หากไม่ชำระต้องรับผิดในความเสียหาย
การขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งศาล ผู้สู้ราคาจะพ้นความผูกพันในราคาซึ่งตนสู้ขณะเมื่อมีผู้อื่นสู้ราคาสูงขึ้นไป หรือเมื่อได้ถอนทรัพย์สินรายนั้นจากการทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 514 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาเสนอราคาสูงสุด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแก่ผู้ร้อง การขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์ แม้จำเลยจะได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลย และศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้ร้องไม่ต้องวางเงินส่วนที่ค้างชำระกับคืนเงินที่ผู้ร้องได้วางไว้ต่อศาลให้แก่ผู้ร้องนั้น ก็มีผลเพียงผู้ร้องยังไม่ต้องใช้ราคาค่าซื้อทรัพย์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดเท่านั้น หาเป็นเหตุให้ผู้ร้องพ้นความผูกพันในราคาสูงสุดที่ตนสู้ไม่ต่อมาเมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องต้องใช้ราคาที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมด เมื่อผู้ร้องละเลยเสียไม่ใช้ราคา จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดใหม่ ถ้าได้เงินสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้ร้องต้องรับผิดในส่วนที่ขาด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 516

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาด: ผู้สู้ราคาสูงสุดยังผูกพัน แม้มีคำสั่งศาลชะลอการชำระราคา จนกว่าคดีถึงที่สุด
การขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งศาล ผู้สู้ราคาจะพ้นความผูกพันในราคาซึ่งตนสู้ขณะเมื่อมีผู้อื่นสู้ราคาสูงขึ้นไป หรือเมื่อได้ถอนทรัพย์สินรายนั้นจากการทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 514 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาเสนอราคาสูงสุด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแก่ผู้ร้อง การขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์ แม้จำเลยจะได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลย และศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้ร้องไม่ต้องวางเงินส่วนที่ค้างชำระกับคืนเงินที่ผู้ร้องได้วางไว้ต่อศาลให้แก่ผู้ร้องนั้น ก็มีผลเพียงผู้ร้องยังไม่ต้องใช้ราคาค่าซื้อทรัพย์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดเท่านั้น หาเป็นเหตุให้ผู้ร้องพ้นความผูกพันในราคาสูงสุดที่ตนสู้ไม่ต่อมาเมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องต้องใช้ราคาที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมด เมื่อผู้ร้องละเลยเสียไม่ใช้ราคา จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดใหม่ ถ้าได้เงินสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้ร้องต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 516.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: การเปลี่ยนแปลงภาระเพิ่มขึ้นโดยมิชอบ เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิ
จำเลยได้ทรัพยสิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ ต่อมาจำเลยนำเสาไฟฟ้าจำนวน 3 ต้น ปักลงในทางภาระจำยอมดังกล่าว ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิกระทำ ไม่ใช่การรักษาหรือใช้ภาระจำยอมในการเดินผ่านทางพิพาทตามปกติ
คำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนให้โจทก์มีอำนาจรื้อถอนได้เองโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ชอบที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตยังไม่เกิดผล หากผู้รับประกันยังไม่ได้สนองรับคำเสนอและออกกรมธรรม์
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจ เป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประกันชีวิตต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันโดยตรง หากไม่มีการสนองรับ สัญญาประกันยังไม่เกิดขึ้น
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประกันชีวิตต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกัน หากไม่มีการสนองรับ สัญญาประกันยังไม่เกิดขึ้น
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอา บทบัญญัติ พระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วยซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2510 มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อน เท่านั้นและต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรงสัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น
of 54