คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภินย์ ปุษปาคม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัดพิจารณาและการไม่อุทธรณ์คำสั่ง
ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณาซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรก บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งเช่นว่านี้หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนำคดีที่จำหน่ายคดีไปแล้วกลับมาทำการพิจารณาต่อไปเป็นการขอให้พิจารณาใหม่ จึงต้องห้าม และกรณีไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีได้เพราะการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีด้วยเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณานั้น มิได้เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดียักยอกทรัพย์: สถานที่ส่งมอบทรัพย์สินเป็นเกณฑ์
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม มีหน้าที่เก็บเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมที่อยู่ต่างจังหวัดแล้วส่งมอบให้โจทก์ร่วมซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางรัก จำเลยรับเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมในอีกท้องที่หนึ่งแล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ร่วม จึงเป็นการไม่แน่ว่าจำเลยทำการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมในท้องที่ใด พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักจึงมีอำนาจสอบสวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและผลกระทบต่อค่าปรับ ผู้ประกันไม่มีส่วนในการจับกุม
จำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วหลบหนี ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ในคดีอื่นผู้ประกันจึงแจ้งให้ศาลทราบ กรณียังถือไม่ได้ว่าผู้ประกันมีส่วนในการจับกุมจำเลยอันเป็นเหตุที่จะลดหย่อนค่าปรับให้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับผู้ประกันเนื่องจากจำเลยหลบหนี: ศาลยืนตามคำสั่งเดิม แม้ผู้ประกันแจ้งจับจำเลยในคดีอื่น
จำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วหลบหนี ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ในคดีอื่นผู้ประกันจึงแจ้งให้ศาลทราบ กรณียังถือไม่ได้ว่าผู้ประกันมีส่วนในการจับกุมจำเลยอันเป็นเหตุที่จะลดหย่อนค่าปรับให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และเป็นการฎีกาเรื่องดุลพินิจการลงโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 9 เดือนและปรับด้วยแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด1 ปี ทั้งกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติจำเลยมีกำหนด 1 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยโดยไม่รอการลงโทษซึ่งเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่ก็ลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการฎีกาดุลพินิจในการลงโทษของศาล เป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาโทษจำคุกที่ไม่เกิน 1 ปี ศาลไม่อาจรับฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 9 เดือนและปรับด้วย แต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด1 ปี ทั้งกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติจำเลยมีกำหนด 1 ปีแม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยโดยไม่รอการลงโทษซึ่งเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่ก็ลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการฎีกาดุลพินิจในการลงโทษของศาล เป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายและฆ่าผู้อื่นโดยไม่ได้เจตนาและไม่มีการสมคบคิดร่วมกัน ศาลพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์
จำเลยทั้งสามและผู้ตายร่วมดื่มสุราจนเมา แล้วผู้ตายพูดท้าทายและไม่ยอมใช้เงินยืมแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่3 จึงเตะและชกผู้ตายล้มลง จำเลยที่ 2 ใช้ไม้กระดานตีที่ตะโพกผู้ตายเพียงทีเดียว หลังจากผู้ตายล้มลงที่พื้นดินแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้จอบฟันผู้ตายจนถึงแก่ความตาย ดังนี้เป็นเหตุเกิดขึ้นเฉพาะหน้าโดยมิได้คบคิดนัดหมายกันมาก่อนเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดและต่างคนต่างทำ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้จอบฟันผู้ตายนั้น จำเลยที่ 2 ก็มิได้เกี่ยวข้องหรือพูดสนับสนุนซ้ำเติมให้ฆ่าผู้ตาย จำเลยที่2 จึงไม่เป็นตัวการในการฆ่าผู้ตาย ที่จำเลยที่ 2 ใช้ไม้กระดานตีตะโพกผู้เสียหายเพียงทีเดียวเป็นเพียงมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์: ผู้ส่งบรรจุและนับ (Shipper's Load and Count) ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดหากสินค้าสูญหายระหว่างที่ตู้สภาพเรียบร้อย
การขนส่งทางทะเลซึ่งมีลักษณะการส่งของเป็นตู้คอนเทนเนอร์และภายในบรรจุสินค้าไว้และใบตราส่งระบุข้อความว่า 'ผู้ส่งเป็นผู้บรรจุและนับ'(SHIPPER'SLOADANDCOUNT)นั้น หากว่าตู้คอนเทนเนอร์มาถึงจุดหมายปลายทางในสภาพเรียบร้อยโดยไม่ปรากฏว่ามีการเปิดในระหว่างทางมาก่อน แม้สินค้าจะขาดหายไปผู้ขนส่งก็ไม่ต้องรับผิดเนื่องจากสินค้ามิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของผู้ขนส่ง(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่เข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร แม้จะนั่งรถที่ได้มาจากการลักทรัพย์ หากไม่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ
จำเลยที่ 2 นั่งรถยนต์แท็กซี่ซึ่งจำเลยที่ 1 กับ ส.ลักมาเพื่อจะไปเที่ยวด้วยกัน โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถเอง ดังนี้รถแท็กซี่ยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 กับ ส.จำเลยที่2 มิได้กระทำการใดอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1 กับ ส.ในการพารถแท็กซี่ไป พฤติการณ์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำผิดฐานรับของโจร.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ลักทรัพย์-วิ่งราวทรัพย์ ต้องใช้บทที่มีโทษหนักกว่าลงโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวยซึ่งหน้า การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(7) บทหนึ่ง และเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามมาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่ง กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90 ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยอัตราโทษชั้นสูงของมาตรา 335(7)และ 336 วรรคแรกนั้นเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน5 ปี แต่มาตรา335(7) มีโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จึงมีบทลงโทษหนักกว่าต้องใช้มาตรา 335(7) เป็นบทลงโทษ.
of 50