คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อ 30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5154/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักกลบลบหนี้ค่าจ้าง: หนี้จากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างไม่ใช่ 'หนี้อื่น' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
คำว่าหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 หมายถึงหนี้อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง เช่นหนี้เงินกู้จากนายจ้าง เป็นต้น กรณีหนี้ที่ลูกจ้างต้องรับผิดชดใช้แก่นายจ้างเนื่องจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้อื่นที่นายจ้างจะนำมาหักจากค่าจ้างมิได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้าง เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างลาออกจากงานโดยไม่ส่งสมุดตัวอย่างสินค้าคืนแก่นายจ้างอันเป็นการผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้เป็นเงินจำนวนเท่ากับราคาของสมุดตัวอย่างดังกล่าวเช่นนี้นายจ้างย่อมมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้กับลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมลูกจ้างให้หักเงินชดใช้ค่าเสียหาย แม้ไม่มีการลงชื่อคู่สัญญา ก็มีผลผูกพันได้ หากแสดงเจตนาชัดเจน
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ยินยอมลงชื่อในเอกสารที่มีใจความว่าโจทก์สัญญาว่าจะไม่ประพฤติการต่าง ๆ ให้เป็นที่เสียหายต่อจำเลยหากทำให้จำเลยเสียหายยอมให้จำเลยหักเอาจากเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยได้ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าโจทก์จะเรียกร้องสิ่งใดจากจำเลยได้บ้างและไม่มีกฎหมายบังคับว่าความยินยอมของลูกจ้างเช่นนี้จะต้องทำตามแบบอย่างไรดังนั้นเพียงแต่โจทก์แสดงเจตนาฝ่ายเดียวก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์มาชดใช้เงินค่าอาหารและค่าอุปกรณ์การเรียนของบุตรที่โจทก์เบิกไปโดยไม่มีสิทธิได้โดยจำเลยไม่จำเป็นต้องลงชื่อในเอกสารดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าจ้างลูกจ้าง: ประกาศคุ้มครองแรงงานไม่ได้ห้ามการบังคับคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 30 ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ที่ระบุว่า 'ในการจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด นายจ้างจะนำหนี้อื่นมาหักมิได้ นั้นหมายถึงห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นที่ลูกจ้างเป็นหนี้นายจ้างหรือบุคคลอื่นมาหักกับค่าจ้างฯลฯ ที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเท่านั้น ไม่ได้ระบุห้ามไม่ให้เงินค่าจ้างอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่ศาลออกหมายอายัดเงินค่าจ้างของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ร้องตามคำขอของโจทก์นั้นจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3)