พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เนื่องจากขาดลายมือชื่อพยานรับรองและเจตนาที่แท้จริงของผู้ลงลายมือชื่อ
หนังสือรับสภาพความรับผิดมีลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยที่ 1ในช่องผู้ให้สัญญา และมีลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้รับสัญญา โดยไม่มีผู้ใดลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาและรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยที่ 1 ส่วนทางด้านซ้ายมือเยื้อง ๆ กับช่องที่จำเลยที่ 1พิมพ์ลายนิ้วมือมีการเขียนเติมให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาและจำเลยที่ 3 พิมพ์ลายนิ้วมือในช่องผู้ให้สัญญาอีกช่องหนึ่งซึ่งเขียนถัดลงมา โดยไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเช่นเดียวกันดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 และที่ 3ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 9 วรรคสาม จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้และมิได้ยกขึ้นมาในฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 พิจารณาจากราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ หรือราคาปานกลางตาม พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนราคาของทรัพย์สินตามราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้นำเอาราคาที่ซื้อขายก่อนและหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับที่สุดมาประกอบกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกันในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่เพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเอกชนเสียภาษีบำรุงท้องที่มาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินตามราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ โดยอ้างอิงราคาปานกลางภาษีบำรุงท้องที่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้นำเอาราคาที่ซื้อขายก่อนและหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับที่สุดมาประกอบกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกันในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นเอกชนเสียภาษีบำรุงท้องที่มาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3733/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การปลอมเอกสารเพื่อฉ้อโกงเป็นเจตนาต่อเนื่อง
แม้โจทก์แยกฟ้องเป็น 3 ข้อ แต่ระบุวันเวลากระทำผิด คือระหว่างวันที่ 11 กรกฎาคม 2530 ถึงวันที่ 16 มกราคม 2531เวลากลางวันจำเลยได้ทำเอกสารและเอกสารราชการปลอมและให้วันที่ 16 มกราคม 2531 เวลากลางวันจำเลยจึงนำเอกสารที่ทำปลอมดังกล่าวไปใช้แสดงเพื่อพยายามฉ้อโกง ดังนี้ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยทำเอกสารและเอกสารราชการปลอมก็เพื่อจะนำไปใช้ฉ้อโกง อันเป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาเดียวเพื่อให้ ก.หลงเชื่อว่าจำเลยคือ ค. เจ้าของเช็คเดินทาง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และอำนาจการสั่งรื้อถอนของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้เกิน 30 วัน
จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯและฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารฯและการกระทำของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมาตรา 42 วรรคหนึ่ง มิใช่มีอำนาจเพียงสั่งให้จำเลยยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องตามมาตรา 43 เท่านั้น แม้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 40 วรรคสอง จะได้กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารก็ตาม แต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการที่จะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องนั้นหมดไปโจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาทเมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอนอาคารพิพาทแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารพิพาททราบโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าของร่วมทุกคนทราบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนคำพิพากษาให้รื้อถอน
จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้นเป็น 5 ชั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีทางเดินหลังอาคารและแนวอาคารไม่ร่นหลบแนวเขตถนน จึงเป็นการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสองกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต และอำนาจการสั่งรื้อถอนของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้นเป็น 5 ชั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีทางเดินหลังอาคารและแนวอาคารไม่ร่นหลบแนวเขตถนน จึงเป็นการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสองกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง แต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาแล้วถึงที่สุด คดีใหม่มีมูลคดีและคำขอบังคับอย่างเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลย พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมตัดสินสัญญาโมฆะแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกมัดจำจากสัญญานั้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยได้พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาว่าสัญญาเป็นโมฆะแล้ว ฟ้องใหม่เรียกเงินมัดจำจากสัญญานั้น ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลย พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148