พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรและการสืบมรดกของบุตร
จำเลยปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดก จำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก แต่การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรนั้นเป็นการเฉพาะตัว บุตรของจำเลยซึ่งไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกย่อมสืบมรดกต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้ว ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1607, 1639
เจ้ามรดกมีบุตร 2 คน คือโจทก์และจำเลย เมื่อจำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดกและบุตรของจำเลยรับมรดกแทนที่แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิรับมรดกเพียงกึ่งหนึ่ง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
เจ้ามรดกมีบุตร 2 คน คือโจทก์และจำเลย เมื่อจำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดกและบุตรของจำเลยรับมรดกแทนที่แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิรับมรดกเพียงกึ่งหนึ่ง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้มีสิทธิ vs. ผู้คัดค้าน กรณีพินัยกรรมเป็นข้อพิพาท
คำร้องของผู้ร้องและของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ต่างก็อ้างเหตุว่าเป็นทายาทโดยธรรม โดยเป็นบุตรของผู้ตายเช่นกัน ประเด็นพิพาทจึงมีเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงไม่สมควรให้ส่งพินัยกรรมของผู้ร้องไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ เมื่อคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ปรากฏว่า นอกจากที่ดินตาม น.ส.3 ก. อันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้ พ. แล้ว ผู้ตายยังมีทรัพย์มรดกอื่นอีกหรือไม่การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าพินัยกรรมเป็นเอกสารปลอม เมื่อผู้คัดค้านไม่ใช่ฝ่ายเริ่มคดีขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และศาลไม่ได้ประกาศนัดไต่สวนคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้าน ทำให้ พ.ไม่ได้มาเป็นคู่ความในคดี ซึ่ง พ. อาจมีข้อโต้เถียงว่าพินัยกรรมของผู้ตายไม่ใช่เอกสารปลอม และคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะให้ศาลวินิจฉัยว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยพินัยกรรมปลอม และสิทธิผู้รับพินัยกรรม/ทายาทโดยธรรมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องอ้างสิทธิในคำร้องขอจัดการมรดกว่าร้องขอในฐานะที่ผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรม มิได้ร้องขอในฐานะทายาทโดยธรรมด้วย เมื่อผู้คัดค้านอ้างในคำคัดค้านว่าพินัยกรรมดังกล่าวผู้ร้องทำปลอมขึ้นปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ย่อมเป็นประเด็นที่จำต้องวินิจฉัยเพราะหากพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องทำปลอมขึ้นผู้ร้องย่อมถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606(5) จึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก แม้ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีในศาลชั้นต้นก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ ซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ถูกต้องได้ ท. ซึ่งมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมข้อ 9 และข้อ 10 ตายก่อนเจ้ามรดก ข้อกำหนดในพินัยกรรมส่วนนี้จึงเป็นอันตกไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามมาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคสอง กล่าวคือต้องตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ซึ่งรวมทั้งผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านในฐานะทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมหรือพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้คัดค้านมีความประพฤติดีไม่เคยทำร้ายหรือเป็นหนี้เจ้ามรดกดังคำพยานผู้ร้อง ส่วนข้อที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นเหตุไม่สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 จึงสมควรตั้งผู้ร้องและ ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์ตัดสิทธิทายาทโดยธรรม แม้ผู้รับพินัยกรรมหาพินัยกรรมไม่พบก็ไม่เสียสิทธิ
ก.บุตรโจทก์สมรสกับ ท. ก.และ ท.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินสมรสให้ซึ่งกันและกัน ก. ตายก่อน ท. จึงไปขอรับมรดกต่อมา ท.ตาย ก่อนตาย ท.ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่ได้รับมรดกมาทั้งหมดให้จำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะเป็นทายาทโดยธรรมของ ก. ก็ต้องถูกตัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก อ้างว่าเป็นทายาทของ ก. จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในกองมรดก เพราะ ก.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของ ก.ให้ ท.ทั้งหมดแล้วซึ่งจำเลยจะส่งศาลในวันพิจารณานั้น เป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งไม่เคลือบคลุม
จำเลยมิได้ให้การถึงว่าจำเลยนำเอาพินัยกรรมไปขอรับมรดก การที่จำเลยนำสืบว่าพินัยกรรมหายขณะที่ขอรับมรดกจึงมิได้เอาพินัยกรรมไปขอรับมรดกนั้น ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้รับพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมทำพินัยกรรมหายจึงไปขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นหาใช่ผู้รับพินัยกรรมบอกสละ พินัยกรรมซึ่งทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(3) ไม่ เพราะมิใช่เป็นการสละไม่ขอรับมรดกหรือมีเจตนาจะไม่รับเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมผู้รับพินัยกรรมชอบที่จะนำ พินัยกรรมที่หาพบในภายหลังไปขอรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมอีกได้ และการที่หาพินัยกรรมไม่พบนั้นก็ถือไม่ได้ว่าผู้รับพินัยกรรมปกปิดพินัยกรรม
สามีภริยาทำพินัยกรรมฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์ให้แก่กันเมื่อตายนั้น หาใช่เป็นการตั้งผู้รับพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไขบังคับว่าผู้รับพินัยกรรมต้องทำ พินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมไม่ พินัยกรรมดังกล่าวสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ (อ้างฎีกาที่ 1764/2498)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก อ้างว่าเป็นทายาทของ ก. จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในกองมรดก เพราะ ก.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของ ก.ให้ ท.ทั้งหมดแล้วซึ่งจำเลยจะส่งศาลในวันพิจารณานั้น เป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งไม่เคลือบคลุม
จำเลยมิได้ให้การถึงว่าจำเลยนำเอาพินัยกรรมไปขอรับมรดก การที่จำเลยนำสืบว่าพินัยกรรมหายขณะที่ขอรับมรดกจึงมิได้เอาพินัยกรรมไปขอรับมรดกนั้น ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้รับพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมทำพินัยกรรมหายจึงไปขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นหาใช่ผู้รับพินัยกรรมบอกสละ พินัยกรรมซึ่งทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(3) ไม่ เพราะมิใช่เป็นการสละไม่ขอรับมรดกหรือมีเจตนาจะไม่รับเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมผู้รับพินัยกรรมชอบที่จะนำ พินัยกรรมที่หาพบในภายหลังไปขอรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมอีกได้ และการที่หาพินัยกรรมไม่พบนั้นก็ถือไม่ได้ว่าผู้รับพินัยกรรมปกปิดพินัยกรรม
สามีภริยาทำพินัยกรรมฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์ให้แก่กันเมื่อตายนั้น หาใช่เป็นการตั้งผู้รับพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไขบังคับว่าผู้รับพินัยกรรมต้องทำ พินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมไม่ พินัยกรรมดังกล่าวสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ (อ้างฎีกาที่ 1764/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์-ตัดทายาท-การรับมรดกตามพินัยกรรม/โดยธรรม-การสละพินัยกรรม-การปกปิดพินัยกรรม
ก. บุตรโจทก์สมรสกับ ท. ก. และ ท. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินสมรสให้ซึ่งกันและกัน ก. ตายก่อน ท. จึงไปขอรับมรดกต่อมา ท. ตายก่อนตาย ท. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่ได้รับมรดกมาทั้งหมดให้จำเลยดังนี้ แม้โจทก์จะเป็นทายาทโดยธรรมของ ก. ก็ต้องถูกตัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก อ้างว่าเป็นทายาทของ ก. จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในกองมรดก เพราะ ก. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของ ก. ให้ ท. ทั้งหมดแล้วซึ่งจำเลยจะส่งศาลในวันพิจารณา นั้น เป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ไม่เคลือบคลุม
จำเลยมิได้ให้การถึงว่าจำเลยนำเอาพินัยกรรมไปขอรับมรดกการที่จำเลยนำสืบว่าพินัยกรรมหายขณะไปขอรับมรดกจึงมิได้เอาพินัยกรรมไปขอรับมรดกนั้น ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้รับพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมทำพินัยกรรมหาย จึงไปขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นหาใช่ผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรมซึ่งทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(3)ไม่ เพราะมิใช่เป็นการสละไม่ขอรับมรดกหรือมีเจตนาจะไม่รับเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมผู้รับพินัยกรรมชอบที่จะนำพินัยกรรมที่หาพบในภายหลังไปขอรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมอีกได้ และการที่หาพินัยกรรมไม่พบนั้นก็ถือไม่ได้ว่าผู้รับพินัยกรรมปกปิดพินัยกรรม
สามีภริยาทำพินัยกรรมฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์ให้แก่กันเมื่อตายนั้น หาใช่เป็นการตั้งผู้รับพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไขบังคับว่าผู้รับพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมไม่พินัยกรรมดังกล่าวสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ (อ้างฎีกาที่ 1764/2498)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก อ้างว่าเป็นทายาทของ ก. จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในกองมรดก เพราะ ก. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของ ก. ให้ ท. ทั้งหมดแล้วซึ่งจำเลยจะส่งศาลในวันพิจารณา นั้น เป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ไม่เคลือบคลุม
จำเลยมิได้ให้การถึงว่าจำเลยนำเอาพินัยกรรมไปขอรับมรดกการที่จำเลยนำสืบว่าพินัยกรรมหายขณะไปขอรับมรดกจึงมิได้เอาพินัยกรรมไปขอรับมรดกนั้น ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้รับพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมทำพินัยกรรมหาย จึงไปขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นหาใช่ผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรมซึ่งทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(3)ไม่ เพราะมิใช่เป็นการสละไม่ขอรับมรดกหรือมีเจตนาจะไม่รับเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมผู้รับพินัยกรรมชอบที่จะนำพินัยกรรมที่หาพบในภายหลังไปขอรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมอีกได้ และการที่หาพินัยกรรมไม่พบนั้นก็ถือไม่ได้ว่าผู้รับพินัยกรรมปกปิดพินัยกรรม
สามีภริยาทำพินัยกรรมฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์ให้แก่กันเมื่อตายนั้น หาใช่เป็นการตั้งผู้รับพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไขบังคับว่าผู้รับพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมไม่พินัยกรรมดังกล่าวสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ (อ้างฎีกาที่ 1764/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถูกตัดสิทธิมรดก ไม่มีอำนาจฟ้องคดีปลอมพินัยกรรม เพราะไม่เป็นผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลอมและใช้พินัยกรรมปลอมของ ป.เจ้ามรดก ขอให้ลงโทษแต่โจทก์เองก็ถูกฟ้องว่าปลอมพินัยกรรมของ ป. เหมือนกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษโจทก์ฐานปลอมพินัยกรรม คดีถึงที่สุด ดังนี้ โจทก์จึงตกเป็นบุคคลต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ป. ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606(5) โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยอันจะมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถูกตัดสิทธิมรดก ไม่มีอำนาจฟ้องคดีปลอมพินัยกรรมของผู้อื่น แม้จะถูกกล่าวหาปลอมพินัยกรรมเอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลอมและใช้พินัยกรรมปลอมของ ป.เจ้ามรดก ขอให้ลงโทษแต่โจทก์เองก็ถูกฟ้องว่าปลอมพินัยกรรมของ ป. เหมือนกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษโจทก์ฐานปลอมพินัยกรรม คดีถึงที่สุด ดังนี้โจทก์จึงตกเป็นบุคคลต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ป.ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606 (5)โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยอันจะมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง