คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปชา วรธรรมพินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องสอดในการต่อสู้คดีฟ้องเคลือบคลุมและอำนาจฟ้องร่วมกันของทายาทในคดีมรดก
โจทก์ฟ้องผู้จัดการมรดกเป็นจำเลย ทายาทร้องสอดเข้ามาขอให้ยกฟ้องโจทก์ เป็นการร้องสอดเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1)ซึ่งตามมาตรา 58 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ฉะนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะต่อสู้คดีในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสิบสองไม่มีสิทธิร่วมกันฟ้องมาในคดีเดียวกันได้ทั้งสองประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ร้องสอดในการต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมและอำนาจฟ้องในคดีมรดก
ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามมาตรา 58วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและอำนาจฟ้องของโจทก์ได้ โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนาง น. ทั้งหมดอ้างว่าตนเป็นทายาทโดยธรรมของนาง น. นาย ก. สามีนาง น.ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านาย ก. ไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. โจทก์มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาง น. แต่บางส่วน ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนาง น. ตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องสอดในการต่อสู้คดีมรดก และขอบเขตการพิพากษาตามคำขอ
ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามมาตรา 58วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนาง น. ทั้งหมดอ้างว่าตนเป็นทายาทโดยธรรมของนาง น. นาย ก. สามีนาง น.ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านาย ก. ไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. โจทก์มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาง น. แต่บางส่วน ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนาง น. ตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การขายลดเช็คและการกระทำความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเจตนาให้ใช้เงิน
ว. เป็นผู้นำเช็คพิพาทที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายไปขายลดให้ธนาคารโจทก์ โจทก์รับซื้อเช็คดังกล่าวไว้ตามข้อตกลงที่ ว.เปิดบัญชีขายลดเช็คไว้กับโจทก์ ส่วนการจ่ายเงินที่ขายลดเช็คพิพาทนั้น ไม่ว่าจ่ายเงินให้แก่ผู้ใดไปก็ตาม ย่อมถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินค่าซื้อลดเช็คพิพาทแล้ว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้เมื่อโจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินแล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนและอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัท พ. มีหนี้ที่ต้องชำระต่อ โจทก์ จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจขอเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. ได้ การที่จำเลยมีหนังสือยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. และโจทก์มีหนังสือตอบสนองรับไปแล้ว เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่ง คู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะก็ต้องใช้อายุความ 10 ปตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 หาใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมูลหนี้เดิมไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนและการใช้บังคับอายุความ 10 ปี
บริษัท พ. มีหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์ จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจขอเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ.ได้ การที่จำเลยมีหนังสือยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. และโจทก์มีหนังสือตอบสนองรับไปแล้ว เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะก็ต้องใช้อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่มีอายุความ2 ปี ตามมูลหนี้เดิมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนและอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัท พ. มีหนี้ที่ต้องชำระต่อโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจขอเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. ได้ การที่จำเลยมีหนังสือยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. และโจทก์มีหนังสือตอบสนองรับไปแล้ว เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะก็ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 หาใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมูลหนี้เดิมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลอื่น: อายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 มิใช่ 2 ปี
บริษัท พ. มีหนี้ต้อง ชำระต่อ โจทก์ จำเลยซึ่ง เป็นบุคคลภายนอกอาจขอเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. ได้ การที่จำเลยมีหนังสือยอมผูกพันตน เข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. และโจทก์มีหนังสือตอบสนองรับไปแล้ว เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่ง คู่สัญญากระทำด้วย ความสมัครใจเมื่อไม่ขัดต่อ กฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้ บังคับได้ และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้อง ใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา164 หาใช่มีอายุความ 2 ปี ตาม มูลหนี้ เดิมไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถมดินปิดกั้นลำธารทำให้เสียหาย: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ให้ชดใช้ค่าเสียหาย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในฎีกานั้น คู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดย ชัดแจ้งในฎีกาและต้อง เป็นข้อที่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของโจทก์และยกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสาม โจทก์อุทธรณ์ จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์ ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามจึงเป็นอันยุติตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ โจทก์นำสืบถึง ความเสียหายที่ได้ รับจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 แม้จะมิได้นำสืบว่าข้าวราคาเกวียนละเท่าใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ ตาม ที่เห็น สมควร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833-834/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าทรัพย์และสิทธิของเจ้าของที่ดิน: การยกกฎหมายพิเศษต้องทำในชั้นพิจารณาคดี
การเช่าทรัพย์อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะเช่าทรัพย์หากจำเลยจะอ้างความคุ้มครองตามกฎหมายพิเศษก็ต้องยกขึ้นต่อสู้ไว้ เพราะตามป.วิ.พ. มาตรา 177 บัญญัติให้จำเลยแสดงโดยแจ้งชัดในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น เมื่อตามคำให้การของจำเลยไม่ได้อ้างสิทธิหรือความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 อันเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นต่อสู้คดี จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้และที่ศาลชั้นต้นหยิบยก พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 โดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ชอบเมื่อจำเลยค้างชำระค่าเช่านาพิพาทรวม 2 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกการเช่า ฟ้องขับไล่ เรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากจำเลยได้
of 64