พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่แรงงานตามประกาศ คณะปฏิวัติ และ พ.ร.บ. ระงับข้อพิพาทแรงงาน การจ่ายค่าจ้างทำงานวันหยุด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2501 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2508มาตรา 3 ให้ยกเลิกข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 แล้วบัญญัติวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานขึ้นใหม่ ส่วนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ข้อ 2 และข้อ 7 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดเวลาทำงานวันหยุดงานของลูกจ้าง ฯลฯ ตลอดจนการสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทย ตามความในข้อ 2ยังมีผลใช้บังคับอยู่และเป็นกรณีข้อมูลคนละเรื่องกับพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2508 เพราะกฎหมายฉบับนี้มีหลักการว่าด้วยการกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานและให้ยกเลิกเฉพาะในข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เท่านั้น
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ได้กำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างในงานอุตสาหกรรมว่า โดยปกติจะเกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงไม่ได้นั้นไม่ได้หมายความว่าลูกจ้างต้องทำงานจนครบสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงเมื่อลูกจ้างได้ทำงานตามวันเวลาที่ตกลงจ้างกันแล้ว แม้เวลาทำงานไม่ครบ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามอัตราที่ตกลงกัน ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดงาน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างอีกเป็นพิเศษตามที่กฎหมายบังคับไว้นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะหักชั่วโมงทำงานในวันหยุดงานไปชดเชยชั่วโมงทำงานในวันทำงานตามปกติที่ยังไม่ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมงให้ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมง แม้ลูกจ้างจะตกลงยินยอมด้วยก็ไม่มีผลบังคับเพราะเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ได้กำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างในงานอุตสาหกรรมว่า โดยปกติจะเกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงไม่ได้นั้นไม่ได้หมายความว่าลูกจ้างต้องทำงานจนครบสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงเมื่อลูกจ้างได้ทำงานตามวันเวลาที่ตกลงจ้างกันแล้ว แม้เวลาทำงานไม่ครบ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามอัตราที่ตกลงกัน ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดงาน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างอีกเป็นพิเศษตามที่กฎหมายบังคับไว้นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะหักชั่วโมงทำงานในวันหยุดงานไปชดเชยชั่วโมงทำงานในวันทำงานตามปกติที่ยังไม่ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมงให้ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมง แม้ลูกจ้างจะตกลงยินยอมด้วยก็ไม่มีผลบังคับเพราะเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน