คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภินย์ ปุษปาคม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972-2973/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดร่วมกันในการหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันการกระทำผิดของจำเลยที่ 2 และ 3
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง จำเลยที่ 2และที่ 3 โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 จึงลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการหนังสือพิมพ์ อ.โดยจำเลยที่ 3 เป็นที่ปรึกษา จึงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการจัดพิมพ์และจำหน่ายเพื่อโฆษณาเผยแพร่หนังสือพิมพ์นั้น ซึ่งต้องได้อ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ด้วย หากไม่เหมาะสมจำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องเผยแพร่ สำหรับจำเลยที่ 3 เป็นที่ปรึกษาย่อมมีหน้าที่กลั่นกรองข้อความที่ออกพิมพ์โฆษณา ให้ข้อเสนอและข้อคิดเห็น จึงเป็นที่แน่นอนว่าจำเลยที่ 3 ต้องได้อ่านและรู้ข้อความก่อนพิมพ์ออกจำหน่ายโจทก์ไม่ต้องนำสืบก็รับฟังได้ หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ร่วมมือกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 แล้ว ข้อความในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ไม่มีทางโฆษณาแพร่หลาย จึงเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 โดยแบ่งหน้าที่กันทำ เช่นนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์เท่านั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972-2973/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดร่วมกันในการหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: โจทก์ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 จึงลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการหนังสือพิมพ์ อ. โดยจำเลยที่ 3 เป็นที่ปรึกษา จึงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการจัดพิมพ์และจำหน่ายเพื่อโฆษณาเผยแพร่หนังสือพิมพ์นั้น ซึ่งต้องได้อ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ด้วย หากไม่เหมาะสมจำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องเผยแพร่ สำหรับจำเลยที่ 3 เป็นที่ปรึกษาย่อมมีหน้าที่กลั่นกรองข้อความที่ออกพิมพ์โฆษณา ให้ข้อเสนอและข้อคิดเห็น จึงเป็นที่แน่นอนว่าจำเลยที่ 3 ต้องได้อ่านและรู้ข้อความก่อนพิมพ์ออกจำหน่าย โจทก์ไม่ต้องนำสืบก็รับฟังได้ หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ร่วมมือกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 แล้ว ข้อความในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ไม่มีทางโฆษณาแพร่หลาย จึงเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 โดยแบ่งหน้าที่กันทำ เช่นนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์เท่านั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972-2973/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดร่วมกันในการพิมพ์และเผยแพร่ข้อความหมิ่นประมาท การพิสูจน์เจตนาและบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่2และที่3โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่2และที่3ได้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่1และที่4จึงลงโทษจำเลยที่2และที่3ไม่ได้โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา220ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่2เป็นผู้จัดการหนังสือพิมพ์อ.โดยจำเลยที่ 3เป็นที่ปรึกษาจึงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าจำเลยที่2มีหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการจัดพิมพ์และจำหน่ายเพื่อโฆษณาเผยแพร่หนังสือพิมพ์นั้นซึ่งต้องได้อ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ด้วยหากไม่เหมาะสมจำเลยที่2ก็ไม่ต้องเผยแพร่สำหรับจำเลยที่3เป็นที่ปรึกษาย่อมมีหน้าที่กลั่นกรองข้อความที่ออกพิมพ์โฆษณาให้ข้อเสนอและข้อคิดเห็นจึงเป็นที่แน่นอนว่าจำเลยที่3ต้องได้อ่านและรู้ข้อความก่อนพิมพ์ออกจำหน่ายโจทก์ไม่ต้องนำสืบก็รับฟังได้หากจำเลยที่2และที่3ไม่ร่วมมือกับจำเลยที่1และที่4แล้วข้อความในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ไม่มีทางโฆษณาแพร่หลายจึงเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่1และที่4โดยแบ่งหน้าที่กันทำเช่นนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์เท่านั้นจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2954/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากร่วมกันฆ่าเป็นสนับสนุนการกระทำผิด และการยกฟ้องเมื่อลงโทษตามฟ้องไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายซึ่งเป็นความผิดที่มีการกระทำอย่างเดียว แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้ตาย โดยมิได้กระทำร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 กระทำโดยลำพังตนเองเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนมีการกระทำผิดฐานฆ่าผู้ตาย โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่ 3 จึงลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานทำร้ายร่างกายไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายเป็นแต่จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกจำเลยที่ 1 ขึ้นว่าพี่พลยิงเลย อันเป็นการยุยงส่งเสริมให้จำเลยที่ 1 กระทำผิดเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ดังนี้จะลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายไม่ได้เพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำผิดเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างมากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
แต่การที่จำเลยที่ 2 ร้องบอกจำเลยที่ 1 ขึ้นว่าพี่พลยิงเลย เป็นการยุยงส่งเสริมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา86 ด้วย ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษได้ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2529)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2954/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากคำฟ้องเดิมตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นพิจารณา และขอบเขตความรับผิดของผู้สนับสนุนการกระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายซึ่งเป็นความผิดที่มีการกระทำอย่างเดียวแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่3ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้ตายโดยมิได้กระทำร่วมกับจำเลยที่1จำเลยที่3กระทำโดยลำพังตนเองเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนมีการกระทำผิดฐานฆ่าผู้ตายโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่3จึงลงโทษจำเลยที่3ฐานทำร้ายร่างกายไม่ได้เพราะไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสี่ โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่1ที่2เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่2มิได้ร่วมกับจำเลยที่1ยิงผู้ตายเป็นแต่จำเลยที่2ได้ร้องบอกจำเลยที่1ขึ้นว่าพี่พลยิงเลยอันเป็นการยุยงส่งเสริมให้จำเลยที่1กระทำผิดเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา84ดังนี้จะลงโทษจำเลยที่2ฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายไม่ได้เพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นเรื่องที่จำเลยที่2เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่1กระทำผิดเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างมากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่2ร้องบอกจำเลยที่1ขึ้นว่าพี่พลยิงเลยเป็นการยุยงส่งเสริมให้จำเลยที่1กระทำความผิดเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา86ด้วยซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษได้(วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่6/2529).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งพินัยกรรม, การขาดนัดยื่นคำให้การ, และการแบ่งสินสมรส/มรดก
แม้ผู้พิมพ์พินัยกรรมจะไม่ได้ลงชื่อในพินัยกรรมก็ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายระบุว่าพินัยกรรมนั้นไม่สมบูรณ์หรือเป็นโมฆะแต่อย่างใด การที่จำเลยถึงแก่ความตายก่อนครบกำหนดยื่นคำให้การกรณีย่อมมีเหตุที่จะต้องเลื่อนกำหนดยื่นคำให้การไปเพื่อให้ผู้ที่เข้าเป็นคู่ความแทนได้ยื่นคำให้การภายในเวลาอันสมควรการเพิกถอนคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2815/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถาน: เหตุอันสมควรจากการเข้าใจผิดเรื่องยาเสพติด
จำเลยเข้าใจมาแต่แรกว่ายาที่ผู้เสียหายให้นายต.ไปเป็นยาเสพติดให้โทษขณะที่จำเลยเข้าไปในกุฏิของพระภิกษุว.ผู้เสียหายนายถ.อยู่ในกุฏิของผู้เสียหายและหยิบยามาดูจำเลยเห็นยาดังกล่าวเข้าใจว่าเป็นยาเสพติดให้โทษจึงหยิบเอามาเพื่อไม่ให้ผู้เสียหายมีไว้ในความครอบครองและจะเอาไปให้เจ้าอาวาสดูดังนี้เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่มีความผิดฐานบุกรุก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2815/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกทำได้หากมีเหตุอันสมควร: เข้าใจผิดว่ายาเป็นของผิดกฎหมาย
จำเลยเข้าใจมาแต่แรกว่ายาที่ผู้เสียหายให้นาย ต. ไปเป็นยาเสพติดให้โทษ ขณะที่จำเลยเข้าไปในกุฏิของพระภิกษุ ว.ผู้เสียหาย นาย ถ. อยู่ในกุฏิของผู้เสียหายและหยิบยามาดู จำเลยเห็นยาดังกล่าวเข้าใจว่าเป็นยาเสพติดให้โทษ จึงหยิบเอามาเพื่อไม่ให้ผู้เสียหายมีไว้ในความครอบครองและจะเอาไปให้เจ้าอาวาสดู ดังนี้เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2815/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าไปในเคหสถานเพื่อป้องกันยาเสพติด: เหตุอันสมควรทางกฎหมาย
จำเลยเข้าใจมาแต่แรกว่ายาที่ผู้เสียหายให้นาย ต.ไปเป็นยาเสพติดให้โทษ ขณะที่จำเลยเข้าไปในกุฏิของพระภิกษุ ว.ผู้เสียหาย นาย ถ. อยู่ในกุฏิของผู้เสียหายและหยิบยามาดู จำเลยเห็นยาดังกล่าวเข้าใจว่าเป็นยาเสพติดให้โทษ จึงหยิบเอามาเพื่อไม่ให้ผู้เสียหายมีไว้ในความครอบครองและจะเอาไปให้เจ้าอาวาสดู ดังนี้เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าประเภทคำและการเลียนแบบที่ทำให้ผู้บริโภคสับสน
เครื่องหมายการค้าคำว่า"IXOL"ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า"itol"ของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมันอย่างเดียวไม่มีรูปหรือลวดลายประกอบการที่จำเลยนำเอารูปจิงโจ้อยู่ในวงกลมมาประกอบเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ภาชนะบรรจุสินค้าหาใช่สาระสำคัญในการนำมาประกอบการวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่เพราะรูปภาพดังกล่าวมิได้จดทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าเมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมี2พยางค์เหมือนกันตัวอักษร5ตัวเท่ากันและเหมือนกันถึง4ตัวต่างกันเฉพาะตัวกลางเท่านั้นและแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดส่วนของจำเลยเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกอีก4ตัวเป็นตัวพิมพ์เล็กแต่เมื่ออ่านออกเสียงมีสำเนียงใกล้เคียงกันทั้งที่ภาชนะบรรจุสินค้าของจำเลยใช้คำภาษาไทยว่า"วิลตอล"ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศย่อมอาจจะฟังหรือเรียกขานเป็นสำเนียงเดียวกันได้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทำให้ประชาชนหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์.
of 50